ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน เราคาดว่า SET จะยังแกว่งตัว Sideways ต่อเนื่อง(15/03/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> Domestic and Laggard Play

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัว Sideways ตามคาดเนื่องจากขาดปัจจัยบวกใหม่ ไม่ได้มีหุ้นกลุ่มใดปรับตัวขึ้นโดดเด่นเป็นพิเศษ แต่เริ่มเห็นหุ้นในกลุ่ม Domestic Play ปรับตัวขึ้นได้ดีหลายๆตัว แรงซื้อส่วนใหญ่ที่เห็นมาจากนักลงทุนต่างชาติ 4 พันลบ. และสถาบันในประเทศ 2.7 พันลบ. ขณะที่รายย่อยขายสุทธิมากถึง 8 พันลบ. แต่เพราะเป็นผลกระทบจาก Big Lot หุ้น EASTW มูลค่า 5.2 พันลบ. หากหักออก คาดว่าต่างชาติขายสุทธิราว 1 พันลบ.
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะยังแกว่งตัว Sideways ต่อเนื่องในลักษณะใกล้เคียงกับช่วง 2 วันที่ที่ผ่านมา โดยบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศยังไม่ได้สดใสนัก เพราะยังถูกกดดันจากปัจจัยความกังวลเรื่องโอกาสในการเกิดสงครามการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างสหรัฐฯและจีน ส่วนตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. ออกมาต่ำกว่าคาดส่วนเงินเฟ้อผู้ผลิตใกล้เคียงคาด ทำให้เรายังมองว่าหุ้นในกลุ่ม Domestic Play และหุ้นที่ยัง Laggard ยังดูปลอดภัยและคาดว่าจะเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในระยะนี้ 
  กลยุทธ์ : ยังเน้นเก็งกำไรกลุ่ม Domestic และ Laggard Play//ระยะกลาง-ยาวยังถือต่อ
  หุ้นเด่นเดือน มี.ค. : ADVANC, MINT, MTLS, PTTEP, SC  
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$381ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกไต้หวัน US$274ล้าน ขณะที่ไหลเข้าไทย US$128ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคหลังความกังวลต่อการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศปะทุขึ้นอีก

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> GFPT <<

  • แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 18 บาท
  • ได้อานิสงส์จากรัฐบาลจีนที่อนุญาตให้นำเข้าไก่สดและชิ้นส่วนไก่แช่แข็งจาก 7 โรงงานของไทย หนึ่งในนั้นมี GFPT CPF และ TFG ซึ่งจะช่วยหนุนให้ราคาไก่ในประเทศปรับขึ้นในระยะถัดไป
  • ล่าสุดบริษัทได้รับการติดต่อจากลูกค้าจีนแล้ว อยู่ระหว่างการเจรจาเงื่อนไขการค้า คาดจะเริ่มส่งออก เม.ย. 18 เป็นต้นไป
  • GFPT ไม่มีธุรกิจหมูมาถ่วง และราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีที่ลง 3% ยัง Laggard CPF ที่ขึ้น 6% อยู่มาก


