ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน SET เปิดบวกได้ราว 14 จุด (22/02/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings Play//Accumulate On Weakness

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET เปิดบวกได้ราว 14 จุดก่อนที่จะค่อยๆแกว่งตัวลงจากแรงขายทำกำไรในหุ้นหลายๆตัวและท้ายสุดปิดทรงตัว ณ สิ้นวันโดย PTT เป็นตัวพยุงตลาด แรงขายส่วนใหญ่มาจากสถาบันในประเทศเกือบ 3 พันลบ. (ไม่นับ Big Lot IRPC) แต่ยังซื้อตราสารหนี้หนาแน่นติดต่อกันเป็นวันที่ 5 อีก 1.5 หมื่นลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิ 869 ลบ.หลังขายติดต่อกัน 12 วัน 
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะเคลื่อนไหวค่อนไปในแดนลบวันนี้ โดยปัจจัยกดดันยังคงมาจาก Bond Yield สหรัฐฯที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี โดยตลาดคาดว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดหลังจากที่เปิดเผยรายงานการประชุมครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตามเราไม่ได้กังวลต่อประเด็นดังกล่าวนักเพราะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเกิดจากเศรษฐกิจที่เติบโตซึ่งถือเป็นเรื่องดี ตลาดน่าจะใช้เวลาปรับตัวอีกซักระยะ ส่วนพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีเช่นกัน เรายังมองเป็นจังหวะทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานในช่วงอ่อนตัว 
  กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีกำไร 4Q17 แข็งแกร่ง//สะสมหุ้นพื้นฐานเพิ่มในช่วงอ่อนตัว
  หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : AMATA, BBL, BCH, MGT, SAPPE
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$333ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวัน US$344ล้าน และไทย US$28ล้าน ขณะที่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$33ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคหลังรายการหลังการประชุม Fed บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวแข็งแกร่งซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด  

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> MODERN <<

  • วันนี้มีประชุมนักวิเคราะห์เพื่อพูดถึงแผนธุรกิจปี 2018 ซึ่งจะเป็นปีที่ MODERN มีการปรับโมเดลธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เดิม และโมเดอร์นฟอร์มแฮลท์แอนด์แคร์มีแผนเข้า MAI ใน 4Q18 (ประชุมนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุดเมื่อ 23 พ.ย. 17 ราคาหุ้นขึ้น 8%)
  • เราคาดกำไรปกติ 4Q17 ที่ 72 ลบ. ทรงตัว Q-Q แต่เพิ่มขึ้น 12% Y-Y จากตลาดบ้านและคอนโดฯที่ฟื้น รวมถึงการรับรู้รายได้ของโมเดอร์นฟอร์มแฮลท์แอนด์แคร์ที่เร่งตัวขึ้น
  • ปันผลงวด 2H17 คาดจ่ายสูง 0.20 บาท/หุ้นหรือราว 4% (ทั้งปี 6%) แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 6.80 บาท อิง PE 18 เท่า


