กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังแกว่งตัวในกรอบ 1708-1720 จุด และอาจจะมีแรงขายทำกำไรหุ้นธนาคารบางแห่งหลังรายงานงบ 3Q60 ตามคาด ยกเว้น BBL ที่เดินหน้าขายประกันให้ AIA หนุนค่าธรรมเนียมระยะยาว และยังได้ประโยชน์การฟื้นตัวสินเชื่อ corporate loans จาก Investment Cycle รอบใหม่ กลยุทธ์ยังขายหุ้นแพงมาซื้อหุ้นถูก/Laggards สื่อสาร (THCOM, INTUCH) พลังงาน (PTTEP) ธนาคาร (KKP) วัสดุก่อสร้าง (SCC, VNG) และส่งออก (HANA) Top picks PTTEP(FV@B116) และเพิ่ม BBL(FV’61@B210)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย…ตลาดปิดลบเล็กน้อย รับช่วงหยุดยาว
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเล็กน้อยก่อนวันหยุดยาว ทั้งนี้แม้ดัชนียังคงแกว่งตัวในแดนบวกภาคเข้า แต่ มีแรงขายในช่วงบ่าย ปิดตลาดดัชนีอยุ่ที่ 1712.48 จุด ลดลง 1.66 จุด หรือ 0.10% มูลค่าการซื้อขายกว่า 6.51 หมื่นล้านบาท หุ้นใหญ่ กดดันตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นค้าปลีกนำโดย CPF, CPALL ลดลง 1.87%, 1.07% รวมทั้ง COM7 ลดลง 0.68% BJC ลดลง 1.38% ROBINS ลดลง 0.37% HMPRO ลดลง 0.83% ตามด้วยกลุ่มพลังงาน PTT ลดลง 1.40% PTTGC ลดลง 1.81% และกลุ่มโรงไฟฟ้า EGCO, RATCH ลดลง 0.85%, 0.45% BANPU, GPSC และ GUNKUL ลดลง 0.56%, 0.48% และ 0.49% ตามลำดับ อีกกลุ่มที่นำลงคือกลุ่มขนส่ง นำโดย AOT ลดลง 1.27% สายการบิน BA, THAI ลดลง 0.53% และ 1.05% รวมทั้งกลุ่มเดินเรือ TTA RCL PSL ลดลง 1% 2.98% และ 3.36%
ตรงข้ามกับกลุ่มฯ ที่ปรับตัวขึ้น คือ กลุ่ม ธ.พ. ทั้ง TCAP เพิ่มขึ้น 1.44% KKP เพิ่มขึ้น 2.45% TISCO เพิ่มขึ้น 6.13% ขณะที่ SCB, TMB และ KTB เพิ่มขึ้น 0.66%, 0.78% และ 1.05% ตามลำดับ เช่นเดียวกลุ่มเช่าซื้อที่ปรับตัวโดดเด่นสวนทางตลาด ทั้ง MTLS, SAWAD, KCAR, BFIT และ IFS เพิ่มขึ้นกว่า 5.63%, 4.17%, 0.66%, 8.11% และ 4.60%
ตามด้วย กลุ่ม ร.พ. นำโดย BH BDMS เพิ่มขึ้น 2.35% และ 0.96% ตามด้วย CHG เพิ่มขึ้น 2.40% และหุ้น Top pick ของกลุ่มอย่าง LPH เพิ่มขึ้น 0.60% ซึ่งฝ่ายวิจัยยังคงชื่นชอบด้วยแนวโน้มกำไรที่จะเติบโตตั้งแต่ 3Q60 ได้ประโยชน์จากการปรับเพิ่มเงินสมทบของสำนักงานประกันสังคม รวมถึงการเปิด Excellent center มี upside อีกกว่า 33%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวแกว่งซึมในกรอบแคบ ประเมินแนวรับ-ต้าน กรอบเดิมที่ 1708 – 1720 จุด
การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ยังมีน้ำหนักต่อตลาด
ล่าสุดสหรัฐเผยเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 2.2% เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 และเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2% แต่ต่ำกว่าตลาดคาด 2.3%yoy (1.9% เดือนก่อนหน้า) เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 13.1%yoy จากผลกระทบพายุเฮอร์ริเคน เช่นเดียวกับยอดค้าปลีก (Retail sales) ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.6%mom จาก -0.1%mom ในเดือนก่อน ส.ค. ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์ในช่วงสั้น เพราะประชาชนกลับมาซ่อมแซมบ้าน, โรงงงาน หลังพายุถล่ม ทำให้ตลาดยังคาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งใน รอบ ธ.ค. (โอกาสขึ้นราว 74%) แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวใน 3Q60 จากผลกระทบของพายุดังกล่าว ทำให้คณะกรรมการ Fed บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้
