ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ดัชนียังอยู่ในช่วงพักฐาน โดยยังมีแนวต้าน 1675 จุด ขณะที่ยังมีปัจจัยหนุน (22/09/60)


 กลยุทธ์การลงทุน

  แม้ดัชนียังอยู่ในช่วงพักฐาน  โดยยังมีแนวต้าน 1675 จุด ขณะที่ยังมีปัจจัยหนุน ทั้งเศรษฐกิจไทยที่สดใส ทั้งยอดส่งออกสดใสตามฤดูกาล (HANA, VNG, GFPT) และตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก  กระตุ้นการลงทุนเอกชน และหนุน GDP Growth แตะ 4% ปีหน้า และราคาน้ำมันดิบที่มีโอกาสเกิน 55 เหรียญฯ (PTTEP, PTT) ยังเน้นสะสมหุ้น Laggards THCOM(FV@B24), INTUCH(FV@B72.4) Top picks PTTEP(FV@B116) และ HANA(FV@B53)   

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....หุ้นธนาคารพาณิชย์ & พลังงาน ฉุดดัชนีลง
  ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเล็กน้อย ตามตลาดหุ้นในภูมิภาค แม้ช่วงเช้าดัชนีสามารถยืนได้ในแดนบวกและขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1676 จุด แต่เริ่มย่อช่วงบ่าย ทำให้ปิดตลาดฯ ดัชนีลดลง 0.16 จุด ปิดที่ 1670.49 จุด  ด้วยมูลค่าการซื้อขายแผ่วลงเหลือ 5.45 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าเป็นการปรับฐานปกติ หลังจากที่ดัชนีฟื้นตัวมากว่า 92 จุดในช่วงเวลาเพียง 3 สัปดาห์  หุ้นส่วนใหญ่เริ่มขยับขึ้นใกล้เคียงกับมูลค่าพื้นฐานปี 2560 จึงทำให้ดัชนีจึงเป็นไปในลักษณะสลับตัว 
  วานนี้กลุ่มที่ลดลงกดดันตลาดฯ มากสุดคือ ธนาคารพาณิชย์ จากการปรับลงของหุ้น ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทั้ง KBANK, BBL, SCB และ TMB ลดลง 1.41%, 0.27%, 0.65% และ 1.60% ตามลำดับ ตามมาด้วย กลุ่มพลังงาน นำโดย กลุ่มบริษัท ป.ต.ท. ทั้ง PTT PTTEP และ PTTGC ลดลง 0.48%, 0.27% และ 0.94% ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มที่ปรับตัวลงคือ หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า RATCH, GLOW, EGCO และ GUNKUL ลดลง 0.91%, 1.40%, 0.87%และ 1.47% 
  ตรงกันข้ามกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ กลุ่มเดินเรือปรับขึ้นจากแรงหนุนของดัชนี BDI ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง นำโดย TTA บวก 1.94%, PSL  7.89% และ RCL 2.53% เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มสายการบิน คือ THAI เพิ่มขึ้น 0.53%,  AAV 3.94% และ NOK  0.93% (ทั้งนี้ NOK มีความเสี่ยงที่จะติด Cash balance ในสัปดาห์หน้า เนื่องจากเงื่อนไขเข้าเกณฑ์ ทำให้วันนี้มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลดลง), กลุ่ม ICT ทั้ง INTUCH และ ADVANC เพิ่มขึ้น 1.28% และ 1.05% ตามลำดับ 
  และเช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มส่งออกที่ได้ sentiment บวกจากเงินบาทที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากที่ Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ โดยหุ้นส่งออกที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ VNG, HANA และ GFPT ต่างปรับขึ้นทั้งหมด 1.55%, 2.72% และ 0.51% ตามลำดับ 
  สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้คาดว่ายังคงอยู่ในช่วงปรับฐานต่อ  โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีอยู่ที่ 1666 - 1680 จุด

