ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ฝนตกหนักตอนบน ส่งผลน้ำเหนือยังมามาก เตรียมระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่ม


 

ฝนเหนือยังตกชุก ส่งผลให้ที่มีน้ำท่าไหลหลากลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปริมาณน้ำสูงสุดบริเวณหน้าเขื่อนเจ้าพระยา จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 15 .. 60 แจ้งเตือนพื้นที่ท้ายเขื่อนเตรียมรับมือแล้ว

 

 

 

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เมื่อวันที่ 2 .. 60 ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้ประเมินปริมาณน้ำที่เกิดจากการคาดการณ์ฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) จะมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ไหลรวมกับน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ลงมายังเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราสูงสุด ประมาณ 2,500 – 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 9 .. 60 ซึ่งกรมชลประทานได้ใช้เขื่อนเจ้าพระยาและระบบชลประทานแบ่งน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ พร้อมกับควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นั้น

 

 

 

จากการติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่ภาคเหนือ ของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ พบว่าตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีปริมาณฝนตกกระจายในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางมากกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลมายังเขื่อนเจ้าพระยาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้คาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 9 - 11 .. 60 ประเทศไทยจะยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้พัฒนาเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้ว ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนกลางในวันพรุ่งนี้ (10 .. 60) จากนั้นจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 10 - 11 .. 60 ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มที่จะมีฝนตกต่อเนื่องอีกในช่วงวันที่ 13 -15 .. 60 ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งกรมชลประทานได้ประเมินปริมาณน้ำจากการคาดการณ์ดังกล่าว พบว่าจะมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ไหลมารวมกับน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง ลงมายังเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราสูงสุด ประมาณ 3,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 15 .. 60

ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำโดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาชะลอน้ำไว้ รวมทั้งรับน้ำส่วนหนึ่งเข้าไปเก็บไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำทั้งสองฝั่ง แต่เนื่องจากพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีฝนตกเต็มพื้นที่เช่นกัน ส่งผลให้มีน้ำท่าไหลหลากลงสู่ระบบชลประทานทั้งสองฝั่งด้วย ทำให้สามารถรับน้ำเข้าไปได้เพียง 480 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากปริมาณน้ำสูงสุดที่รับได้ 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จากเดิม 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะค่อยๆ ทยอยเพิ่มการระบายตามปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาจนถึงอัตรา 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 12 .. 60 และจะคงการระบายน้ำในอัตรา 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่อเนื่องไปประมาณ 1 สัปดาห์ หากปริมาณฝนตกลดน้อยลงจะเริ่มลดปริมาณการระบายลงตามลำดับ 


ทั้งนี้ ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 0.80 – 1.20  เมตร แต่ยังต่ำกว่าระดับคันกั้นน้ำประมาณ 0.50 -2.0 เมตร ประกอบไปด้วยพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ 

  1. ตำบลโพนางดำ อำเภอสรพยา จังหวัดชัยนาท 
  2. บ้านท่าทราย อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 
  3. วัดเสือข้าม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 
  4. วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 
  5. เทศบาลตำบลอินทร์บุรี .อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  6. อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี 
  7. อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 
  8. วัดไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 
  9. ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
  10. อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
  11. คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง 
  12. คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  13. ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา, ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(แม่น้ำน้อย) 

        อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานได้ควบคุมการปิดเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสมุทรปราการ ตามจังหวะการขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หากมีข้อสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่สายด่วนกรมชลประทาน หมายเลข 1460 หรือติดตามสถานการณ์น้ำได้ทาง www.rid.go.th  และ  http://wmsc.rid.go.th  


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 ต.ค. 2560 เวลา : 11:20:54

23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 8:01 pm