ขณะที่เหตุการณ์ต่างประเทศที่ต้องติดตามคือ
18 ต.ค. 60 จะมีการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (จัดประชุมทุกๆ 5 ปี) เพื่อลงมติเลือกผู้นำคนใหม่ และกำหนดนโยบายของจีนในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตลาดคาดว่านายสี จิ้นผิง จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดเป็นสมัยที่ 2 เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายฯ
19 ต.ค. จะมีการรายงาน GDP Growth จีน งวด3Q60 ตลาดคาดที่ 6.8%yoy จาก 6.9%yoy ในงวด 2Q60 (1H60 โต 6.9%yoy เทียบกับที่ IMF คาดทั้งปี 2560 ที่ 6.8%yoy มีโอกาสเป็นไปได้)
และ 20 ต.ค. สหรัฐ ประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลนกล่าวสุนทรพจน์ที่ กรุง วอชิงตัน ดีซี ในหัวข้อ “ นโยบายการเงินตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ”
ส่วนในประเทศให้น้ำหนัก วันนี้ 16 ต.ค. รัฐบาลเตรียมเรียกภาคเอกชนในกลุ่มค้าปลีก เพื่อเข้าหารือแนวทางกระตุ้นการบริโภคฯ ซึ่งคาดว่าจะมีการออก มาตรการช็อปช่วยชาติ ดังเช่น ปลายปี 2559 ราว 18 วัน (14-31 ธ.ค.2559) คือนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทมาลดหย่อนภาษี เป็นการกระตุ้นการบริโภคต่อผู้มีรายได้ปานกลางโดยตรง น่าจะหนุนหุ้นค้าปลีก
ราคาน้ำมันฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้น PTT, PTTEP ยัง Laggard อยู่มาก
สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สังเกตได้จากสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI เพิ่มขึ้นกว่า 4.44% มาอยู่ที่ 51.45 เหรียญฯต่อบาร์เรล และยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเช้านี้ โดยมีหลากหลายปัจจัยหนุนดังนี้
คืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 อีก 2.75 ล้านบาร์เรล ลดลงมากกว่าที่ตลาดฯคาดไว้ที่ 1.99 ล้านบาร์เรล
ความไม่สงบในอิรัก และการที่สหรัฐอาจทำการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่าน โดยล่าสุดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศไม่ให้การรับรองต่ออิหร่านในการปฏิบัติตามข้อตกลงนิวเคลียร์ที่มีการทำไว้ในปี 2558 และถือเป็นการเปิดโอกาสให้สภาคองเกรสมีเวลา 90 วัน ในการออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่าน หากอิหร่านทำการละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง
ราคาน้ำมันดิบโลกยังได้รับแรงหนุนจาก Dollar Index ที่อ่อนค่าลงในช่วงสั้น
นอกจากนี้ในระยะยาว คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันน่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะทางฝั่ง สหรัฐ ยุโรป และประเทศกำลังพัฒนาในฝั่งเอเชีย สังเกตได้จากตัวเลขนำเข้าน้ำมันดิบล่าสุดของจีนในเดือน ก.ย. อยู่ที่ 9 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่นำเข้าเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 8.5 ล้านบาร์เรล/วัน แสดงให้เห็นถึงอุปสงค์น้ำมันดิบของจีนที่แข็งแกร่ง
