ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังซาอุฯ เดินหน้าลดอุปทานส่วนเกินให้กลับมาอยู่ที่ระดับค่าเฉลี่ย 5 ปี
(+) ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือน หลังยังคงได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากซาอุดิอาระเบียที่เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ผลิตตั้งเป้าหมายในการลดอุปทานน้ำมันส่วนเกินในตลาดโลกให้กลับมาอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 5 ปี ส่งผลให้ตลาดคาดว่ามีแนวโน้มสูงที่ในการประชุมวันที่ 30 พ.ย. มีโอกาสที่กลุ่มผู้ผลิตจะขยายระยะเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตออกไป 3 -9 เดือนจากเดิมที่สิ้นสุดมี.ค. 61 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของรัสเซียที่สนับสนุนการขยายข้อตกลงออกไปจนถึงสิ้นปีหน้า
(+) การส่งออกน้ำมันดิบทางตอนเหนือของประเทศอิรักยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากระดับปกติที่ประมาณ 500,000 -600,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมัน Avana และ Bai Hassan ซึ่งตั้งอยู่แถวทางตอนเหนือหยุดชะงักซึ่งส่งผลมาจากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิรักและชาวเคิร์ดในประเทศ
(-) อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันหลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA)รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 20 ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.85ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 457.3ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.6ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 9.5ล้านบาร์เรลต่อวันและปริมาณการนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น
(-) นอกจากนี้ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ราว 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวันและคาดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบมีแนวโน้มแตะระดับ 2ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนหน้า หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ยังคงถูกกว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกค่อนข้างมาก
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 3ปี ประกอบกับ อุปสงค์ตะวันออกกลางและอินเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ที่ปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบ1 เดือน รวมถึงการส่งออกน้ำมันดีเซลของจีนที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในเดือน ต.ค.
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ49 -54เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 56 -61เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
กลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มที่จะขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 61 ต่อไปอีกราว 3 -9 เดือน โดยซาอุดิอาระเบียเปิดเผยว่าเป้าหมายหลักของกลุ่มคือการปรับลดปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECDoilstocks)ให้กลับมาสู่ระดับปกติที่ระดับค่าเฉลี่ย 5ปี นอกจากนี้ ซาอุฯ ยังคงหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อรักษาสมดุลตลาดน้ำมัน หลังข้อตกลงสิ้นสุดลง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงจากโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ที่คาดจะกลับมาดำเนินการผลิต หลังมีการหยุดซ่อมบำรุงฉุกเฉินจากพายุเฮอร์ริเคน Nate รวมถึงการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง โดยล่าสุด สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 20 ต.ค.60 ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ 1.7 ล้านบาร์เรล
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิรักและชาวเคิร์ดในประเทศคาดจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบ หลังกองกำลังทหารอิรักบุกยึดพื้นที่ในเมือง Kirkuk คืนจากชาวเคิร์ด ส่งผลให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบขนาดใหญ่ 2 แหล่งในเมือง Kirkuk อย่าง Bai Hassan และ Avana กำลังการผลิตรวมกันราว 280,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องปิดดำเนินการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์
หมายเหตุ : ปตท.-บางจาก ปรับลดราคากลุ่มน้ำมันเบนซินและดีเซล 40 สต./ลิตร เว้นอี85 ปรับลด 20 ส.ต./ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 12ต.ค. 60ราคาน้ำมันเป็นราคาขายปลีก กทม. และปริมณฑล ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่น
ข่าวเด่น