คำแนะนำ
หากราคาทดสอบแนวต้าน 1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ไม่สามารถผ่านได้ให้แบ่งขายทำกำไร อย่างไรก็ตามหากไม่ผ่าน ประเมินแนวรับที่ 1,306-1,302 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,302 1,291 1,283
แนวต้าน 1,321 1,332 1,341
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 2.44 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)เปิดเผยตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่พุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากม.มิชิแกนพุ่งขึ้นสู่ระดับ 102 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐบ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสถึง 86% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเฟดในวันที่ 20-21 มี.ค.นี้ ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำลงเพื่อรอความชัดเจนเกี่ยวกับแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้จากการประชุมดังกล่าว ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่ม +2.07 ตัน สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
ราคาขยับขึ้นแต่ก็มีแรงขายทำกำไรสลับออกมา ขณะที่ความผันผวนของราคาลดลงจากช่วงก่อนหน้า ซึ่งหากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือ 1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีผลให้ราคาปรับตัวลงเพื่อสะสมแรงซื้ออีกครั้ง โดยมีโอกาสเกิดแรงขายกลับลงมา โดยมีแนวรับในโซน 1,306-1,302 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
เน้นเก็งกำไรระยะสั้นได้ โดยแนะนำให้นักลงทุนรอจังหวะขายทำกำไรหากราคาดีดตัวขึ้นไปทดสอบบริเวณแนวต้าน 1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเข้าซื้อหากราคาย่อตัวลงมาและไม่หลุดแนวรับ 1,306-1,302 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น