ประเด็นสำคัญวันนี้
  (+) กลุ่มรับเหมา รฟม.ผลักดันรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2 แสนลบ. เข้าครม.เป็นโครงการแรกในวันที่ 20 มี.ค. นี้ และเปิดประมูลใน 2Q18 ขณะที่มีโครงการภาครัฐที่รอประมูลในปีนี้อีกราว 5 แสนลบ. เป็นบวกกับผู้รับเหมารายใหญ่ CK, STEC, UNIQ และฐานราก SEAFCO
  (0) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ประเด็นการเก็บเงินจากแบงก์เข้า FIDF เพิ่มเติม เรามองว่ามีความเป็นไปได้ต่ำ ปัจจุบันเก็บ 0.47% อนุมัติเมื่อปลายปี 2016 มีผลปีงบประมาณ 2017-2019 โดยเป็นส่วนที่เข้า FIDF 0.46% ถ้าจะเพิ่ม ต้องเป็นหลังปี 2019 และ ธปท. ต้องอธิบายเหตุผลให้ได้ เพราะที่ผ่านมาความสามารถในการชำระหนี้ของ FIDF ยังอยู่ในแผน เรามองเป็นโอกาสซื้อ โดยเฉพาะ KBANK ที่ราคาปรับตัวลงมามากสุด ราคาเป้าหมาย 264 บาท    
  (0) BEAUTY ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปีนี้ +20% Y-Y อยู่ที่ 4.3 พันลบ. และคาดว่าจะแตะ 1 หมื่นลบ. ในปี 2022 จากแผนเพิ่มสินค้า จำนวนสาขา จุดขายร่วมกับ Partner และ Cross-border e-Commerce ส่วนประเด็นการขายหุ้น ผู้บริหารให้คำมั่นว่าจะไม่ขายอีก ซึ่งเราไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เพราะ BEAUTY มีแผนงานที่เป็นระบบ เราคาดกำไรปีนี้ +28% Y-Y อยู่ที่ 1.6 พันลบ. แต่เพราะ Valuation ที่ตึงตัว PE2018 ที่ 40 เท่า และ PEG 1.6 เท่า ใกล้กลุ่มค้าปลีก จึงคงคำแนะนำขาย ราคาเป้าหมาย 20.50 บาท 
  (+) CHG เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรทั้งใน 1Q18 ที่คาดโตดีจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตามโรคระบาด รวมถึงทั้งปี 2018 ที่จะถูกขับเคลื่อนจากทั้งฝั่งรายได้ที่โตในอัตราเร่ง และ Margin ที่คาดขยายตัวหลังผ่านช่วงลงทุนใหญ่ไปแล้ว เรายังคงประมาณการกำไรปกติปีนี้เร่งตัว +15% Y-Y อยู่ที่ 650 ลบ. ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลงสวนทางกับแนวโน้มกำไรและการเคลื่อนไหวของ SET และ SETHELTH รวมถึงปัจจุบันซื้อขายที่ PE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตมาก เราจึงมองเป็นโอกาสซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท
  (+) ADB แนวโน้มยอดขาย มค.-กพ. +15% Y-Y ที่โตดีคือกลุ่ม พีวีซีคอมปาวด์ที่ใช้ผลิตสายไฟ โดย 80% เอาไปใช้ในกลุ่มโรงไฟฟ้า ส่วนกาวและยาแนวที่เน้นส่งออก ยังโต 5-10% Y-Y แต่ที่น่าสนใจคือสามารถคุมต้นทุนที่เป็นปัญหาในปีก่อนได้หมดแล้ว อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะกลับมาเกิน 20% จาก 18% ใน 4Q17 แนวโน้มกำไร 1Q18 อาจดีกว่าเราคาดที่ 10-12 ลบ. ส่วนทั้งปีคาด +139% Y-Y อยู่ที่ 69 ลบ. คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 2.30 บาท เรามอง ADB น่าสนใจทั้งการโตจากฐานต่ำ และโตจากธุรกิจใหม่คืออุปกรณ์การแพทย์ที่จะเริ่มใน 2H18
  (+) COMAN ประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ช่วยผ่อนคลายความกังวลได้มากขึ้น ผบห. ชี้แจ้งได้ชัดถึงเหตุผลการขาย MSL เพื่อไม่อยากให้กระทบงบการเงินในระยะยาว และกลยุทธ์การหากำไรมาชดเชยทั้งจากธุรกิจเดิมและการ M&A ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เวลาพิสูจน์ เรามองเป็นเพียงผลกระทบชั่วคราว เพราะแนวโน้มกำไรของทั้ง COMAN และซินเนเจอร์ยังโตดี และด้วย Valuation ที่ถูก Forward PE และ PBV เพียง 23 และ 1.6 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยธุรกิจซอฟแวร์ภูมิภาคที่ 33 เท่าและ 5 เท่า ตามลำดับ อีกทั้ง มีเงินสดในมือมากถึง 2 บาท/หุ้น จึงคงคำแนะนำซื้อลงทุน ราคาเป้าหมาย 7 บาท 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

15 มี.ค.

สหรัฐฯ: ดุลการค้า (ก.พ.)

16 มี.ค.

สหรัฐฯ: ยอดอนุญาตก่อสร้างและยอดสร้างบ้านใหม่ (ก.พ.)

19 มี.ค.

ญี่ปุ่น: ดุลการค้า (ก.พ.)

ยูโรโซน: ดุลการค้า (ม.ค.)

  • (-) ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐซึ่งพุ่งเป้าไปที่ประเทศจีน หลังจากปีที่ผ่านมา สหรัฐขาดดุลการค้าให้กับจีนถึง 2/3 ของยอดรวม โดยปธ.ทรัมป์ตั้งเป้าว่าจะลดการขาดดุลให้กับประเทศจีนลง 1แสนล้านดอลลาร์
  • (-) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงจากความกังวลในเรื่องสงครามทางการค้า
  • (-) ตลาดเอเชียนำโดยออสเตรเลียปรับตัวลง หลังจากกองทุน PIMCO ได้ลดการลงทุนในตราสารหนี้ในกลุ่มธนาคารและอสังหาฯ
  • () ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.10-31.20 บาท/ดอลลาร์
  • (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่   0.25 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 60.96 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังการลดลงของสต็อคน้ำมันเบนซินและดีเซลที่มากกว่าตลาดคาด
  • ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 1.50 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,325.60 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 มี.ค. 2561 เวลา : 09:59:45

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 2:34 am