ส่งออกสดใส ขณะที่นำเข้าสินค้าทุน หนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน 
  การค้าระหว่างประเทศยังสดใส โดยเดือน ส.ค. พบว่ายอดส่งออก(X) ในรูปดอลลาร์ขยายตัว 13.2%yoy ที่ 2.12 หมื่นล้านเหรียญ ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่  6 และสูงสุดในรอบ 4 ปี 7 เดือน (แต่สกุลบาทขยายตัว 8.6% ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า) ทำให้ส่งออกเฉลี่ย 8M60 เพิ่มเฉลี่ย 8.9%yoy สินค้าส่งออกที่ดีขึ้น คือ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร อาทิ  ข้าว , ผักผลไม้สดแช่แข็งกระป๋องแปรรูป, ยางพารา, ไก่สดแช่แข็ง และน้ำตาลทราย ซึ่งเพิ่มติดต่อกัน 10 เดือน, หมวดคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก (ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี)  และอัญมณี (ขยายตัวเดือนแรก) ขณะที่สินค้าที่หดตัวคือ เหล็กหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
  ตลาดส่งออกที่ขยายตัว คือ จีน, สหรัฐ, ญี่ปุ่น ,เวียดนามเพิ่มติดต่อกันตั้งแต่ต้นปี  และตลาดที่พลิกกลับมาขยายตัว อาทิ สวิสเซอร์แลนด์ และฮ่องกง ตรงข้ามตลาดส่งออกที่หดตัวคือ  ซาอุดิอาระเบีย ยังหดตัวตั้งแต่ต้นปี, ออสเตรเลียที่หดตัวเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่ อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอินโดนีเซียหดตัวเป็นเดือนแรก
  การนำเข้า(M) ขยายตัว 14.9%yoy ที่ 1.91 หมื่นล้านเหรียญ (ในรูปเงินบาทเพิ่ม 10.2%) ทำให้นำเข้าเฉลี่ย 8M60 เพิ่มเฉลี่ย 15.4%yoy  หลักๆคือที่ขยายตัวคือ  สินค้าประเภทวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการส่งออก อาทิ  เคมีภัณฑ์, แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัว 13  เดือนติดต่อกัน, น้ำมันดิบขยายตัว 12 เดือนติดต่อกัน   เป็นที่สังเกตว่าในเดือน ก.ค. มีการนำเข้าเครื่องจักรกลไฟฟ้าและ เครื่องจักรปกติ ยังเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และ 2 ตามลำดับ  สะท้อนได้ว่าเอกชนยังมีการลงทุน และนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตต่อเนื่อง โดยรวมทำให้พลิกกลับมาเกินดุลการค้าอีกครั้ง ในเดือนนี้ ยังหนุนเงินบาทต่อดอลลาร์แข็งค่าระยะกลาง (แข็งค่า 8.34%นับตั้งแต่ต้นปี) แต่ระยะสั้นอาจจะกดดันจาก Fed ยังส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ อีก 1 ครั้งปลายปีนี้ หนุนดอลลาร์แข็งค่า

ปัจจัยรอบด้านหนุน GDP Growth ปี 2561 แตะ 4% หรือมากกว่า 
  โดยสรุปการค้าระหว่างประเทศไทย 8M60  ยังสดใสและคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ช่วงหนุนการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ สะท้อนจากอัตราการใช้กำลังการผลิตไทยเฉลี่ย  8M60 อยู่ราว  61% สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปี  2558-2559 ที่อยู่ราว  60% สอดคล้องกับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ล่าสุด เดือน ส.ค. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน 
  นอกจากนี้ยังเห็นสัญญาณฟื้นตัวจากการลงทุนเอกชนรอบใหม่ สะท้อนจากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน  BOI  สิ้นสุด มิ.ย. 2560  สูงถึง 3 แสนล้านบาท เพิ่มจากงวด 1Q60  ที่มียอดเพียง 6 หมื่นล้านบาท  และ  46% ของยอดเงินที่ขอ BOI ทั้งหมด เป็นการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม  S curve และ New S curve  และที่สำคัญคือ  พรบ.  ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง  ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญอีกฉบับจากทั้งหมด 3 ฉบับ (2 ฉบับแรกผ่านไปแล้ว คือ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนฉบับแก้ไขใหม่และ พ.ร.บ. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ) ซึ่งหลังจากนี้ แม้ต้องส่งให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อ แต่คาดจะประกาศใช้ ราวต้นปี 2561  
  ปัจจัยเหล่านี้ล้วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อเอกชนให้เดินหน้าลงทุน  ทำให้เชื่อว่าการลงทุนภาคเอกชนนับจากนี้จะมีน้ำหนักมากขึ้น  และจะเป็นเครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวที่ 3 ควบคู่กับการส่งออกและการลงทุนภาครัฐ  ซึ่งจะทำให้แนวโน้ม GDP Growth ปี  2560 มีโอกาสเกินระดับ 3.5%yoy เป็นไปได้สูง (1H60 โต 3.7%yoy) และปี 2561 คาดแตะ 4%yoy ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป หุ้นที่ประโยชน์จากสถานการณ์นี้คือ นิคมอุตสาหกรรม ธนาคารพาณิชย์   ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น 
แรงขายหุ้นในภูมิภาคเบาลง และเป็นการกลับมาซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ
  วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุด ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แม้ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แต่แรงขายเริ่มเบาลง โดยมีมูลค่ารวมเพียง 52 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเพียงประเทศเดียวเท่านั้น คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 171 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือเกาหลีใต้ 110 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน), ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 4 ล้านเหรียญ หรือ 145 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 145 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6.44 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.66 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)

