คำแนะนำ
พิจารณาโซน 1,330-1,339 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในการเปิดสถานะขาย ขณะที่การเปิดสถานะซื้อจำเป็นต้องรอการอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับซึ่งจะเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,316 1,307 1,300
แนวต้าน 1,330 1,339 1,350
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 10.21 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดและธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีจะคุมเข้มนโยบายการเงิน อีกทั้งยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากดัชนีดาวโจนส์ที่เดินหน้าทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ส่วนดัชนี S&P500 ปิดที่เหนือระดับ 2,500 จุดเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามการปรับตัวลงของราคาถูกจำกัดจากการอ่อนค่าของดอลลาร์หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐทั้งยอดค้าปลีกร่วงลง 0.2% ในเดือนส.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐลดลง 0.9% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2009 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐมหาวิทยาลัยมิชิแกนลดลงสู่ระดับ 95.3 ในเดือนก.ย.เช่นกัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ย. โดย NAHB และจับตาต่อเนื่องสำหรับสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีหลังองค์การสหประชาชาติ (UN) จะเปิดฉากการประชุมประจำปีขึ้นในวันนี้ ซึ่งคาดว่าประเด็นเกาหลีเหนือเป็นหัวข้อหลักของการหารือในการประชุม
ปัจจัยทางเทคนิค
ราคาทองคำเกิดแรงขายอ่อนตัวลงหลังจากที่ดีดตัวขึ้นมา เบื้องต้นมีแนวต้านระยะสั้นที่ 1,330-1,339 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านไปได้ ประเมินว่าจะเกิดแรงขายกดดันมาเข้าใกล้โซน 1,316-1,307 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากสามารถยืนเหนือบริเวณแนวรับดังกล่าวได้หลายชั่วโมง มีแนวโน้มขึ้นทดสอบโซนแนวต้านอีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ราคาทองคำมีจุดเสี่ยงเปิดสถานะขายระยะสั้นในบริเวณ 1,330-1,339 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืน 1,339 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้) แต่หากราคาอ่อนตัวลงไปก่อนให้พิจารณาบริเวณโซน 1,316-1,307 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเปิดสถานะซื้อ แต่หากหลุดโซนดังกล่าวแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อเพื่อรอดูการตั้งฐานของราคา
ข่าวเด่น