คำแนะนำ
หากยังไม่สามารถผ่าน 1,282-1,288 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ อาจใช้วิธีการลดพอร์ตการลงทุนลง และสำหรับนักลงทุนที่เก็งกำไรฝั่งซื้อระยะสั้น ยังคงต้องตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจน
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,260 1,249 1,237
แนวต้าน 1,288 1,296 1,307
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 10.28 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันหลังธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวานนี้ พร้อมทั้งประกาศขยายโครงการซื้อพันธบัตร(QE)ออกไปจนถึงปี 2018 และลดวงเงินลงสู่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือนโดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนม.ค. ปีหน้า อีกทั้งยังส่งสัญญาณเปิดทางสำหรับการขยายเวลาโครงการซื้อพันธบัตรเลยไปจากเดือนก.ย.ปีหน้าหากมีความจำเป็น ทั้งนี้ การขยายโครงการซื้อพันธบัตรออกไปลดโอกาสที่อีซีบีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2018 ขณะที่สัญญาณในเชิงไม่เร่งรีบคุมเข้มนโยบายการเงินเป็นอีกปัจจัยที่กดดันสกุลเงินยูโรให้ร่วงลงเกือบ 1.4% ซึ่งเป็นการร่วงลงวันเดียวมากที่สุดร่วงลงหนักที่สุดในรอบ 16 เดือน ส่วนสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 เดือน ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำวานนี้ลง 1.18 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยประมาณการครั้งแรกจีดีพีช่วงไตรมาส 3/2017 ของสหรัฐ นอกจากนี้ยังต้องจับตาการเสนอชื่อประธานเฟดคนใหม่โดยคาดว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะประกาศก่อนจะเดินทางเยือนเอเชียในวันที่ 3 พ.ย.
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำยังไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,282-1,288 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ แสดงว่าแรงขายยังคงแข็งแกร่งอาจทำให้เกิดการอ่อนตัวลง โดยประเมินแนวรับบริเวณที่ 1,260 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากสามารถยืนเหนือโซนแนวรับดังกล่าวได้ก็จะเห็นการดีดตัวขึ้นอีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
การเข้าซื้อขายยังคงเน้นการเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเข้าซื้อเฉพาะเมื่อตลาดปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,260ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่การขายอาจพิจารณาในโซน 1,282-1,288 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ฝั่งซื้อตัดขาดทุน 1,260 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
ข่าวเด่น