ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลง หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
(-) ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวลดลง หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3ปีที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ผู้เล่นที่ถือครองเงินสกุลอื่นเริ่มลดความสนใจในการถือครองน้ำมันดิบเนื่องจากมีราคาแพงขึ้น
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลง เนื่องจากความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังมีการเปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินของวันที่ 30-31ม.ค. โดยระบุว่าความแข็งแกร่งของแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้นี้ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
(-) ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 อีกราว 1.8 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการเพิ่มขึ้นของการผลิตน้ำมันดิบจากน้ำมันชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ในสหรัฐฯปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(+) ภายหลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯในสัปดาห์ก่อนหน้า ปรับตัวลดลง 907,000บาร์เรล อยู่ที่ 420.3 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น โดยตลาดจับตาการเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ จากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ที่จะเปิดเผยในวันพรุ่งนี้
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่ยังคงล้นตลาดในภูมิภาค ถึงแม้ว่าจะได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศญี่ปุ่นและศรีลังกาก็ตาม
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่มีแนวโน้มลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาลของโรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาค ประกอบกับมีอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศศรีลังกา
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 59-64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าต้นทุนการผลิต โดย Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่16 ก.พ. 61ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับที่สูงสุดในรอบ 3ปี
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน จากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ปรับลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ประกอบกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย EIA รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้น 1.8ล้านบาร์เรล มาแตะระดับ 422.1ล้านบาร์เรล
การผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิต โดยในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 137% ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 99% หลังซาอุดิอาระเบียเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิต นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตของเวเนซุเอลาปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีที่ 1.6ล้านบาร์เรลต่อวัน จากผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจและการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบ 21 ก.พ. 61
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 61.68 -0.11
เบรนท์ 65.42 0.17
ดูไบ 61.10 -0.74
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์ 21 ก.พ. 61
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 95 74.68 -1.26
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 78.18 -0.09
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 75.62 -0.65
น้ำมันเตา (3.5% S) 56.82 -1.09
ดัชนีและราคาที่สำคัญ 21 ก.พ. 61
เปลี่ยนแปลง
เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.2282 -0.0054
ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 24,797.78 -166.97
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 34.16 27.05 26.78 24.54 20.14 26.19
หมายเหตุ : ปตท.-บางจาก ปรับลดราคาน้ำมันทุกชนิด 50 ส.ต./ลิตร ยกเว้น E85 ปรับลด 30 ส.ต./ลิตร มีผลตั้งแต่วันที่ 16ก.พ. 61ราคาน้ำมันเป็นราคาขายปลีก กทม. และปริมณฑล ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่น
ข่าวเด่น