ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน บรรยากาศการลงท6นเริ่มกลับมาเป็นลบ (02/02/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings and Laggard Play

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ปรับตัวขึ้นได้ตามคาดจากบรรยากาศการลงทุนที่สดใสหลัง FED คงดอกเบี้ยและไม่ได้กังวลต่อทิศทางเงินเฟ้อ โดยดัชนีปิดบวกได้ 6.74 จุด ณ สิ้นวัน นำโดยกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัว และเริ่มเห็นกลุ่มที่ Laggard ตลาดอย่างกลุ่มโรงพยาบาลปรับตัวขึ้นแรงยกกลุ่ม แรงซื้อส่วนใหญ่มาจากสถาบันในประเทศ 2,342 ลบ. ส่วนนักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อ 696 ลบ. และ Net Long ใน Index Futures อีกถึง 12,886 สัญญา)
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะแกว่งตัว Sideways Down โดยบรรยากาศการลงท6นเริ่มกลับมาเป็นลบจาก Bond Yield สหรัฐฯที่ยังพุ่งขึ้น อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบที่ขยับขึ้นน่าจะทำให้กลุ่มพลังงานพยุงตลาดได้บ้าง เราคาดว่าปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางดัชนีในระยะนี้คือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน 4Q17 ซึ่งหากไม่ได้ออกมาดีกว่าคาดจนนำไปสู่การปรับประมาณการขึ้น SET น่าจะยังบวกได้จำกัดและมีโอกาสพักฐานระยะสั้น เราเชื่อว่ามีโอกาสที่จะเกิด Sector และ Stock Rotation ไปยังกลุ่มที่ Laggard 
 กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีผลประกอบการ 4Q17 แข็งแกร่งและหุ้นที่ Laggard หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : AMATA, BBL, BCH, MGT, SAPPE
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$463ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$432ล้าน ขณะที่ไหลเข้าไต้หวัน US$30ล้าน และไทย US$22ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาค ความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยผ่อนคลายลงหลัง FOMC แถลงถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อว่ายังอยูในเป้าหมายของ Fed

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> SC <<

  • คาดกำไรสุทธิ 4Q17 ทำจุดสูงสุดของปี +106% Q-Q, +184% Y-Y เป็น 747 ลบ. จาก Backlog ที่คาดรับรู้ในไตรมาสนี้ราว 3 พันลบ. ขณะที่กำไรทั้งปี 2017 คาด -26% Y-Y ก่อนกลับมาโต +38-43% Y-Y ในปีนี้ โดยมีแรงหนุนจากการโอนคอนโด Luxury 2 โครงการอย่าง Saladaeng One มูลค่า 4.7 พันลบ. และ Beatniq มูลค่า 4 พันลบ.
  • Valuation น่าสนใจ ราคาปัจจุบันคิดเป็น PE2018 เพียง 8-8.5 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่เข้าตลาดที่ 12 เท่า
  • แนะนำซื้อ โดยประมาณการเบื้องต้นของเราถ้าอิง PE 10 เท่า จะได้ราคาเหมาะสม 4.70-5.00 บาท ซึ่งคิดเป็น PEG เพียง 0.2 เท่า