กลยุทธ์เงินบาทอ่อนค่าช่วงสั้น  สะสมหุ้นส่ออกเด่น HANA, GFPT, VNG   
  แนวโน้มเงินดอลลาร์ที่น่าจะกลับมาแข็งค่า ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงในเชิงเปรียบเทียบ ส่งผลดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะในไตรมาส 3 ที่เข้าสู่ฤดูกาลส่งออก ฝ่ายวิจัยแนะนำเลือกหุ้นที่ผลประกอบการเติบโตโดดเด่นใน 3Q60 หรือ 2H60 คือ
  GFPT (FV’60@B20.95, FV’61@B23) แนวโน้มผลประกอบการ 2H60 ยังดี โดยเฉพาะ 3Q60 จะเติบโตถึง 16.4qoq และ 29.7yoy จากช่วง high season หนุนปริมาณการส่งออกเนื้อไก่สู่ต่างประเทศที่ยังดีต่อเนื่อง ส่งผลให้ gross margin ทรงตัวสูงต่อเนื่อง โดยรวมแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2560-61 จะเติบโต 15.8% yoy และ 7.0% yoy จากทิศทางอุตสาหกรรมส่งออกไก่สดใส โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อไก่สู่ประเทศญี่ปุ่น ที่หันมาสั่งซื้อเนื้อไก่จากไทยมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าเนื้อไก่จากบราซิล เพราะไม่เชื่อมั่นคุณภาพเนื้อไก่ส่งออกของบราซิลที่มีสารปนเปื้อนเมื่อช่วงเดือนมี.ค. 60
  HANA (FV’60@B53) คาดผลการดำเนินงาน 3Q60 เติบโตสูง 7.6%qoq และ 23%yoy เนื่องจากเป็นช่วง high season ของอุตสาหกรรมส่งออกชิ้นส่วนฯ ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน และ RFID (ฉลากอัจฉริยะ) ที่เติบโตตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โดยคาดกำไรสุทธิปี 2560 เติบโตถึง 34.3% yoy แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย 2.2% yoy ในปี 2561 จากฐานที่สูงขึ้นในปีก่อน ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปี 2560-61 คาดเติบโตถึง 24.0% yoy และ 9.2% yoy จากทิศทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เติบโตตามภาพรวมเศรษฐกิจโลก หนุนความต้องการใช้ชิ้นส่วนฯเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง บวกกับการปรับกลยุทธ์มาเน้นผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (value added product) มากขึ้น หนุน gross margin ปี 2560 ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 15.5% อีกทั้งมีค่า PER ต่ำสุดในกลุ่มที่ 13 เท่า และสามารถคาดหวัง div yields ได้ถึง 5% 
  VNG (FV’60@B14) คาดผลการดำเนินงานจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ 3Q60 เป็นต้นไป จากปริมาณการขายที่คาดว่าจะทำสถิติ new high จากการเข้าสู่ช่วง High Season ของฤดูกาลส่งออก พร้อมทั้งกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนที่ลดลง  และปี 2561 คาดผลประกอบการจะเติบโตกว่า 10% ในปี 2561 จากปีนี้ที่ผลประกอบการชะลอตัวลงเล็กน้อย


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ก.ย. 2560 เวลา : 12:06:07

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 2:50 am