กลยุทธ์การลงทุน
Fund flow ยังหนุนดัชนีเดินหน้าทะลุ 1725 จุด แต่โอกาสปรับฐานยังมี โดยเฉพาะหลังรายงานงบ 3Q60 ของธนาคารพาณิชย์ตามคาด ยกเว้น BBL ที่ทำสัญญาเป็นตัวแทน AIA หนุนค่าธรรมเนียมระยะยาว และยังเติบโตตามการฟื้นตัวสินเชื่อขนาดใหญ่ที่ฟื้นตัวตาม Investment Cycle รอบใหม่ กลยุทธ์เลือกขายเป็นรายหุ้น สลับขายหุ้นแพงมาซื้อหุ้นถูก สื่อสาร (THCOM, INTUCH) พลังงาน (PTTEP) ธนาคาร (KKP) วัสดุก่อสร้าง (SCC, VNG) Top picks BBL(FV’61@B210) และให้ Switch จาก TCAP(FV@B53) มาเข้า KKP(FV@78) กำไรงวด 3Q60 สดใส ซึ่งราคาหุ้นยัง Laggard กว่า TCAP
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย…กลุ่ม Big Cap กลับมานำตลาดปิด New high
วานนี้ตลาดหุ้นไทยยังคงทำ New high โดยช่วงเช้าเปิดกระโดดกว่า 7 จุดและแกว่งตัวในกรอบขาขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 1728 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อตัวเล็กน้อยมาปิดที่ 1726.67 จุด เพิ่มขึ้นอีกกว่า 14.19 จุด หรือ 0.83% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.64 หมื่นล้านบาท โดยหุ้น Big Cap ล้วนหนุนดัชนี เริ่มจากธนาคารพาณิชย์ สื่อสาร พลังงาน และตามมาด้วยหุ้นกลางคือ โรงพยาบาล
ธนาคารพาณิชย์ปรับตัวขึ้นแรง นำโดย BBL(FV’s 61@B210) เพิ่มขึ้น 2.91% หลังร่วมมือทางธุรกิจกับ AIA ระยะเวลา 15 ปี ให้บริการในช่องทาง bancassurance หนุนรายได้ค่าธรรมเนียมให้เติบโตมากขึ้น และยังคงทำธุรกิจกับ BLA (เน้นเฉพาะประกันระยะสั้น) ขณะที่หุ้นอื่น ๆ KTB, TMB, KBANK เพิ่มขึ้น 0.52% 1.55% 0.46% คาดตอบรับผลประกอบการ 3Q60 ที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากงวดก่อนหน้า ส่วน BAY ราคาหุ้นทำ New high ในรอบกว่า 9 เดือน ปิดที่ 3.95 เพิ่มขึ้น 3.95%
กลุ่มปิโตรเลี่ยมนำโดย PTT และ PTTEP เพิ่มขึ้น 0.94% และ 0.54% ตามด้วยปิโตรเคมี PTTGC, TOP และ IRPC เพิ่มขึ้น 1.23%, 2.99% และ 2.31% ตามลำดับ และสื่อสาร หุ้นใหญ่อย่าง ADVANC เพิ่ม 1% และ INTUCH 1.7%
ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่ปรับขึ้นคือ ร.พ. นำโดย BH และ BDMS เพิ่มขึ้น 3.21% และ 2.84% ตามด้วย BCH CHG และ RPH เพิ่มขึ้น 0.61%, 3.13% และ 0.41% ตามลำดับ ยกเว้น LPH ลดลง 2.37% สวนทางกับแนวโน้มผลประกอบการในครึ่งปีหลังที่เติบโตเด่น ทำให้ราคาหุ้นมี upside 37%
ตรงข้ามหุ้นที่ปรับตัวลงคือ เช่าซื้อฯ หลังราคาปรับตัวแรงไปก่อนหน้า ทำให้เกิดแรงขายระยะสั้น นำโดย THANI -2.50% SAWAD -2.55% และ BFIT -1.25% ส่วนหุ้นรายตัวที่ตกแรงคือ BLA -6.86%
แนวโน้มตลาดฯ หลังดัชนีปิดเหนือแนวต้าน 1725 จุดไปได้ แต่โอกาสจะยืนต่อเนื่องได้หรือไม่ หากทำได้ก็มีโอกาสไปได้ต่อ แต่หากปรับฐานลงมาก็มีโอกาสลงมาได้ถึง 1710 จุด
คลังรับลูก มาตรการกระตุ้นค้าปลีก
ปัจจัยในประเทศยังให้น้ำหนักต่อนโยบายกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ซึ่งถือเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการลงทุนภาครัฐ เอกชน และภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้น ทั้งนี้มาตรการรัฐจะมุ่งเน้นไปที่ให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย (ต่ำกว่า 15000 บาทต่อเดือน) ผ่านการแจกบัตรสวัสดิการมูลค่า ราว 200-300 บาทต่อคนต่อเดือน (ตามฐานรายได้ของผู้ถือบัตร) โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ถือบัตรสามารถนำวงเงินไปซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านธงฟ้าประชารัฐเท่า นับแต่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป
และกระทรวงการคลังเตรียมศึกษาโอกาสที่จะเพิ่มวงเงินในบัตรดังกล่าวให้สูงขึ้นราว 500-800 บาทต่อเดือน เพื่อเป็นชดเชยให้กับประชาชนที่มิได้อยู่ในกรุงเทพ ซึ่งไม่ได้ใช้สวัสดิการรถเมล์ฟรี โดยรวมคาดว่างบประมาณช่วยเหลือครั้งนี้น่าจะอยู่ในวงเงิน 4.19 หมื่นล้านบาท
ส่วนมาตรการช็อปช่วยชาติ หลังจากกระทรวงการคลังรับเรื่องจากภาคเอกชนที่ยื่นขอมา คาดว่าจะมีการหารือระหว่างรัฐบาล และเอกชน โดยคาดว่าจะให้นำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทมาลดหย่อนภาษีปี 2560
ทั้งนี้ยกเว้นมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศ (ททท) เสนอให้นำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนตามแหล่งท่องเที่ยว กล่าวคือ ยิ่งห่างไหลความเจริญให้สามารถลดหย่อนในจำนวนที่มากกว่าในแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้ตัวเมือง แต่ดูเหมือนมาตรการนี้ได้ตกไปแล้ว
Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยชัดเจนกว่าตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค
นับตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 60 เป็นต้นมา Fund Flow ไหลทะลักเข้ามาในตลาดหุ้นไทยอย่างเห็นได้ชัด ด้วยมูลค่ากว่า 682 ล้านเหรียญฯ หรือ 2.26 หมื่นล้านบาท (ขณะที่ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 28 ส.ค. 60 กลับติดลบ 4.66 พันล้านบาท) ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการกลับมาซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาค หนุนให้ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่นสุดเช่นกันกว่า 8.88%
คาดว่าเงินทุนใหม่ที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทย มีสาเหตุจากการที่ต่างชาติสลับการลงทุนจากตลาดหุ้นที่แพงมายังตลาดหุ้นที่ถูกกว่า อย่างไทย (ฝ่ายวิจัยฯเคยกล่าวไว้ในบทวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนไตรมาส4/60) โดยเชื่อว่า Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลดังนี้
สัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ (Foreign Holding) ณ สิ้นเดือน ก.ย. 60 อยู่ที่ 24.3% ขณะที่การถือครองผ่าน NVDR ที่ 6.95% รวมเป็น 31.29% (ซึ่งต่างชาติเคยถือในระดับสูงสุดที่ 36.88% ในช่วงต้นปี 2555) ทำให้สถานะการถือครองในปัจจุบันของนักลงทุนต่างชาติยังถือว่าต่ำมาก
หากพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขายสะสมสุทธิของนักลงทุนต่างชาติตามมูลค่าตลาด (เริ่มสะสมตั้งแต่ปี 2548) พบว่า ปัจจุบันมียอดซื้อสะสมเพียง 1.21 แสนล้านบาท ซึ่งยังถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับจุดสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท อีกทั้งหากเปรียบเทียบยอดซื้อปัจจุบันนั้น พอๆกับยอดซื้อสะสมในอดีตวันที่ 5 ส.ค. 2553 โดยเงินทุนต่างชาติไหลเข้าอย่างต่อเนื่องและสร้างจุดสูงสุด ณ วันที่ 15 มี.ค. 2556 (รวมเป็นระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน) ส่งผลให้ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 874.92 จุด มาอยู่ที่ 1598.13 จุด หรือเพิ่มขึ้นกว่า 82.66% ดังนั้นหาก Fund Flow ยังไหลเข้ามาอย่างในอดีด SET Index ก็มีโอกาสไปแตะเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยฯประเมินไว้ที่ 1766 จุดไม่ยากนัก
และหากมองในมุมเศรษฐกิจไทยยังถือว่าอยู่ในฐานะฟื้นตัวต่อจากนี้ ทั้งความชัดเจนจากการประกาศการเลือกตั้งในเดือน มิ.ย 61 และการฟื้นตัวจากการขับเคลื่อนของเครื่องจักรเศรษฐกิจทั้ง 4 ด้าน จะเริ่มต้นเดินหน้าเต็มที่ในปีหน้านี้
สรุปปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนหนุนให้ Fund Flow มีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยได้ต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ หนุนให้ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจไม่แพ้ประเทศอื่นๆในภูมิภาค
