กลยุทธ์วันนี้ >> ยังเน้น Domestic Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัว Sideways ตามคาดจากปัจจัยต่างประเทศที่กดดัน รวมถึงจับตาดูตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ของสหรัฐฯเมื่อคืน อย่างไรก็ตามช่วงปิดตลาดมีแรงซื้อเข้ามาหนาแน่นและทำให้ดัชนีปิดกระโดดบวกเกือบ 10 จุดได้ ณ สิ้นวัน แรงซื้อส่วนใหญ่มาจากสถาบันในประเทศและบัญชีบล. ขณะที่ต่างชาติพลิกมาขายสุทธิเล็กน้อยหลังจากซื้อ 2 วันติดต่อกัน
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET จะแกว่งตัว Sideways แม้ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ของสหรัฐฯจะออกมาตามที่ตลาดคาด แต่ยังมีประเด็นกดดันจากฝั่งต่างประเทศที่ทรัมป์ปลดนายเร็ก ทิลเลอร์สันออกจากตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ รวมถึงความกังวลเรื่องการทำสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯหลังมีข่าวว่าทรัมป์มีแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบยังคงขยับลงต่อ เราจึงยังคงมองว่าหุ้นในกลุ่ม Domestic Play น่าจะยังน่าสนใจและสามารถปรับตัวได้ดีกว่าตลาดในระยะนี้
กลยุทธ์ : ยังเน้นเก็งกำไรกลุ่ม Domestic Play//ระยะกลาง-ยาวยังถือต่อ
หุ้นเด่นเดือน มี.ค. : ADVANC, MINT, MTLS, PTTEP, SC
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$805ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$549ล้าน ขณะที่ไหลออกอินโดนีเซีย US$51ล้าน และไทย US$11ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากความกังวลปัจจัยการเมืองในสหรัฐหลังประธานาธิบดีสหรัฐปลดรัฐมนตรีด้านต่างประเทศ่เนื่องจากความขัดแย้งด้านนโยบายฯมาหลายครั้ง
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> TK <<
- คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 16.70 บาท
- การประชุม Opp Day เมื่อวาน ผู้บริหารคลายความกังวล Regulatory Risk 3 ประเด็น (1) ดอกเบี้ยคิดแบบ Flat rate แต่บันทึกเป็น Effective rate อยู่แล้ว จึงไม่กระทบงบ (2) ค่าธรรมเนียมใหม่กำลัง Hearing แต่เราได้ปรับค่าติดตามทวงถามจาก 200 บาท เหลือ 100 บาท กระทบกำไรแค่ 5-6% (3) คาดว่าไม่กระทบจาก IFRS9 เพราะ LLR/Loan 6% และ Coverage ratio 122% น่าจะเพียงพอ
- คาดกำไรสุทธิปีนี้ +19% Y-Y อยู่ที่ 556 ลบ. PBV และ PE2018 ยังต่ำเพียง 1.3 เท่า และ 12 เท่า
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) BBL ศาลปกครองห้ามกสทช.เรียกเก็บเงินค้ำประกันจาก BBL กรณีไทยทีวี ซึ่ง BBL ได้ตั้งสำรองเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 1Q16 ราว 1 พันลบ หากกลับรายการ คาดส่งผลบวกต่อกำไรประจำไตรมาสราว 9-10% และบวกต่อกำไรประจำปีราว 2% อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีข่าวดังกล่าว BBL ก็น่าซื้อในฐานะ Top Pick ของกลุ่ม จากแรงขับเคลื่อนของ Bancassurance ร่วมกับ AIA เราคาดกำไรปีนี้ +12% Y-Y อยู่ที่ 3.7 หมื่นลบ. คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 244 บาท
(+) ERW เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรปี 2018 โดยปรับเพิ่มการเติบโตขึ้นเป็น 18.1% Y-Y จากรายได้ที่โตเร่งตัวตามการลงทุน และคาด 1Q18 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี ERW ยังเดินหน้าตามแผน 5 ปีในการขยายจำนวนโรงแรมและห้องพักทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะ Hop Inn และจากแรงหนุนของมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐทำให้เรามองว่า ERW จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เราปรับเพิ่มราคาเหมาะสมขึ้นเป็น 9 บาท แนะนำซิ้อ
