กลยุทธ์วันนี้ >> Mid-Small Cap//Earnings Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องตามคาดจากบรรยากาศการลงทุนที่สดใส โดยหุ้นในกลุ่มพลังงานและหุ้นขนาดใหญ่หลายตัวปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างแข็งแกร่งและทำให้ดัชนีปิดบวกได้ 8.61 จุด ณ สิ้นวัน สถาบันในประเทศยังคงเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ 2,385 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาขายสุทธิ 359 ลบ. (และเริ่มพลิกมา Net Short ใน Index Futures 1,564 สัญญาเช่นกัน)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะอ่อนตัวลงในวันนี้เกิดความกังเวลเรื่องเงินเฟ้อของสหรัฐฯและทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบพลิกมาปรับตัวลงเช่นกันซึ่งทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานน่าจะมีแรงขายทำกำไรออกมากดดัน ประเด็นที่ต้องจับตาคือการประชุม FOMC ว่าจะมีการส่งสัญญาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายการเงินหรือไม่ รวมถึงผลประกอบการฝั่ง Real Sector ที่จะทยอยออกมาหนาแน่นขึ้น เรามองว่าหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่คาดมีกำไร 4Q17 แข็งแกร่งน่าจะเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในระยะนี้ ส่วนหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่เรามองว่าในช่วงตลาดพักฐานเป็นจังหวะในการเข้าสะสมอีกครั้งหลังให้ทยอยขายทำกำไรบางส่วนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่คาดมีกำไร 4Q17 แข็งแกร่ง//สมสมหุ้นขนาดใหญ่ในช่วงตลาดพักตัว
หุ้นเด่นเดือน ม.ค. : BBL, CPN, ORI, RSP, TKN
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$242ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$220ล้าน ขณะที่ไหลออกจากอินโดนีเซีย US$31ล้าน และไทย US$12ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าแต่อาจชะลอลงหลังมีความปั่นป่วนในตลาดพันธบัตรสหรัฐเมื่อคืนนี้ที่ 10Y US Bond Yield ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เม.ย. 2014 ก่อนการประชุมนโยบาย FOMC ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (ตลาดคาดจะคงอัตราดอกเบี้ย)
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> ARROW <<
- ก่อนหน้านี้ ARROW แทบจะหายไปจากตลาดเพราะราคาต้นทุนเหล็กแพงต่อเนื่อง แต่ล่าสุดราคาเหล็กแผ่นรีดเย็นลงมาแล้ว 5% YTD และ ARROW เพิ่งปรับราคาขายสินค้าขึ้น 10% อีกทั้ง ยังได้ประโยชน์จากบาทแข็ง เพราะนำเข้าเหล็กเกือบทั้งหมด โดยทุก 1% ที่แข็ง จะเป็นบวกกับกำไรสุทธิ 2% ทำให้คาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะกลับเข้าสู่ระดับปกติที่ 32-35% ตั้งแต่ 1Q18
- คาดกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 59 ลบ. +23% Q-Q สะท้อนกำไรสุทธิผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 1Q17 เราคาดปี 2018 กลับมาโต 25% Y-Y อยู่ที่ 259 ลบ.
- ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PE2018 เพียง 13 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่เข้าตลาดที่ 16 เท่า และค่าเฉลี่ยกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ 18 เท่า แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 16.40 บาท
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯขึ้นแรง ตั้งแต่ต้นปีตัวอายุ 10 ปีขึ้นมาแล้ว 24 bps. อยู่ที่ 2.70% สูงสุดตั้งแต่ปี 2014 ทำให้ตลาดเงินเริ่มน่าสนใจกว่าตลาดทุน และอาจเป็นเหตุผลให้สินทรัพย์เสี่ยงพักตัวระยะสั้น กระแสเงินก็เช่นกัน มีแนวโน้มไหลออกจากบ้านเราทั้งตลาดตราสารหนี้และหุ้นต่อเนื่อง
(+) GLOBAL มองผ่านกำไรต่ำสุดแล้วในปี 2017 โดยคาดกำไรสุทธิ 4Q17 จะไม่ตื่นเต้นนัก +5.2% ทั้ง Q-Q และ Y-Y เพราะปกติ 2H เป็นช่วง Low Season ของธุรกิจ แต่เราเริ่มเห็นการฟื้นตัวจาก SSSG ที่คาดพลิกเป็นบวกครั้งแรกใน 5 ไตรมาส ตามการฟื้นตัวของกำลังซื้อ ซึ่งคาดกำไรสุทธิจะกลับมาเติบโตดีอีกครั้งตั้งแต่ 1Q18 นอกจากนี้สาขาใหม่ที่เปิดปีก่อนทั้ง 9 แห่ง จะรับรู้รายได้เต็มปีในปีนี้ รวมถึงยังมีแผนเปิดสาขาใหม่ต่อเนื่อง 7-8 แห่ง และคาดเห็นสาขาแรกที่กัมพูชาอย่างเร็วใน 2Q18 คาดกำไรสุทธิปี 2017 -3.2% Y-Y และปรับเพิ่มกำไรสุทธิปี 2018 เป็น +27.2% Y-Y เพื่อสะท้อนสาขาใหม่ที่เปิดในปี 2017 มากกว่าคาด ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายขึ้นเล็กน้อยเป็น 19 บาท และปรับคำแนะนำขึ้นเป็นทยอยซื้อ จากเดิมถือ
