คำแนะนำ
พิจารณาโซน 1,280-1,287 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในการเปิดสถานะขาย ขณะที่การเปิดสถานะซื้อจำเป็นต้องรอการอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับซึ่งจะเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,266 1,254 1,245
แนวต้าน 1,280 1,287 1,296
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 8.38 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันหลัง ISM เปิดเผยว่าดัชนีภาคการผลิตพุ่งขึ้นสู่ระดับ 60.8 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2004 จากระดับ 58.8 ในเดือนส.ค. ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐช่วยหนุนการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.ปีนี้ สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค.ที่ 2.371 %ในวันจันทร์ ส่วนสกุลเงินแข็งค่าขึ้นเช่นกันและเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ นอกจากนี้ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากพุ่งขึ้นปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของดัชนีดาวโจนส์, S&P 500 และNasdaq จากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดและคาดการณ์ในเชิงบวกต่อผลประกอบการภาคเอกชนและแผนปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำวานนี้ 5.32 ตัน ขณะที่วันนี้ติดตามถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล หนึ่งในผู้ว่าการเฟดซึ่งเป็นตัวเก็งสำหรับตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ด้วย
ปัจจัยทางเทคนิค
ราคาทองคำเกิดแรงขายอ่อนตัวลง หากราคาดีดตัวขึ้นแต่แรงซื้อไม่มากพออาจเกิดแรงขายให้ราคาอ่อนตัวลงอีกครั้ง เบื้องต้นมีแนวต้านระยะสั้นใน โซน 1,280-1,287 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านไปได้ ประเมินแนวรับบริเวณ 1,266 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ราคาทองคำมีจุดเสี่ยงเปิดสถานะขายระยะสั้นในบริเวณ โซน 1,280-1,287 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืนเหนือ 1,287 ดอลลาร์ต่อออนซ์) แต่หากราคาอ่อนตัวลงไปก่อนให้พิจารณาบริเวณ 1,266 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเปิดสถานะซื้อ หากหลุดอาจชะลอการเข้าซื้อไปยังโซน 1,254-1,245 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น