กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังอยู่ในช่วงพักฐาน โดยมีแนวรับ 1650-1655 จุด และแนวต้าน 1665 จุด ขณะที่คาดว่าจะเข้าสู่ earnings preview จึงให้น้ำหนักต่อหุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นในงวด 2H60 กลยุทธ์ยังเน้นสะสมหุ้น Laggards THCOM, INTUCH, PTTEP Top picks ยังชอบหุ้นที่โดดเด่นตามฤดูกาลส่งออก คือ HANA (FV@B53) และหุ้นโภคภัณฑ์ คือ PTTEP(FV@B116) ราคาน้ำมันดิบยังคงขยับขึ้นยืนเหนือ 55 เหรียญ และหุ้นเหล็ก TSTH (FV@B1.2) คาดกำไร 2H60 สดใส
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย..... ดัชนียังพักฐานตามแรงขายทำกำไรหุ้นใหญ่
วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นในภูมิภาคแทบทุกแห่งปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับ SET Index แกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน ก่อนจะปิดที่ 1659.05 จุด ปรับตัวลง 11.44 จุด หรือ 0.68% มูลค่าการซื้อขาย 6.45 หมื่นล้านบาท โดยแรงกดดันหลักๆ มาจากแรงขายหุ้น Big Cap. สะท้อนจากการปรับตัวลงของ SET50 Index ที่แรงกว่า SET Index ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา โดยกลุ่มที่กดดันตลาดมากสุดคือ พลังงาน-น้ำมัน ทั้ง PTT PTTEP ลดลง 1.93% และ 2.48%, กลุ่มปิโตรฯ PTTGC, IRPC ลดลง 0.95%, 0.80% , กลุ่มโรงไฟฟ้า RATCH, EGCO, GUNKUL, CKP, DEMCO, EA ลดลง 0.46%, 0.44%, 0.50%, 1.67, 0.79% และ 2.55% กลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน นำโดย KBANK ลดลง 1.90%, BBL ลดลง 0.80%, TMB ลดลง 0.81% และ BAY ลดลง 0.65% อีกกลุ่มที่ปรับตัวลงคือ กลุ่ม ICT ผู้ให้บริการมือถืออย่าง TRUE ลดแรงกว่า 3.94% หลังจากก่อนหน้านี้ในช่วงตลาดหุ้นปรับฐานเหนือ 1,600 จุด TRUE ปรับตัวขึ้นจาก 5.25 บาท มาอยู่ที่ 6.10 บาท (+20.95%) ซึ่งเกินมูลค่าพื้นฐานปี 2560 ที่ฝ่ายวิจัยให้ไว้ไปมากแล้ว จึงแนะนำ Switch ไปยังหุ้นที่มี Upside สูงและราคายัง Laggard อย่างหุ้น THCOM และ INTUCH
ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นสวนทางตลาดคือกลุ่มการเงิน-ลิสซิ่ง โดย SAWAD ปรับตัวขึ้นทำ All time high ปิดที่ 58.50 บาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 5.45% ซึ่งฝ่ายวิจัยมีแผนปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561-62 ของ SAWAD ขึ้น 7.9% และ 13.7% จากเดิม โดยให้น้ำหนักบวกกับแผนการร่วมมือทางธุรกิจกับ BFIT ซึ่งจะหนุนให้ yield spread และกำไรทยอยฟื้นตัวจากนี้ นอกจากนี้ยังช่วยปลดล็อคความกังวลต่อแนวโน้มกฎหมายที่อาจเปลี่ยนแปลงในทิศทางเข้มงวดขึ้น
ส่วนแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดยังแกว่งเพื่อสร้างฐาน จะมีแนวรับสำคัญอยู่ที่บริเวณ 1650 จุด แนวต้าน 1665 จุด
อินโดนีเซียลดดอกเบี้ย เพราะเงินต่ำกว่าเป้าหมายมาก
ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะประเทศฝั่งพัฒนาแล้ว ทำให้ภาพการใช้นโยบายการเงินมีแนวโน้มตึงตัวมาก ดังเช่น สหรัฐ ปีนี้ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้งและคาดว่าจะขึ้นอีก 1 ครั้งก่อนสิ้นปีนี้ (เช่นเดียวกับ แคนาดาและฮ่องกง ขึ้นดอกเบี้ยฯ 2 ครั้งในปีนี้) และยุโรปกับอังกฤษเป็นประเทศที่คาดหมายว่ามีโอกาสที่ขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ คาดน่าจะเกิดขึ้นในปี 2561 แต่จะปรับขึ้นได้เร็ว ตรงข้ามกับฝั่งประทศกำลังพัฒนาทุกประเทศเศรษฐกิจค่อยๆ ฟื้นตัว ทำให้นโยบายการเงินมีลักษณะผ่อนคลาย แม้ปีนี้จะมีบางประเทศลดดอกเบี้ยสวนกระแสโลก ได้แก่ รัสเซียลดดอกเบี้ยไปแล้ว 4 ครั้ง, อินเดียลด 1 ครั้งในปีนี้
และ ล่าสุด ปลายสัปดาห์ที่แล้ว อินโดนีเซีย(BI) ได้ปรับลดดอกเบี้ยฯครั้งที่ 2 ของปีนี้ ผิดจาดที่ตลาดคาดว่าจะไม่เปลี่ยน คือ ลด 0.25% เหลือ 4.25% เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ล่าสุดเดือน ส.ค. อยู่ที่ 3.82%yoy หรือ เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ 2.53% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ BI กำหนด 3-5% ในปี 60 ประกอบกับเศรษฐกิจอินโดนีเซียยังขยายตัวน้อยกว่าที่ทางรัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายไว้ สะท้อนจาก GDP Growth 1H60 ขยายตัวเพียง 5.01%yoy ซึ่งยังต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 7.0%yoy การลดดอกเบี้ยส่งผลให้ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยและเงินเฟ้อเหลือ 0.43% และทำให้ยังสามารถลดได้อีก 1 ครั้ง
เงินยูโรอ่อน สะท้อนความกังวลทางการเมืองยุโรปกลับมากดดันอีกครั้ง