หุ้น ธ.พ. ยังแข็งแกร่ง แม้รายงานงบ 3Q60 vs BBL ยังบวกหลังร่วมมือ AIA
แม้จะเข้าสู่ช่วงการรายงานงบธนาคารพาณิชย์งวด 3Q60 แต่หุ้นธนาคารกลับแข็งแกร่ง และ ยังเดินหน้าทำ new high แม้งบงวด 3Q60 ตามคาด คือ TISCO (FV’61@B 93.5) กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 22%yoy และ 2%qoq และ ตามมาด้วย LHBANK (FV’61@B 2.33) กำไรสุทธิดีกว่าคาด เติบโต 8.8%yoy แต่ลดลง 4%qoq จากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่เติบโตโดดเด่น หลักๆ มาจากรายได้ค่านายหน้าจากธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ และการขายกองทุน ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ต่ำกว่าคาด ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิค่อนข้างทรงตัว ส่วนวันนี้ คาดว่าจะมีการรายงานงบฯ ของ TMB (FV@B 2.48) ประเมินว่ากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 2.07 พันล้านบาท ลดลง 11.1%qoq แต่เติบโต 12.2%yoy จากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่บันทึกเข้ามามากเกินปกติในงวด 2Q60 แต่ในส่วนของธุรกิจหลัก ประเมินว่ายังทรงตัว
Top Picks ยังชอบ BBL (FV’61@B210) เพราะนอกจากจะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรการลงทุนรอบใหม่ (CAPEX Cycle) หนุนความต้องการสินเชื่อทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งในกรณีนี้ดีต่อ BBL ที่เน้นสินเชื่อรายใหญ่ (Corporate) รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ตามมาด้วย ล่าสุด มีประเด็นบวกใหม่ที่จะหนุนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย คือ การทำสัญญาร่วมมือกับ บริษัท เอไอเอ จำกัด (AIA) ในการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตผ่านธนาคาร (Bancassurance) เป็นเวลา 15 ปี นับเป็นผลบวกต่อ BBL โดยตรง เนื่องจาก AIA มีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจประกันฯ เป็นอันดับ 1 อีกทั้งผลิตภัณฑ์ฯ ของ AIA มีความซับซ้อนและหลากหลาย ช่วยหนุนให้รายได้จากธุรกรรม bancassurance รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมที่คาดว่าจะได้รับเงินล่วงหน้าก้อนใหญ่ ในการเป็นช่องทางในการจำหน่ายเบี้ยประกันให้กับ AIA ซึ่งคาดว่าจะทยอยรับรู้รายได้เป็นเวลา 15 ปี คิดเป็นรายได้ ต่อ ไตรมาส น่าจะเป็นหลักหลายร้อยล้านบาท (เทียบกับ TMB ที่เป็นตัวแทนขายประกันให้บริษัท FWD ซึ่งได้รับค่าธรรมเนียล่วงหน้าในการเป็นช่องทางรวม 20000 ล้านบาท ในระยะ 15 ปีข้างหน้า หรือตกเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อไตรมาส เริ่มจากงวดที่ผ่านมาเป็นครั้งแรก) ประเด็นนี้ยังมิได้รวมไว้ในประมาณการ
และแนะนำสะสมหุ้น ธ.พ. ขนาดกลาง KKP (FV@B 78.5) คาดกำไรฯ งวด 3Q60 อยู่ที่ราว 1.30 พันล้านบาท เติบโต 9.4%qoq ดีขึ้นจากงวด 2Q60 กำไรสุทธิอ่อนตัวเหลือเพียง 1.19 พันล้านบาท ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มขึ้น แต่คาดว่าจะลดลงในไตรมาสนี้ โดยรวมคาดกำไรสุทธิปีหน้าเติบโต 15% จากปีนี้ที่ทรงตัว ทั้งยังสามารถคาดหวัง div. yield ปีนี้ได้สูงถึง 8% (คาดจ่ายปันผลงวดผลประกอบการครึ่งปีหลังที่ 4 บาท) จึงแนะนำ ซื้อลงทุน จึงแนะนำให้สะสมเพิ่ม และให้ขายทำกำไรระยะสั้น TCAP (FV@B53) และ switch มายัง KKP เพราะคาดว่าราคาหุ้น TCAP ได้ตอบรับการขายหุ้น MBK และ จะบันทึกกำไรในงวด 3Q60 ล่าสุดนักวิเคราะห์ ASPS ประเมินกำไรสุทธิ 1.68 พันล้านบาท เติบโต 0.4% qoq และ 12.0% yoy แต่ยังไม่รวมกำไรจากรายการพิเศษ โดยรวมคาดกำไรสุทธิปีนี้โตถึง 17% และปีหน้า 12% ขณะที่คาด div. yield ปีนี้ราว 4%
ข่าวเด่น