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำลงทุนในหุ้นนำมัน อย่าง PTT (FV@B460) และ PTTEP (FV@B116) ซึ่งราคายัง Laggard กว่าราคาน้ำมันดิบโลกอยู่มาก สังเกตได้จาก ตั้งแต่ช่วง 21 มิ.ย. 60 จนถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบ Dubai ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 26.9% ขณะที่ PTT และ PTTEP ฟื้นตัวขึ้นมาเพียง 12.5% และ 6.6% ตามลำดับ นอกจากนี้ Fund Flow ที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยหนาแน่นขึ้น ช่วยหนุนหุ้นที่มีขนาดใหญ่อย่าง PTT และ PTTEP อีกแรง
ต่างชาติยังซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการแต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคยังเปิดทำการปกติ โดยภาพรวมแล้วต่างชาติยังซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 มูลค่าราว 97 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิ 2 แห่ง คือ ไต้หวันและฟิลิปปินส์ มูลค่า 110 ล้านเหรียญและ 13 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้และอินโดนิเซียต่างชาติสลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 12 ล้านเหรียญและ 14 ล้านเหรียญ ตามลำดับ
ส่วนวันพฤหัสบดีที่ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคทุกแห่งมูลค่าราว 474 ล้านเหรียญ นำโดยตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกคือ ไต้หวันและเกาหลีไต้มูลค่าราว 240 ล้านเหรียญและ 186 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ทั้ง 3 ประเทศซึ่งถูกซื้อสุทธิทุกแห่ง โดย อินโดนิเซียต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 29 ล้านเหรียญ (หลังจากถูกขายสุทธิติดต่อกันนาน 30 วัน) ตามด้วยฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญและไทย 15 ล้านเหรียญ หรือ 482 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ขณะที่สถาบันในประเทศสลับมาขายสุทธิ 590 ล้านบาท
ด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.42 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย 93 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
อาจมีแรงขายหุ้นธนาคารรายตัวหลังงบ 3Q60 แต่ให้สะสม BBL มีประเด็นบวกหนุน
ตลาดฯ ยังคงให้น้ำหนักไปที่การรายงานงบฯ 3Q60 ของกลุ่ม ธ.พ. โดยคาดว่าธนาคารพาณิชย์ 10 แห่งภายใต้ Coverage จะมีกำไรสุทธิรวม 4.90 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.1% qoq (แต่ลดลง 5.5% yoy) โดยในไตรมาสนี้คาด KTB, KKP, BBL, BAY กำไรเติบโตโดดเด่น ส่วน TMB คาดกำไรหดตัว qoq
ในส่วนของหุ้น Top Picks ขอเพิ่ม BBL(FV’61@B210) เพราะนอกจากจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ (CAPEX Cycle) หนุนความต้องการสินเชื่อทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งในกรณีนี้ดีต่อ BBL ที่เน้นสินเชื่อรายใหญ่ (Corporate) รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ตามมาด้วย ล่าสุด มีประเด็นบวกใหม่ที่จะหนุนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย คือ การทำสัญญาร่วมมือกับ บริษัท เอไอเอ จำกัด (AIA) ในการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคาร (Bancassurance) เป็นเวลา 15 ปี นับเป็นผลบวกต่อ BBL โดยตรง เนื่องจาก AIA มีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจประกันฯ เป็นอันดับ 1 อีกทั้งผลิตภัณฑ์ฯ ของ AIA มีความซับซ้อนและหลากหลาย ช่วยหนุนให้รายได้จากธุรกรรม bancassurance รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของ BLA ที่ยังคงเสนอขายผ่าน bancassurance ของ BBL เหมือนเดิม เฉพาะที่เป็นการออมระยะสั้น (97% ของทั้งหมดที่ขายผ่านมา BBL) คือ ผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ (endowment) และผลิตภัณฑ์ credit life ยกเว้นผลิตภัณฑ์ประเภท whole life (ระยะยาว 3%) จะหยุดขาย (เปิดทางให้ BLA หาพันธมิตรรายอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยรวมทำให้ฝ่ายวิจัยชื่นชอบ BBL เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาหุ้นปัจจุบันที่ 189 บาท ใกล้เคียงกับ Fair Value ปีนี้ที่ 187.50 บาท แต่ Fair Value ปีหน้าอยู่ที่ 210 บาท จึงแนะนำ ซื้อลงทุน
ส่วน SCB แม้แรงกดดันช่วงสั้นจากที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของ PACE กล่าวคือ SCB เป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันวงเงินราว 9,560 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นวงเงิน O/D 1760 ล้านบาท และ เงินกู้ระยะยาว 7,800 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นเงินกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดในเวลา 1 ปี 6,100 ล้านบาท ที่เหลือเป็นหนี้ ระยะยาวที่เกิน 1 ปี 1,700 ล้านบาท โดยหนี้สินเหล่านี้เป็น Project Finance จึงน่าจะมีกระแสเงินสดจากความคืบหน้าของการขายและโอน เพียงพอชำระหนี้ดังจะกล่าวตอนท้าย
ทั้งนี้ PACE ยังมีการสร้างภาระหนี้สินทั้งหุ้นกู้ และตั๋ว B/E โดยขายให้กับนักลงทุนในตลาดฯ ซึ่งข้อมูลล่าสุดลดลงเหลือ 6,500 ล้านบาท ซึ่ง SCB อาจมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือในการ refinance เมื่อครบกำหนดด้วย เพื่อให้ PACE สามารถเดินหน้าโครงการต่าง ๆ ไปได้โดยเฉพาะร้านอาหาร Dean & Deluca สำหรับความคืบหน้าโครงการอสังหาริมทรัพย์ สรุปได้ดังนี้
โครงการมหานคร มูลค่า 16,000 ล้านบาท ขณะนี้ขายไปแล้ว 10,000 ล้านบาท (62.5%) โอนไปแล้ว 6,000 ล้านบาท รอรับรู้ได้รายอีก 4,000 ล้านบาท เมื่อบวกับยอดขายที่เหลือ 6000 ล้านบาท เท่ากับ PACE จะมีกระแสเงินสดจากรายได้ในอนาคตรวมกับรายได้ขอรับรู้อีก 4,000 ล้านบาท รวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะชำระหนี้ที่ค้างของโครงการนี้ 3,800 ล้านบาท หากชำระหนี้เสร็จสิ้นจะมีเงินเหลือ 6,200 ล้านบาท นำไปชำระหนี้ส่วนอื่น ๆ ได้ แต่ปัญหาคือ ยอดขาย และการโอนจะใช้เวลานานเพียงใด ขณะที่ยังมีหนี้สินระยะสั้น รอชำระอยู่อีกหลายรายการ
โครงการมหาสมุทรที่หัวหิน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Villa 80 ห้อง มูลค่าโครงการราว 4000 ล้านบาทก่อสร้างเสร็จแล้ว 97% แต่ขายไปได้เพียง 30% ถือว่าค่อนข้างช้า ขณะที่ส่วนของ Country club อยู่ระหว่างก่อสร้าง Phase แรก น่าจะเสร็จปลายปีนี้ ส่วน Phare 2 ราวเมษายนปีหน้า
และ โครงการนิมิต เป็นคอนโดมิเนียมมูลค่า 8,000 พันล้านบาท (53 ชั้น ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 11 ชั้น) ขายไปได้ 90% น่าจะก่อสร้างและรับรู้รายได้ปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 เป็นต้นไป
ส่วนของร้านอาหาร Dean & Deluca ถือเป็นอีก 1 ธุรรกิจหลัก ซึ่งได้แยกออกเป็น 4 ธุรกิจคือ ร้านอาหาร consumer goods ขายแฟรนไชส์ และ coffee shop ซึ่งมี 2 ธุรกิจหลังเท่านั้นที่น่าจะถึงจุดคุ้มทุน แต่ 2 ธุรกิจแรกยังขาดทุน ทำให้โดยรวมธุรกิจอาหารน่าจะขาดทุนต่อไปอีกระยะหนึ่ง และถือเป็นธุรกิจที่บั่นทอนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบัน Dean & Deluca กู้ยืมกับ SCB 90 ล้านบาท
ข่าวเด่น