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (0) ตลาดเอเชียพลิกกลับมาลบ แรงกดดันมาจากทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยตัวอยู่ 10 ปี เพิ่มขึ้นอีก 3 bps. อยู่ที่ 2.75% ขณะที่ Dollar Index พลิกกลับมาอ่อนตัวลง หนุนเงินบาทกลับมาแข็งค่าเร็วอีกครั้ง เป็นบวกต่อกลุ่มพลังงานเช่น PTT PTTEP และกลุ่มนำเข้า เช่น THMUI MGT FTE และ SVOA
  • (+) แนวโน้มกลุ่มการแพทย์ปี 2018 วานนี้ที่หุ้นกลุ่ม รพ. ปรับตัวขึ้น ตอกย้ำมุมมองของเราที่คาดว่ากลุ่มการแพทย์จะกลับมาน่าสนใจอีกครั้งในปีนี้ จากกำไรที่คาดโตเร่งขึ้น 7.5% Y-Y จากปี 2017 ที่คาดว่าจะทำได้เพียงแค่ทรงตัว จากการบริโภคและเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว ขณะที่ตลาดต่างชาติยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องตามทิศทางจำนวนนักท่องเที่ยว อีกทั้งในแง่ราคาหุ้นถือว่า Laggard SET อย่างมีนัยยะในปีที่ผ่านมา เรายังคงน้ำหนักการลงทุน Overweight โดยเลือก BCH และ EKH เป็น Top Pick
  • (+) BBL การประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ ผู้บริหารกล่าวถึงมุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2018 ในเชิงบวกมาก โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP ที่ 4.2% BBL ตั้งเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อที่สูงขึ้นมาที่ 5-6% ในปี 2018 เทียบกับ 3.2% ในปีก่อนหน้าและมากที่สุดในรอบ 5 ปี อย่างไรก็ตามธนาคารยังคงจำเป็นต้องรักษาระดับสำรองฯให้สูงเผื่อกฏเกณฑ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Basel และ มาตรฐานบัญชี) ทำให้เราปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายสำรองฯในประมาณการขึ้น แต่กระทบประมาณการกำไรไม่มากนัก เราคงคาดการณ์การเติบโตของกำไรยังโดดเด่นเมื่อเทียบแบงก์ใหญ่ด้วยกันที่ 11.5%Y-Y หรือราว 3.68 หมื่นลบ. คงคำแนะนำ ซื้อ และคงราคาเหมาะสมที่ 244 บาท
  • (+) PRAKIT หลังจากได้คุยกับผู้บริหาร คาดว่ากำไรผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยคาดปี 2017 จบที่ 59 ลบ. +8% Y-Y และปีนี้คาด +10% Y-Y อยู่ที่ 65 ลบ. ตามเม็ดเงินโฆษณาและการหาลูกค้าใหม่ได้เพิ่มขึ้น ลูกค้าหลักตอนนี้คือ OPPO ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่แบรนด์ที่เพิ่มเงินโฆษณาในปี 2017 ถึง 1.6 เท่าตัว ราคาปัจจุบันนอกจากจะต่ำกว่า book value และไม่มีหนี้แล้ว เงินสดในมือ+หุ้น+ที่ดินยังสูงถึง 12 บาท/หุ้น อีกทั้งปันผลยังสูงสม่ำเสมอ 7% ต่อปี หากให้ PE เท่ากับค่าเฉลี่ยที่ 15 เท่า ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มมีเดียที่ 35 เท่า ได้ราคาเป้าหมายเบื้องต้นที่ 16.20 บาท (ยังไม่รวม Upside จากการทำธุรกิจ รพ. ร่วมกับสหยูเนี่ยน) แนะนำซื้อ
  • (0) BKD ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะหลัง คาดว่ามาจากแรงเก็งกำไรผลประกอบการ 4Q17 ที่คาดว่าจะออกมาดีสุดในรอบปี เพราะรายได้ถูกเลื่อนรับรู้มาตั้งแต่ 2Q17 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานส่วนใหญ่อัตรากำไรขั้นต้นไม่สูง ขณะที่ งานประมูลใหม่กว่า 2 พันลบ. ต้องแข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งจะกดดันอัตรากำไรต่อเนื่อง หลังจากเราปรับลดอัตรากำไรลง ทำให้กำไรสุทธิปี 2018 ลดเหลือ 178 ลบ. จาก 219 ลบ. ราคาเป้าหมายถูกปรับลงเหลือ 3.60 บาท Upside เริ่มจำกัด แนะนำเปลี่ยนตัวเป็น K
  • (-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดผสมโดยยังคงมีความกังวลต่อทิศทางดอกเบี้ยที่อาจขึ้นเร็วกว่าคาดจากเงินเฟ้อที่ดีดตัว Bond Yield สหรัฐฯยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น
  • (-) ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนที่ปิดในแดนลบตอบรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน รวมถึง Bond Yield ของสหรัฐฯและเยอรมนีที่พุ่งขึ้น
  • (-) ส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวในแดนลบตามภูมิภาคอื่นจากบรรยากาศการลงทุนที่ไม่สดใส ขณะที่ยังมีประเด็นต้องจับตาคือตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้
  • (+) ค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่าขึ้น ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 31.25-31.38 บาท/ดอลลาร์ก่อนที่จะอ่อนลงมาเล็กน้อย

Currency Markets

 Current

Previous

%change

Bt/ US$*

31.31

31.30

-0.03

US$ / Euro

1.25

1.25

0.00

Yen / US$

109.38

109.40

0.02

Yuan / US$

6.30

6.29

-0.12

Commodity Prices

 Current

Previous

%change

Crude Oil

66.13

65.80

0.50

Gold (COMEX)

1,350.20

1,347.90

0.17

BDI

1,152.00

1,191.00

-3.27

ZINC

3,557.00

3,540.00

0.48

CRB index

198.35

197.38

0.49

Source: Bloomberg     *onshore rate 

  • (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 65.80 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีข่าวว่า OPEC ยังคงยึดมั่นที่จะปรับลดกำลังการผลิตลง แม้ผลผลิตจากสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้นทะลุ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  • ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 4.80 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,347.90 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า รวมถึงจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจภาคแรงงานสหรัฐฯคืนนี้

 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

2 ก.พ.

- ไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค. 18)

- สหรัฐฯ: ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (ม.ค. 18)

5 ก.พ.

- อินโดนีเซีย: 4Q17 GDP ตลาดคาด 5.15% Y-Y

- ยูโรโซน: Final PMI ภาคการผลิต (ม.ค. 18) ยอดค้าปลีก (ธ.ค. 17)

8 ก.พ.

- อังกฤษ: ประชุม BOE คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.5%

9 ก.พ.

- จีน: อัตราเงินเฟ้อ

14 ก.พ.

- สหรัฐฯ: อัตราเงินเฟ้อและยอดค้าปลีก (ม.ค. 18) 

 


บันทึกโดย : วันที่ : 02 ก.พ. 2561 เวลา : 10:06:59

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:21 am