กลยุทธ์วันนี้ >> Mid-Small Cap//Earnings Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัวขึ้นทำ New High ระหว่างวันได้ตามคาดจากบรรยากาศการลงทุนที่สดใส ก่อนที่หุ้นขนาดใหญ่หลายตัวโดยเฉพาะกลุ่มธนาคารจะเผชิญแรงขายและทำให้ดัชนีปิดลบ 9.56 จุดในที่สุด แรงขายส่วนใหญ่วานนี้มาจากบัญชีบล. 1,055 ลบ. และสถาบันในประเทศที่ยังขายสุทธิต่อเนื่อง 527 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างซื้อสุทธิบางๆเพียง 235 ลบ. (และพลิกมา Net Short ใน Index Futures สูงถึง 9,034 สัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะแกว่งตัว Sideways Down พักฐานต่อจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใสนัก โดยต้องติดตามการลงมติของวุฒิสภาสหรัฐฯคืนหนี้หลังสภาผู้แทนฯผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเมื่อคืนที่ผ่านมาเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นตาย Government Shutdown ขณะที่ผลประกอบการกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ออกมาค่อนข้างแย่กว่าคาด ทำให้น่าจะเห็นแรงขายออกมากดดันและทำให้ตลาดพักฐาน ซึ่งเรามองเป็นจังหวะทยอยซื้อหุ้นขนาดใหญ่คืนหลังจากที่แนะนำให้ขายทำกำไรระยะสั้นบางส่วนไปในช่วงก่อนหน้า ขณะที่หุ้นขนาดกลาง-เล็กที่มีแนวโน้มกำไร 4Q17 แข็งแกร่งน่าจะ Outperform ตลาด
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่คาดมีกำไร 4Q17 แข็งแกร่ง//ทยอยซื้อหุ้นใหญ่คืนในช่วงอ่อนตัว
หุ้นเด่นเดือน ม.ค. : BBL, CPN, ORI, RSP, TKN
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$507ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวัน US$381ล้านและไทย US$7ล้าน ขณะที่ไหลออกจากอินโดนีเซีย US$22ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคตามรายงานการขยายตัว GDP ของประเทศจีนที่มากกว่าเป้าหมายและซื้อเก็งกำไรในช่วง Earnings Season
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> RSP <<
- แนวโน้มกำไร 4Q17 น่าจะฟื้นตัวดีกว่าคาดอยู่ที่ 58-59 ลบ. (เดิมคาด 50-55 ลบ.) และโมเมนตัมยังดีต่อเนื่องในเดือน ม.ค. 18 สอดคล้องกับกำลังซื้อที่สดใสมากขึ้น และจะเห็นสาขาแรกที่กัมพูชาใน ก.พ.นี้ โดยอาจเห็นทั้ง Converse ควบคู่ไปกับ Pony
- นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาดีล M&A เพิ่มแบรนด์ใหม่เข้า Portfolio มากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นความชัดเจนใน 2H18
- คาดกำไรปี 2018 กลับมาโต 32.6% Y-Y และคาดปันผลงวด 2H17 หุ้นละ 0.13 บาท (1H17 จ่ายไปแล้ว 0.18 บาท) คิดเป็น Yield 2.2% แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 9.5 บาท (FSS เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้น IPO ของ RSP)
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) หุ้นที่คาดว่างบ 4Q17 จะออกมาดี ช่วงนี้ยังอยู่ใน Earning Season หุ้นที่เรา Preview ไปแล้วและคาดว่ากำไรสุทธิ 4Q17 จะออกมาทำจุดสูงสุดใหม่คือ CPALL HMPRO TCAP MTLS ASAP TK ORI ATP30 TACC M K ส่วนที่คาดว่ากำไรจะโตทั้ง Q-Q และ Y-Y แต่ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่คือ ADVANC ERW CENTEL MINT TPCH GUNKUL SC SEAFCO PT ขณะที่ ตัวที่คาดกำไรสุทธิจะชะลอทั้ง Q-Q และ Y-Y คือ GFPT CPF และ TU
(0) BANPU//BPP ศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษากรณีหงสา 6 มี.ค. 18 มูลค่าความเสียหายไม่รวมดอกเบี้ย 3.17 หมื่นลบ. หากแพ้คดีจะกระทบราคาเป้าหมาย BANPU 6 บาท (ลงจาก 21 บาทเหลือ 15 บาท) ส่วน BPP ผลกระทบขึ้นอยู่กับสัดส่วนความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังไม่รวมความเสียหายนี้ในประมาณการ ขณะที่ ผลแพ้ชนะจะเป็น Downside มากกว่า Upside (ชนะแค่ปลดล็อความกังวลแต่ไม่ทำให้ราคาเป้าหมายเพิ่ม) แนะนำให้เพิ่มความระมัดระวัง
(+) BBLกำไร 4Q17 ดีกว่าคาด 8,496 ลบ. +4.1% Q-Q, +2.8% Y-Y จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากค่าธรรมเนียมการปล่อยสินเชื่อ (สินเชื่อ 4Q17 เติบโตดีสุดในปี) กำไรสุทธิปี 2017 อยู่ที่ 3.3 หมื่นลบ. +3.8% Y-Y จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ลดลง ส่วนคุณภาพหนี้ทรงตัว คงคำแนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 244 บาท
