คำแนะนำ
นักลงทุนที่มีทองคำในมือ อาจแบ่งออกขายบางส่วนหากราคาไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน และรอการอ่อนตัวลงของราคา หากราคาสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,330-1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้แนะนำให้เข้าซื้อเพื่อลงทุนระยะสั้นอีกครั้ง
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,330 1,321 1,313
แนวต้าน 1,346 1,356 1,367
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.27 ดอลลาร์ต่อออนซ์หรือพุ่งขึ้นกว่า 1% จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดสงครามทางการค้า หลังจากจีนเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้า 120 รายการจากสหรัฐซึ่งรวมถึงผลไม้และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลไม้ในอัตรา 15% และเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอีก 8 รายการซึ่งรวมถึงเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหมูในอัตรา 25% ความวิตกดังกล่าวกดดันดัชนีดาวโจนส์ให้ปิดร่วงลงกว่า 450 จุดรวมถึงกดดันสกุลเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นแรงซื้อทองคำสะท้อนจากข้อมูลของคณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) ที่รายงานว่ากองทุนเฮดจ์และผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มสถานะซื้อสุทธิสัญญาฟิวเจอร์สทองคำตลาด COMEX ขึ้น 50,996 สัญญาสู่ระดับ 172,834 สัญญาในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 มี.ค.ซึ่งบ่งชี้ถึงแรงซื้อเก็งกำไรในตลาดทองคำที่เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่มวานนี้ +6.19 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยการสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจาก IBD/TIPP
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำพยายามขึ้นไปทดสอบแนวต้านในโซน 1,346 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้แสดงถึงแรงเข้าซื้อในระยะสั้น หากยืนได้แข็งแกร่ง ทำให้ประเมินว่าในระยะสั้น ยังคงมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบ แนวต้านถัดไป 1,356 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับนั้นอยู่ในบริเวณ 1,330-1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ราคาทองคำมีจุดเสี่ยงเปิดสถานะขายระยะสั้นในบริเวณ 1,346-1,356 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืน1,356ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้) แต่หากราคาอ่อนตัวลงไปก่อนให้พิจารณาบริเวณ 1,330-1,321 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นจุดเปิดสถานะซื้อ แต่หากหลุดโซนดังกล่าวแนะนำให้ชะลอการเข้าซื้อเพื่อรอดูการตั้งฐานของราคา
ข่าวเด่น