ผลการเลือกตั้งเยอรมนีเมื่อวานี้ 24 ก.ย. ซึ่งทราบผลอย่างเป็นทางการ แม้เป็นไปตามที่คาดคือ พรรครัฐบาลผสม CDU &CSU ของนายกฯ นางอังเกลา แมร์เคิล ยังได้รับการสนับสนุนเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกันและเป็นผู้ได้รับเสียงข้างมากราว 34.4% หรือ 217 คะแนนจากทั้งหมด 631 คะแนน แต่เป็นที่สังเกตว่า คะแนนลดลงจากปี 2556 ที่ได้ราว 45% หรือได้ 311 คะแนน) รองลงมาคือพรรคฝ่ายค้านคู่แข่ง SPD ได้ 22% ลดลงจากครั้งก่อน 28% ขณะที่พรรค AFD (พรรคการเมืองท้องถิ่นที่มีแนวคิดขวาจัด) ที่ต้องการออกจากยุโรป ได้คะแนนเป็นอันดับ 3 ในระดับที่สูง 14% ขณะที่พรรคที่เหลืออีก 3 ได้คะแนนพรรคราว 9-10% ต่อพรรค) ด้วยคะแนนเสียงของพรรคนายกฯ ที่ลดลง อาจจะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลผสมที่จะมีขึ้น 26 ก.ย. อาจจะไม่ราบรื่น แต่คาดว่าเยอรมันยังเป็นผู้นำ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุโรปต่อไป ส่วนความเสี่ยงที่ยุโรปจะแตกสลาย ยังเหลืออิตาลีที่จะเลือกตั้งในงวด 1Q61 เท่านั้น
ขณะที่กระบวนการ Brexit ยังเดินหน้าอยู่ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody's ได้ปรับลดเรตติ้งของอังกฤษ ทั้งตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาวและหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิ ลง 1 ขั้นในทุกๆตราสาร (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) เหลือระดับลงทุน Aa2 จากเดิม Aa1 สะท้อนปัญหาหลังออกจากยุโรป แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดี และอัตราเงินเฟ้ออังกฤษที่ยังสูงกว่าดอกเบี้ยฯ (เงินเฟ้อ 2.9% VS ดอกเบี้ย 0.25%) จะสนับสนุนให้อังกฤษขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าก็ตาม แต่เชื่อว่าตลาดเงินและตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้มาเพียงพอแล้ว
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทย และขายหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันมา 4 วัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 307 ล้านเหรียญ แต่มีอยู่ 2 ประเทศที่ยังซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ 28 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), และฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศตค่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิกว่า 280 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานกว่า 17 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 60 ล้านเหรียญ หรือ 1.97 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 804 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.11 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.13 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
หุ้นที่กำไรโดดเด่นในงวด 2H60
แม้ว่า SET Index จะปรับฐานค่อนข้างแรงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่หากนับตั้งแต่ 28 ส.ค. ถึง 22 ก.ย. พบว่า ตลาดหุ้นไทยยังให้ผลตอบแทนสูงถึง 5.3% โดยแรงหนุนมาจากหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ แม้เห็นมีบางบริษัทราคาตลาดเริ่ม upside เริ่มจำกัด เมื่อเทียบกับปี 2560 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาหุ้นคาดว่ายังมี laggards โดยพิจารณาพื้นฐาน โดยทำการคัดกรองหุ้นที่เข้าข่ายคุณสมบัติ 3 ประการ
1.มี แนวโน้มผลประกอบการ 2H60 เติบโตโดดเด่น สูงกว่า 2H59
2. upside สูงกว่า 10% และ
3. Beta มากกว่า 1 เพื่อคาดหวังการฟื้นตัว หลังจากที่ผ่านการปรับฐาน
ผลที่ได้จากการคัดกรอง สรุปดังตารางถัดไป
หุ้นที่คาดผลกำไรโดดเด่นใน 2H60 มี upside เกิน 10% และ Beta >1
ทั้งนี้ให้น้ำหนักไปที่หุ้นขนาดกลาง-เล็ก จึงแนะนำ LPH (FV@B 11.3) โดยคาดตั้งแต่งวด 3Q60 เป็นต้นไป กำไรจะเติบโตแรงอย่างต่อเนื่องจากการเปิด Excellence Center เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยเงินสด พร้อมทั้งมีแผนเข้าซื้อโรงพยาบาลในภาคตะวันออก และการสร้างโรงพยาบาลลาดพร้าว ลำลูกกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 นอกจากนี้ ธุรกิจห้องปฏิบัติการวิจัยก็ยังเติบโตอย่างน่าพอใจ ช่วยเสริมรายได้และกำไรของกลุ่มได้เป็นอย่างดี
และอีกหุ้น คือ TSTH (FV@B1.2) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กเส้นรายใหญ่ของประเทศที่ได้แรงหนุนมาจากราคาเหล็กเส้นเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นจาก พ.ค. ถึง 14% ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบเศษเหล็กอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากเก็บสะสมสต็อกมาตั้งแต่ 2Q60 ทำให้มี Metal Spread ที่กว้างขึ้น คาดผลประกอบการใน 3Q60 พลิกกลับมา turnaround อีกครั้ง
ข่าวเด่น