คำแนะนำ
พิจารณาโซน 1,345-1,352 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในการเปิดสถานะขาย ขณะที่การเปิดสถานะซื้อจำเป็นต้องรอการอ่อนตัวลงจนราคาสามารถทรงตัวเหนือแนวรับซึ่งจะเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,326 1,313 1,300
แนวต้าน 1,345 1,352 1,366
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 17.43 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองได้รับแรงกดดันอย่างหนักหลังดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปีและแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ สกุลเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ช่องว่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นจะกว้างขึ้นจากการดำเนินนโยบายการเงินที่แตกต่างกัน ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นก่อนการประมูลตราสารหนี้ครั้งใหญ่ของรัฐบาลสหรัฐในสัปดาห์นี้เป็นอีกปัจจัยที่หนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น 0.69% และกดดันให้ราคาทองคำร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่มขึ้น +3.25 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐ อีกทั้งต้องจับตารายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)เพื่อเป็นสัญญาณบ่งชี้การคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟดในปีนี้หากรายงานไม่เปลี่ยนแปลงก็จะไม่มีผลกระทบต่อราคาทองคำมากนัก อย่างไรก็ตามหากเฟดส่งสัญญาณในเชิงเหยี่ยว หรือ สัญญาณในเชิงพิราบมากกว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวนได้
ปัจจัยทางเทคนิค
ราคาทองคำเกิดแรงขายอ่อนตัวลงหลังจากที่ดีดตัวขึ้นมา เบื้องต้นมีแนวต้านระยะสั้นที่ 1,345-1,352 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านไปได้ ประเมินว่าจะเกิดแรงขายกดดันให้ราคาอ่อนตัวลงเข้าใกล้ 1,326-1,313 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากสามารถยืนเหนือบริเวณแนวรับดังกล่าวได้หลายชั่วโมง มีแนวโน้มขึ้นทดสอบโซนแนวต้านอีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT
ราคาทองคำมีจุดเสี่ยงเปิดสถานะขายระยะสั้นในบริเวณ 1,345-1,352 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืน 1,352 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้) แต่หากราคาอ่อนตัวลงไปก่อนให้พิจารณาบริเวณ 1,326-1,313 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเปิดสถานะซื้อ แต่หากหลุดโซนดังกล่าวแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อเพื่อรอดูการตั้งฐานของราคา
ข่าวเด่น