คำแนะนำ
อาจรอเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,249-1,243 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,236 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หรือ หากรับความเสี่ยงได้ไม่มากอาจเลือกชะลอเพื่อรอดูการสร้างฐานของราคาบริเวณโซน 1,236 ดอลลาร์ต่อ
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,243 1,236 1,227
แนวต้าน 1,260 1,271 1,282
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนต่อเนื่องมาจากการส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)แบบค่อยเป็นค่อยไปตามเดิม อีกทั้งยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากถ้อยแถลงของนายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโกที่แนะนำให้คณะกรรมการเฟดชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึงช่วงฤดูร้อนปีหน้า หรือประมาณกลางปี 2018 เพื่อรอประเมินทิศทางอัตราเงินเฟ้อก่อนว่าเป็นไปตามเป้าหมาย 2%แล้วจึงค่อยดำเนินการปรับขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า สภาคองเกรสของสหรัฐจะสามารถผ่านร่างกฏหมายปฏิรูปภาษีได้ภายในสิ้นปีนี้เป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกของราคาทองคำ โดยวุฒิสภาจะลงมติต่อร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีขั้นสุดท้ายในวันนี้(18 ธ.ค.)และจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติในวันที่ 19 ธ.ค.เพื่อส่งต่อให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ลงนามรับรองเป็นกฎหมายก่อนวันคริสต์มาส(25 ธ.ค.)ต่อไป สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเบื้องต้นเดือนธ.ค.จาก NAHB
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือ 1,249-1,243 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้อย่างแข็งแรง จะทำให้ตลาดมีโมเมนตัมเชิงลบ ลดลง และแสดงให้เห็นว่าแรงขายทำกำไรไม่รุนแรง โดยหากราคาทองคำผ่านแนวต้านแรกบริเวณ 1,260ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ยังมีโอกาสที่จะเข้าทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,271 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ต้านสำคัญ)
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ถ้าเกิดการอ่อนตัวลงมาอาจเปิดสถานะซื้อหากราคาทองคำไม่หลุด 1,249-1,243 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม(ลดพอร์ตการลงทุนหากราคาหลุด 1,236ดอลลาร์ต่อออนซ์) โดยหากถือสถานะซื้ออยู่อาจทยอยปิดสถานะทำกำไรในบริเวณ 1,260-1,271ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น