กลยุทธ์วันนี้ >> “Super Domestic and Defensive” Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัวในแดนบวกตามบรรยากาศการลงทุนที่ผ่อนคลายขึ้น หลังทราบผลการประชุม FOMC และแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามยังคงเห็นแรงขายออกมาในหุ้นหลายๆตัว และทำให้ดัชนีค่อยๆซึมลงและปิดลบเล็กน้อย ณ สิ้นวัน นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิราว 1 พันลบ. แต่ยัง Short ในตลาดฟิวเจอร์สราว 500 ลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะปรับฐานแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลกหลังทรัมป์ลงนามคำสั่งเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ล่าสุดจีนเตรียมที่จะเรียกเก็บภาษีตอบโต้เช่นกัน ซึ่งยิ่งเพิ่มความหวาดกลัวเรื่องสงครามการค้าที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่คืนนี้จับตาการโหวตร่างงบประมาณของสหรัฐให้ทันเส้นตาย Government Shutdown เราคาดระยะสั้นเน้นพักเงินในหุ้นที่อยู่ในกลุ่ม Domestic และ Defensive เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงของตลาดโลก
กลยุทธ์ : พักเงินในหุ้นกลุ่ม Domestic และ Defensive
หุ้นเด่นเดือน มี.ค. : ADVANC, MINT, MTLS, PTTEP, SC
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$340 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$187 ล้าน, ไต้หวัน US$112 ล้าน และไหลเข้าไทย US$30 ล้าน ขณะที่ไหลออกจากฟิลิปปินส์ US$3.5 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยหลังกังวลต่อมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> CPALL <<
- แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 98 บาท
- ระยะสั้น แนวโน้ม SSSG 1Q18 ยังดูดีต่อเนื่อง คาดกำไรจะโต Y-Y และแผ่วลง Q-Q ตามฤดูกาล และคาดกำไรสุทธิปี 2018 จะเติบโตดี 20% Y-Y จากการเติบโตของ SSSG และยังมีแผนเปิดสาขาใหม่ไม่น้อยกว่า 700 แห่ง รวมถึงมี Upside จากการเป็น Banking Agent
- บริษัทมีแผนลดสัดส่วนการถือ MAKRO จากปัจจุบันที่ 98% เพื่อเพิ่ม Free float และราคาหุ้น MAKRO ล่าสุดสูงกว่าต้นทุนของ CPALL ที่ 42-43 บาท/หุ้น แล้ว หากมีการลดสัดส่วนลง จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับ CPALL และมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการจากดอกเบี้ยจ่ายที่จะลดลง
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) สหรัฐเตรียมขึ้นภาษีนำเข้า สินค้า 1,300 รายการ หนึ่งในนั้นมีพูดถึง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (IC) ที่สหรัฐฯนำเข้าจากจีนมาก (ลบต่อ HANA) ส่วนจีนขู่กลับจะขึ้นภาษี 128 รายการ ซึ่งมีถั่วเหลืองที่อาจทำให้ราคาตลาดโลกอ่อนตัวลง (ลบต่อ TVO) และเนื้อหมูที่ทำให้ต้องกลับไปนำเข้าจากเวียดนาม (บวกต่อ CPF)
(+) Window dressing จากการศึกษาการเคลื่อนไหวของ SET 10 ปีย้อนหลัง พบว่ามักมี window dressing ใน 1Q และ 2Q ของทุกปี โดยสัปดาห์สุดท้ายของ 1Q ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ย 0.4% W-W ด้วยความน่าจะเป็นในการให้ผลตอบแทนเป็นบวกสูงถึง 80% หุ้นที่มีโอกาสถูกทำ window ส่วนใหญ่อยู่ใน SET50 ที่ราคาไม่ต่างกับ 4Q17 มากนัก ได้แก่ AOT BBL BEM INTUCH LH MTLS TU และ WHA
(-) PMI ภาคการผลิตยูโรโซน มี.ค. 18 ออกมาแย่กว่าคาด โดยเฉพาะของเยอรมันและฝรั่งเศสที่ปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เหลือ 58.4 และ 53.6 ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 59.8 และ 55.6 ตามลำดับ บ่งชี้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่อาจเป็นผลกระทบชั่วคราวจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทางตอนเหนือของภูมิภาค ทำให้ ECB ยังมีแนวโน้มคงนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายต่อไป ผลกระทบที่ตามมาคือ ทำให้เงินยูโรกลับมาอ่อนค่าชั่วคราว
(+) BIG แนวโน้มผลประกอบการ 1Q18 มีโอกาสฟื้นต่อเนื่องจาก 4Q17 ซึ่งเราคาดว่าเป็นไปได้ที่จะเห็นกำไรโตทั้ง Q-Q และ Y-Y จากการเร่งเปิดตัวรุ่นใหม่ของผู้ผลิต Mirrorless ทั้ง Fujifilm Panasonic Olympus Canon Nikon และ Sony อีกทั้ง ยังได้ Sentiment เชิงบวกจากการฟื้นตัวของราคาหุ้น Canon และ Nikon หลังจากที่ลงมาลึกตั้งแต่ต้นปีด้วย เราคาดกำไรสุทธิปีนี้ +8% Y-Y อยู่ที่ 833 ลบ. ยังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท
(+) PPS ผลประกอบการ 4Q17 ที่ชะลอ เพราะทางบัญชียังไม่ให้รับรู้กำไรงานสุวรรณภูมิเฟส 2 แต่คาดว่าปีนี้จะกลับมารับรู้ได้ปกติ ขณะที่ ผู้บริหารคาดรายได้โต 20% Y-Y โดยมีงานในมือรองรับแล้วราว 400 ลบ. งานช่วง 1H18 ส่วนใหญ่เป็นออฟฟิสและมิกซ์ยูสของภาคเอกชน ส่วนงานภาครัฐฯจะเข้ามาเติมเต็มใน 2H18 เราอยู่ในช่วงทบทวนประมาณการ แต่ถ้าอิงมาร์จิ้นใกล้เคียงปีก่อน กำไรทั้งปีน่าจะจบที่ 63-68 ลบ. อิง PE 30 เท่า ราคาเป้าหมายจะอยู่ที่ 2.30-2.50 บาท คงคำแนะนำซื้อ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23 มี.ค.
|
- สหรัฐฯ: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (ก.พ.)
- ญี่ปุ่น: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)
|
27 มี.ค.
|
- สหรัฐฯ: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มี.ค.)
|
28 มี.ค.
|
- ไทย: ประชุม กนง.
|
- (-) ตลาดสหรัฐปรับตัวลงอย่างหนัก ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยมีการคาดว่าจีนจะตอบโต้การเก็บภาษีของสหรัฐโดยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่สนับสนุนปธ.ทรัมป์
- (-) ตลาดยุโรปได้รับแรงกดดันจากสงครามทางการค้าที่อาจะกระทบต่อเศรษฐกิจที่ค่อยๆฟื้นตัว รวมไปถึงดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและบริการที่ชะลอตัวลงในเดือน มี.ค.
- (-) ความตึงเครียดทางการค้าส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น ส่งผลเสียต่อกำไรบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่นและเศรษฐกิจโดยรวมของเอเชีย
- () ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ที่อยู่ที่ 31.25-31.35 บาท/ดอลลาร์
- (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.87 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 64.30 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีแรงขายทำกำไรจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 5.90 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,327.40 ดอลลาร์/ออนซ์ จากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ข่าวเด่น