ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากความกังวัลในเรื่องของอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด
(-) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากความกังวัลในเรื่องของอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดว่าการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของผู้ผลิตน้ำมันจากโอเปกและนอกโอเปก อาจจะไม่สามารถช่วยบรรเทาภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดได้
(-) โอเปกเผยว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 173,000 บาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 32.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากลิเบีย ไนจีเรีย และซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.59และสูงกว่าระดับ 32.5ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นเพดานการผลิตที่มีการตกลงกันไว้ในเดือนพ.ย.59
(-) รัสเซียเผยว่าจะพิจารณาปรับเพิ่มปริมาณการผลิต หลังข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 61
(-) ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกยังคงอยู่ระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5ปี ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันอาจปรับตัวลดลง เนื่องจากฤดูการท่องเที่ยวสหรัฐฯ ใกล้สิ้นสุดลง
(+) โอเปกปรับเพิ่มการคาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำมันดิบในปี 2561 ว่าจะขยายตัว 1.28 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปรับลดการคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกลง 40,000บาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ 1.10 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากปริมาณสต็อกน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น3.4 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศเวียดนาม
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังจากได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ลดลงจากเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันในประเทศเกาหลีใต้ ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน หลังโรงกลั่นในสหรัฐ เพิ่มกำลังการกลั่นขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศและภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการนำเข้าน้ำมันดิบที่คาดจะปรับลดลง โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ส.ค. ปรับลดลง 6.5 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 11เดือนที่ระดับ 475.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.7ล้านบาร์เรล
การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ชะลอการขุดเจาะลงในช่วงที่ผ่านและปรับลดงบลงทุน (CApEX) ในปีนี้ลง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ส.ค. ปรับลดลง 1 แท่นมาอยู่ที่ระดับ 736 แท่นซึ่งนับเป็นการปรับลดลงเป็นครั้งที่สองในรอบสามสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นใกล้ระดับ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล อาจจะส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เริ่มกลับมาเพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบและส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบอีกครั้ง
ตลาดยังคงได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากการประชุมของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 7-8 ส.ค. ที่ผ่านมา หลังกลุ่มประเทศสมาชิกในข้อตกลงได้แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก คาซัคสถาน และมาเลเซียแสดงเจตจำนงพร้อมที่จะเพิ่มความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตให้เป็นไปตามข้อตกลงนอกจากนี้ ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังประกาศลดการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ก.ย. โดยซาอุฯ คาดจะปรับลดการส่งออกลงประมาณ 520,000บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะปรับลดการส่งออกลงร้อยละ 10ของการส่งออกทั้งหมด
ราคาน้ำมันดิบ
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล 10 ส.ค. 60 เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 48.59 -0.97
เบรนท์ 51.90 -0.80
ดูไบ 51.46 0.29
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล 10 ส.ค. 60 เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 95 67.73 0.19
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 63.89 0.57
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 64.44 0.76
น้ำมันเตา (3.5% S) 49.32 -0.04
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
10 ส.ค. 60 เปลี่ยนแปลง
เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.1770 0.0013
ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 21,844.01 -204.69
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 33.76 26.65 26.38 24.14
ข่าวเด่น