(0) SAWAD เราคาดการณ์กำไร 4Q17 ที่ราว 529 ลบ. -15% Q-Q และ -13% Y-Y โดยคาดว่า SAWAD น่าจะมีการตั้งสำรองฯสูงขึ้น และคาดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะชะลอตัวเนื่องจากผลของการปรับโครงสร้างสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น เราปรับประมาณการกำไรปี 2017 ขึ้น 7% มาอยู่ที่ 2.47 พันลบ. +23% Y-Y แนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2018 เราคาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจอีกครั้ง การเติบโตของสินเชื่อจะมีโฟกัสหลักที่ BFIT และ SAWAD น่าจะเป็นขยับถือหุ้นมากขึ้น และขึ้นมาเป็นกลุ่มการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธปท. แต่เราเชื่อว่าการเติบโตทั้งกลุ่มยังอยู่ในระดับดีที่ราว 30% เราคงประมาณการกำไรปี 2018 ที่ 3 พันลบ. +22.65%Y-Y และคงราคาเหมาะสมที่ 68 บาท แนะนำถือ
(-) MCOT คาด 4Q17 ขาดทุนสุทธิ 1.6 พันลบ. รวมการตั้งด้อยค่าทีวีดิจิตอลประมาณ 1.4 พันลบ. ส่วนผลการดำเนินงานปกติ คาดยังขาดทุน 170 ลบ. แย่ลง Q-Q จากผลกระทบงานพระราชพิธี 1 เดือน แต่ดีขึ้น Y-Y จากผลกระทบที่สั้นกว่าและการควบคุมค่าใช้จ่าย เรายังคงคำแนะนำขาย MCOT ส่วนหุ้นในกลุ่มทีวีดิจิทัลอื่น เราคาด BEC ต้องตั้งด้อยค่าสูงเช่นกัน ขณะที่ RS WORK MONO คาดไม่ต้องตั้งเพราะเรทติ้งสูง แนะนำซื้อ WORK (TP 98 บาท) ส่วน RS (TP 28 บาท) และ MONO (IAA Concensus 5.05 บาท) แนะนำซื้อเก็งกำไร เพราะ Upside จำกัด
(0) ILINK/ITEL ผู้บริหารกำลังแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของ ILNK ทั้งการกระตุ้นยอดขายสายสัญญาณที่ชะลอ และเร่งปิดงานสาธารณูปโภคสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จทันเวลา ซึ่งคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 175 ลบ. ลงในงบ 4Q17 ทำให้กำไรทั้งปี 2017 จะลดลงเหลือเพียง 50 ลบ. จากที่เราคาดว่าจะทำได้ 249 ล้านบาท ถ้าเป็นไปตามนี้ งบเดี่ยวปี 2017 ของ ILINK จะขาดทุน ทำให้ไม่มีการจ่ายปันผล ส่วน ITEL มีปัจจัยบวกจากเน็ตชายขอบเฟส 2 ที่ใกล้เปิดประมูล แต่มีปัจจัยลบจากค่าใช้จ่ายในการนำสาย fiber optic ลงใต้ดินสำหรับพื้นที่ กทม. เรากำลังทบทวนประมาณการทั้ง ILINK และ ITEL แต่ด้วยที่ราคา ILINK ที่ลงมามาก เราจึงไม่แนะนำขายแล้ว ส่วน ITEL ยังแนะนำซื้อลงทุนเช่นเดิม
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
30 ม.ค.
|
- ยูโรโซน: 4Q17 GDP ตลาดคาด 2.8% เพิ่มขึ้นจาก 2.6%
- สหรัฐฯ: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค. 18)
|
31 ม.ค.
|
- ไทย: ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ธ.ค. 17)
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค. 18) อัตราการว่างงาน (ธ.ค. 17)
|
1 ก.พ.
|
- ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (ม.ค. 18)
- จีน: Caixin PMI ภาคการผลิต (ม.ค. 18)?
|
2 ก.พ.
|
- ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค. 18)
- สหรัฐฯ: ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (ม.ค. 18)
|
- (-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดลบหลัง Bond Yield สหรัฐฯปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปีจากความกังวลเรื่องทิศทางเงินเฟ้อ
- (-) ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดค่อนมาในแดนลบเช่นกันโดยจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจและตอบรับกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
- (-) ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดในแดนลบตามตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ร่วงแรง
- (-) ค่าเงินบาทเริ่มพลิกมาอ่อนค่าหลัง Dollar Index ปรับตัวขึ้น ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 31.40-31.50 บาท/ดอลลาร์
- (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับลง 0.58 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 65.56 ดอลลาร์/บาร์เรล จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงความกังวลด้านการผลิตของสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้น
- ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. ร่วงแรง 11.80 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,340.30 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ซึ่งทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวขึ้นอย่างมาก
ข่าวเด่น