คำแนะนำ
หากราคาไม่สามารถยืนเหนือ 1,275 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ให้เปิดสถานะขาย โดยตัดขาดทุนหากผ่านโซน 1,282 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,260 1,251 1,240
แนวต้าน 1,275 1,282 1,293
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำปิดปรับตัวลดลง 6.66 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่แข็งแกร่ง อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่น้อยเกินคาด, ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลงมากกว่าคาดจากการส่งออกสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น และคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนส.ค. ประกอบกับนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกและนายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียได้ออกมาแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนให้เฟดหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป สถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้สกุลเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์และเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ นอกจากนี้การพุ่งขึ้นของดัชนีหุ้นสหรัฐและแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องเป็นอีกปัจจัยที่กดดันราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง 3.24 ตัน ขณะที่คืนนี้เวลา 19.30 น.จับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงานและรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์และราคาทองคำผันผวนในช่วงเวลาดังกล่าว
ปัจจัยทางเทคนิค
แม้ว่าช่วงก่อนหน้าราคาทองคำมีการปรับตัวลดลง แต่ระยะสั้นอาจมีแรงซื้อให้ราคาดีดตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านระดับ 1,275 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านได้อย่างมั่นคง จะเกิดแรงขายกดดันให้ราคาลงมาบริเวณแนวรับเพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
สำหรับการเปิดสถานะขายอาจพิจารณาดูบริเวณ 1,275 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากผ่านขึ้นไปให้ชะลอการขายไปที่ 1,282 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยตัดขาดทุนหากยืนได้ ขณะที่หากราคาอ่อนตัวลงสามารถยืนเหนือ 1,260 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เสี่ยงเปิดสถานะซื้อเพื่อเก็งกำไรจากจังหวะดีดตัว
ข่าวเด่น