ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +93.85, NASDAQ +31.30, S&P +12.172, FTSE +45.40, CAC +66.27 และ DAX +110.21
หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้นต่อแผนกำหนดภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐ ส่งผลให้ความวิตกเกี่ยวกับสงครามการค้าเบาบางลงไปหลังกดดันตลาดหุ้นมาหนึ่งสัปดาห์ โดยทรัมป์ประกาศกำหนดภาษีนำเข้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียม แต่ระบุว่าแคนาดาและเม็กซิโกจะได้รับการยกเว้นและประเทศอื่นๆ สามารถขอยกเว้นได้ แม้ว่ายังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดเวลาที่แน่ชัด
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ขณะเดียวกัน ECB ประกาศคงวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงเดือนก.ย. ทางด้านนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB ได้แถลงภายหลังการประชุมว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัวได้รวดเร็วกว่าที่ ECB คาดการณ์ไว้ พร้อมกับปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปี 2561 ขึ้นสู่ระดับ 2.4% จากระดับ 2.3% และได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2562 ลงสู่ระดับ 1.7% จากระดับ 1.9%
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน เม.ย. -US$1.03 อยู่ที่ US$60.12 ต่อบาร์เรล จากสต็อกน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 425.9 ล้านบาร์เรล และ EIA ปรับเพิ่มคาดการณ์การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ โดยคาดว่าเพิ่มมากกว่า 120,000 บาร์เรล/วัน อยู่ที่ 11.17 ล้านบาร์เรล/วัน ภายใน4Q/61 ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ แซงหน้ารัสเซียกลายเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันมากที่สุดในโลก หลังขึ้นนำซาอุดิอาระเบียในปีที่ผ่านมา ประกอบกับการแข็งค่าของค่าเงินดอลลารืสหรัฐฯ ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และรัสเซีย มีกำหนดประชุมในเดือนมิ.ย. เพื่อพิจารณาการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน จากเดิมครบกำหนดปลายปีนี้
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน เม.ย. -US$5.9 อยู่ที่ US$1,321.7 ต่อออนซ์ ในขณะที่ดอลลาร์ดีดตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดรอบเกือบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับยูโร หลังจากที่นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณว่า การปรับนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติใดๆในยูโรโซนจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,565 ล้านบาท ยอดสะสม -57,332 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 9 มี.ค. 61
9/3/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ.
(2) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนม.ค.
ทิศทางตลาด
มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามต่างประเทศ? ภายใต้ตลาดต่างประเทศที่เคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ หลังจากความกังวลต่อนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง ซึ่งล่าสุดประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม อัตรา 25% และ 10% แต่มีการผ่อนคลายให้กับแคนาดาและเม็กซิโก และประเทศอื่นๆ สามารถขอยกเว้นได้ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลต่อการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวที่จะครบกำหนด 23/3/61 หลังเดือนก.พ. ผ่านในระยะเวลากระชั้นชิด และ ม.ค. ประสบกับภาวะ “Government Shutdown”
พร้อมยังแนะติดตามการประชุมเฟด 20 – 21/3/61 ที่คาดในครั้งนี้มีโอกาสสูงที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกของปีนี้ คาดอยู่ที่ 1.50 – 1.75% จาก 1.25 – 1.50% จากก่อนหน้านี้ประธานเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้ (คาดในเดือนมี.ค. มิ.ย. และ ก.ย.) จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเข้าสู่เป้าหมายของเฟดที่ 2.0% ในระยะกลาง พร้อมมุมมองที่ดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านปัจจัยในประเทศ คาดยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ โดยคาดยังมีแรงเก็งกำไรเงินปันผล ก่อนขึ้น XD ต่อเนื่อง ในเดือนนี้ – เดือนหน้า ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานคาดจะอ่อนตัวลงตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลง โดยคาดยังคงถูกกดดันจากปริมาณผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่คาดในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวก จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี’61 รวมถึงความคืบหน้าโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอประกาศใช้เป็นกฎหมาย คาดยังเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
พร้อมแนะติดตามประเด็นทางการเมือง หลังจากวานนี้ สนช. พิจารณาผ่านร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง 2 ฉบับ (การเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.) คาดเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นภายใน ก.พ.’62 ซึ่งเป็นคาดการณ์ก่อนหน้านี้ของตลาดฯ
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(2) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(3) กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณาที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และเรตติ้งที่อยู่ในอันดับต้นๆ เช่น MONO และ WORK
(4) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, MINT และ SPA
(5) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ
(6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 ที่ 2.87% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -1.22 อยู่ที่ 16.54
หุ้นแนะนำ : BBL
ข่าวเด่น