(0) AH ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปีนี้โตราว 3-5% Y-Y จากตลาดรถยนต์ในประเทศที่ฟื้นตัว และการขยายฐานการผลิตและลูกค้าไปต่างประเทศมากขึ้น เพื่อก้าวสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยต์ระดับโลก โดยกำลังเข้าร่วมทุนกับโรงงานในเม็กซิโก ขณะที่ ปีนี้จะรับรู้ดอกเบี้ยการให้ SGAH กู้ยืมเต็มปี เบื้องต้นเราคาดกำไรสุทธิ +6% Y-Y อยู่ที่ 1.3 พันลบ. ราคาปัจจุบันแม้จะซื้อขายบน PE ราว 10 เท่า Upside เริ่มจำกัดเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 11 เท่า แนะนำเพียงถือ
(0) ILINK ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปีนี้ +10% Y-Y จากงานในมือที่มีราว 6 พันลบ. และคาดจะเข้าประมูลงานอีกราว 4 พันลบ. โดยในส่วนของงานวิศกรรมที่ทำขาดทุนใน 4Q17 ได้เปลี่ยนทีมบริหารและรูปแบบการรับงาน ส่วนธุรกิจขายสายสัญญาณแม้จะได้แรงหนุนจากการลงทุนด้านดิจิทัล แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง อย่างก็ตาม ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PBV เพียง 0.9 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ 2.1 เท่า Downside ในเชิงพื้นฐานจึงเริ่มจำกัด โดยถ้าอิง PBV ที่ 1.5 เท่า จะได้ราคาเหมาะสม 11.80 บาท แนะนำแค่เก็งกำไร
(+) FN จากประชุม Opp Day ผู้บริหารกำลังปรับกลยุทธ์ โดยการเพิ่มสินค้าใหม่ และหาผู้เช่าพื้นที่เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน ควบคู่ไปกับการจัด event ต่อเนื่อง โดยจะจัด FN Fair พระราม 9 ปีละ 2 ครั้ง ส่วนแผนขยายสาขา ปีนี้จะเปิดอีก 2 แห่ง และ renovate 2 สาขาเดิม อีกทั้ง กำลังร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้าง E-Commerce platform คาดเริ่ม 3Q18 ตั้งเป้า 5% ของรายได้รวม แนวโน้ม 1Q18 คาดฟื้นจากฐานต่ำและการจัดงาน Fair ที่พระราม 9 ส่วนทั้งปีคาด +73% Y-Y อยู่ที่ 150 ลบ. คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 5.60 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
14 มี.ค.
|
- สหรัฐฯ: ยอดค้าปลีก (ก.พ.)
|
15 มี.ค.
|
- สหรัฐฯ: ดุลการค้า (ก.พ.)
|
16 มี.ค.
|
- สหรัฐฯ: ยอดอนุญาตก่อสร้างและยอดสร้างบ้านใหม่ (ก.พ.)
|
19 มี.ค.
|
- ญี่ปุ่น: ดุลการค้า (ก.พ.)
- ยูโรโซน: ดุลการค้า (ม.ค.)
|
(-) ตลาดสหรัฐปรับตัวลดลง หลังปธ.ทรัมป์ได้เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ โดยตลาดคาดว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะดำเนินนโยบายแบบแข็งกร้าวและอาจนำไปสู่สงครามทางการค้า หลังปธ.ทรัมป์มีแผนจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีและสื่อสารจากจีน
(-) แรงกดดันจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นรวมไปถึงประเด็นทางการเมืองในสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง
(-) ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ปรับตัวลดลง หลังความกังวลในประเด็นทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีอาเบะยังคงกดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่น
() ดอลลาร์ยังอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร, ปอนด์รวมถึงบาท ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.15-31.20 บาท/ดอลลาร์
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับตัวลงอีก 0.65 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 60.71 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังตลาดคาดว่าสต็อคน้ำมันดิบในสหรัฐที่จะประกาศคืนนี้อาจเพิ่มขึ้น
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 6.30 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,327.10 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังประเด็นทางการเมืองในหลายประเทศมีความร้อนแรงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย
ข่าวเด่น