คำแนะนำ
พิจารณาโซน 1,321-1,332 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในการเปิดสถานะขาย ขณะที่การเปิดสถานะซื้อจำเป็นต้องรอการอ่อนตัวลงเข้าใกล้แนวรับซึ่งจะเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,302 1,291 1,283
แนวต้าน 1,321 1,332 1,341
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 7.54 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์หลังการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีเกินคาดหลายรายการ อาทิ ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) พุ่งขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 22.5 จุดในเดือนมี.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ลดลงสู่ระดับ 226,000 ราย ปัจจัยดังกล่าวหนุนสกุลเงินดอลลาร์และสินทรัพย์เสี่ยงอย่างดัชนีดาวโจนส์ให้พุ่งขึ้น 115.54 จุดและกลับมาปิดตลาดให้แดนบวกเป็นครั้งแรกหลังปิดลบ 4 วันทำการติดต่อกัน อย่างไรก็ดีอาจต้องติดตามความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและอังกฤษที่ทวีความรุนแรงขึ้นหลังนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษประกาศขับไล่นักการทูตรัสเซีย 23 คนออกจากประเทศจากกรณีที่นายเซอร์เก สครีพอล อดีตสายลับรัสเซียซึ่งลี้ภัยในอังกฤษโดนลอบวางยาพร้อมกับลูกสาว ซึ่งหากความขัดแย้งดังกล่าวลุกลามมากขึ้นอาจสร้างแรงหนุนให้แก่ทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยได้ ขณะที่กองทุน SPDR เพิ่มการถือครองทองคำ +4.42 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการอนุญาตก่อสร้าง, ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน, อัตราการใช้กำลังการผลิตและการผลิตภาคอุตสาหกรรม
ปัจจัยทางเทคนิค
ราคาทองคำเกิดแรงขายอ่อนตัวลงที่ดีดตัวขึ้นมาใกล้ 1,329 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เบื้องต้นมีแนวต้านระยะสั้นที่ 1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านไปได้ ประเมินว่าจะเกิดแรงขายกดดันมาเข้าใกล้ 1,306-1,302 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ราคาทองคำมีจุดเสี่ยงเปิดสถานะขายระยะสั้นในบริเวณ 1,321-1,332 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืน 1,332 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้) แต่หากราคาอ่อนตัวลงไปก่อนให้พิจารณาบริเวณ 1,306-1,302 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเปิดสถานะซื้อ แต่หากหลุดโซนดังกล่าวแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อเพื่อรอดูการตั้งฐานของราคา
ข่าวเด่น