คำแนะนำ
ยังมีลุ้นที่ราคาอาจไปทดสอบแนวต้านโซนที่ 1,343 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคายืนไม่ได้อาจเกิดแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมา เมื่อราคาทองคำอ่อนตัวลงจะมีแนวรับบริเวณ 1,321-1,311 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,321 1,311 1,300
แนวต้าน 1,343 1,352 1,366
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น2.97 ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยได้รับแรงหนุนหลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดที่ 156,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.4% ตัวเลขที่น่าผิดหวังในตลาดแรงงานตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดอาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ทั้งนี้ FedWatch Tool จาก CME บ่งชี้ว่านักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยตลอดทั้งปีนี้ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวกดดันให้ดอลลาร์อ่อนค่าและหนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 เดือนบริเวณ 1,328.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ก่อนที่ราคาทองคำจะลดช่วงบวกลงจากการฟื้นตัวกลับของดอลลาร์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำในวันศุกร์เพิ่ม 14.78 ตันสะท้อนกระแสเงินทุนที่ไหลกลับเข้า ETF ทองคำอีกครั้ง ขณะที่เช้าวันนี้ราคาทองคำพุ่งขึ้นต่อเนื่องหลังจากเกาหลีเหนือได้ทำการทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่ 6 ในเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมาและระบุว่าสามารถผลิตระเบิดไฮโดรเจนสำหรับบรรจุในขีปนาวุธได้สำเร็จ สำหรับวันนี้ตลาดการเงินสหรัฐปิดทำการเนื่องในวันแรงงาน(Labor Day)
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำทดสอบแนวต้านที่ 1,343 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยังไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรเนื่องจากครั้งที่ผ่านมาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นยังคงมีแรงขายออกมาเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากการอ่อนลงของราคาไม่หลุดโซนแนวรับระยะสั้นอยู่ที่ 1,321-1,311 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินว่าเป็นการอ่อนตัวลงเพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
แบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,343 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพื่อรอเข้าซื้อเก็งกำไรจากการดีดตัวขึ้นหากการอ่อนตัวลงสามารถยืนเหนือโซน 1,321-1,311 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,311 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น