ประเด็นสำคัญวันนี้
  (+) ส่งออก ม.ค. ดีเกินคาดมาก +17.6% Y-Y, +1.8% M-M เป็น US$2 หมื่นล้าน สูงที่สุดในรอบกว่า 6 ปีทั้งที่เงินบาทแข็งค่าและผิดไปจากฤดูกาล จากการเพิ่มขึ้นของยอดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเกษตรหลายตัว ขณะที่ตลาดส่งออกหลักโตดีมากทุกตลาด ก.พาณิชย์ตั้งเป้าส่งออกปีนี้ +8% ธปท.คาด +9.3% หมายความว่าในช่วงที่เหลือต้องส่งออกเฉลี่ย US$2.1 หมื่นล้านซึ่งต้องติดตามต่อไป
  (+) CPN กำไรปกติ 4Q17 ตามคาด -2.4% Q-Q, +9.3% Y-Y ทำให้ทั้งปี +9% ซึ่งถือว่าดีมากเพราะรายได้โตเพียง 4% จากการคุมต้นทุนและรายจ่ายได้ดีเยี่ยม เรายังคงคาดกำไรปกติปีนี้เร่งตัวขึ้น +22% เพราะรับรู้รายได้เต็มปีของศูนย์ใหม่ที่เปิดในปีก่อน และอีก 2 ศูนย์ใหม่ที่เปิดปีนี้ การขึ้นค่าเช่าพื้นที่หลังปรับปรุงแล้วเสร็จ และรับรู้รายได้จากคอนโด 3 แห่ง ยังแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 93 บาท (DCF) 
  (+) MTLS เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2018 ขึ้น 5% เป็น 3.6 พันลบ. โดย 1.ปรับเพิ่มผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อ และทำให้คาดว่า Loan spread จะทรงตัวได้ที่ 20% เป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่เข้าตลาดฯ  2. ปรับลด Credit cost จากคาดการณ์เดิมที่ 2.5% ลงเป็น 2.3% ใกล้เคียงกับปีก่อน เงินสำรองฯที่สะสมอยู่ที่ราว 265% ของ NPL  เพียงพอและอาจเกินพอเมื่อเทียบกับคุณภาพสินทรัพย์ที่มีอยู่ เราปรับเพิ่มราคาเหมาะสมปี 2018 เป็น 51 บาท (จากเดิม 48 บาท) เราเซอร์ไพรส์ว่า ROE ปี 2017 อยู่ 32% มาเร็วกว่าที่คาดไว้และเป็นระดับสูงสุดในกลุ่มการเงิน เรายังชื่นชอบการบริหารคุณภาพหนี้ของ MTLS สะท้อนจาก NPL ที่ต่ำสุดในผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน แนะนำ ซื้อ 
  (0) TK รายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 110 ลบ. ลดลง 17%Q-Q แต่เพิ่มขึ้น 8%Y-Y ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้โดยกำไรที่ลดลงเกิดจากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯที่สูงขึ้นและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายทางการตลาด บางจำนวนเป็นรายการที่ไม่น่าจะเกิดซ้ำอีกใน 1Q18 ซึ่งน่าจะทำให้แนวโน้มกำไร 1Q18 จะหื้นตัวขึ้น กำไรสุทธิปี 2017 อยู่ที่ 467 ลบ. +8.7%Y-Y เราคงคาดการณ์กำไรปี 2018 ที่ 640 ลบ. +37%Y-Y คงคำแนะนำ ซื้อ คงราคาเหมาะสมที่ 19.50 บาท
  (+) SVOA กำไรสุทธิของ LIT SPVI และ IT ที่ออกมาดี ส่งผลบวกต่อ SVOA ซึ่งเราคาดว่าจะมีกำไรสุทธิใน 4Q17 ที่ 29 ลบ. เพิ่มขึ้นสูงจากที่ทำได้เพียง 2 ลบ. ใน 4Q16 โดยนอกจากจะมีการบันทึกกำไรจากบริษัทลูกที่เพิ่มขึ้นทุกบริษัทแล้ว งานโครงการของ SVOA ก็สามารถเร่งปิดได้มากขึ้นด้วย ราคาปัจจุบันยังใกล้เคียงมูลค่าตามบัญชี และคิดเป็น PE2018 เพียง 11 เท่า คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 3.50 บาท  

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

26 ก.พ.

สหรัฐฯ: ยอดขายบ้านใหม่ (ม.ค. 18)??

27 ก.พ.

สหรัฐฯ: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.ค. 18)

28 ก.พ.

สหรัฐฯ: 4Q17 GDP (ครั้งที่ 2)??

ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ. 18)

จีน: PMI ภาคการผลิต

มี.ค.

สหรัฐฯ: ISM ภาคการผลิต

20-21มี.ค.

สหรัฐฯ: ประชุม FOMC

  • (-) ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงประมาณ 0.5% หลังจากกรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าจะเห็นการดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อในปีนี้ ส่งผลให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นไปแตะที่ระดับ 2.944% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2014
  • (0) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวผสมผสาน แม้ว่าตัวเลขผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในอังกฤษจะออกมาดี แต่นักลงทุนก็ผิดหวังกับตัวเลข PMI ของสหภาพยุโรป ทั้งภาคการผลิตและบริการที่ชะลอตัวลง
  • (-) เช้านี้ตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมปรับตัวลดลงประมาณ 0.5-1.5%
  • () ค่าเงินดอลลาร์ยังคงฟื้นตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลก    ปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.55-31.65 บาท/ดอลลาร์
  • (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.11 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 61.68 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเดือน มี.ค. ครบกำหนดส่งมอบแล้ว
  • ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ขยับขึ้น 0.90 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,332.10 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากราคาทองคำร่วงลงในวันก่อนหน้า

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ก.พ. 2561 เวลา : 10:28:58

19-09-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 19, 2024, 6:48 pm