(-) SCB รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 9,199 ลบ. -9.2% Q-Q, -27.7% Y-Y น้อยกว่าที่เราคาด (รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่ำกว่าคาด, ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสูงกว่าคาด และค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองหนี้สูญมากกว่าคาด) กำไรสุทธิปี 2017 อยู่ที่ 4.32 หมื่นลบ. -9.4% Y-Y จากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สินเชื่อทำได้น้อยกว่าที่เราคาดไว้ (+4% YTD) ขณะที่ NPL ขยับขึ้นจากกลุ่ม SME และที่อยู่อาศัย (คล้าย KTB) คงคำแนะนำถือ ราคาเหมาะสม 160 บาท
(+) TMB รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 2.26 พันลบ. +12.7% Q-Q, +5.6% Y-Y ดีกว่าคาด จากรายได้ค่าธรรมเนียมและกำไรจากปริวรรตเงินตรา ขณะที่ Credit cost ลงมาอยู่ที่ 1.3% น้อยกว่าคาดที่ 1.5% กำไรปี 2017 อยู่ที่ 8,687 ลบ. + 5.6% Y-Y ส่วน NPL Ratio ลงมาอยู่ที่ 2.35% จาก 2.44% เรายังชอบการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและคุณภาพหนี้ที่ดีขึ้น คงราคาเหมาะสมที่ 3.30 บาท Upside จำกัด ปรับลดคำแนะนำเป็นถือ
(+) BAY รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 5.68 พันลบ. -5.6% Q-Q แต่ +10.1% Y-Y เป็นไปตามคาด ที่ลดลง Q-Q เกิดจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น เงินให้สินเชื่อ +3.6% Q-Q และ +7% YTD ส่วน NPL Ratio ลดลงมาอยู่ที่ 2.05% จาก 2.16% ใน 3Q17 เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 2.53 หมื่นลบ. +8.9% Y-Y และคงราคาเหมาะสมปี 2018 ที่ 44.60 บาท แต่ปรับลดคำแนะนำลงเป็นขายทำกำไร
(0) TU คาดกำไรปกติ 4Q17 อ่อนตัวลงทั้ง Q-Q และ Y-Y เพราะราคาวัตถุดิบปลาทูน่ายังสูง รวมถึงผลประกอบการของ Red Lobster ยังไม่สดใส เราคาดกำไรจะกลับมาฟื้นในปี 2018 จากแรงกดดันด้านวัตถุดิบที่ผ่อนคลายลง ในขณะที่ ธุรกิจปลาแซลมอนและกุ้งคาดเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ เรายังไม่เห็นผลบวกจากการปรับลดภาษีในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เราคาดกำไรสุทธิปี 2018 จะเติบโต 12.9% Y-Y คงราคาเป้าหมายที่ 23 แนะนำซื้อ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19 ม.ค.
|
ไทย: ผลประกอบการ 4Q17 ของ KBANK, KKP
สหรัฐฯ: การขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ
|
21 ม.ค.
|
ประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกโอเปก
|
23 ม.ค.
|
ญี่ปุ่น: ประชุม BOJ คาดคงดอกเบี้ย -0.10%
|
24 ม.ค.
|
ไทย: ดุลการค้า (ธ.ค. 17)
|
25 ม.ค.
|
ยูโรโซน: ประชุม ECB คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.00%
ไทย: ยอดผลิตรถยนต์ (ธ.ค. 17)
|
26 ม.ค.
|
สหรัฐฯ: 4Q17 GDP
|
- (-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบเนื่องจากกังวลว่าสภาคองเกรสจะไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวได้ทันเส้นตาย Government Shutdown วันนี้
- (+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดในแดนบวกได้หลังจีนรายงานตัวเลข GDP 4Q17 ออกมาดีกว่าคาดเล็กน้อย
- (0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้แกว่งตัวออกข้างหลังไร้ปัจจัยบวกใหม่ ขณะที่ต้องติดตามการขยายเพดานหนี้สหรัฐฯคืนนี้
- (0) ค่าเงินบาทยังแกว่งทรงตัวออกข้างค่อนไปในทางอ่อนค่า ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 31.87-32 บาท/ดอลลาร์
- (0) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ขยับลง 0.02 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 63.95 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA รายงานสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน แต่หักล้างไปกับปริมาณการผลิตที่ใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวิตการณ์
- ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ร่วงลง 12.00 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,327.20 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยมีแรงขายทำกำไรออกมาหลังจากที่ปรับตัวขึ้น 5 วันติดต่อกัน
-
ข่าวเด่น