ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -572.46, NASDAQ -161.44, S&P-58.37, FTSE -15.86, CAC -18.43 และ DAX -63.92
ภายใต้ความกังวลว่าสหรัฐฯ เปิดศึกการค้าจีนรอบใหม่ หลังปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) พิจารณารายการสินค้านำเข้าจากจีน ที่สหรัฐอาจเรียกเก็บภาษีเพิ่มอีก 1 แสนล้านUSD และยังได้รับปัจจับกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร – มี.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 103,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน และต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 193,000 ตำแหน่ง หลังเพิ่มขึ้น 326,000 ตำแหน่ง เมื่อก.พ.รวมถึงสุนทรพจน์ของนายเจอโรม เพาเวล ประธานเฟด ล่าสุด กล่าวว่า เฟดอาจจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อควบคุมทิศทางเงินเฟ้อ และอยู่ระหว่างรอผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มรายงานผลประกอบการ – 1Q/61 ในวันที่ 13/4/61
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ค. -US$1.48 อยู่ที่ US$62.06 ต่อบาร์เรล ยังได้รับปัจจัยกดดันจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อาจกระทบต่อเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ล่าสุดเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความกังวลต่อปริมาณน้ำมันในตลาด
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$7.6 อยู่ที่ US$1,336.1 ต่อออนซ์ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และยังได้รับปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง รวมถึงตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ข้างต้น ที่ต่ำกว่ากว่าคาด และเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,231 ล้านบาท ยอดสะสม-60,707 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 9 – 13 เม.ย. 61
9/4/61 ไม่มีเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
10/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค.
(2) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.พ.
11/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค.
(2) สต็อกน้ำมัน
(3) รายงานการประชุมเฟด (20 – 21/3/61)
12/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ราคานำเข้าและส่งออกเดือนมี.ค.
(2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
13/4/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนเม.ย.
ทิศทางตลาด
คาดยังคงมีความผันผวน? ภายใต้ปัจจัยกดดันจากประเด็นในประเทศ (1) กลุ่มธนาคาร หลังประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมที่ทำธุรกรรมผ่าน Internet Banking คาดส่งต่อผลการดำเนินงานกลุ่มธนาคารตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป และคาดเริ่มปรับประมาณการลงทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมและกำไรสุทธิ ซึ่งส่งผลต่อประมาณการ EPS ปี’61F ของตลาด พร้อมคาดหลังจากนี้ไปมีแนวโน้มปรับเป้าหมาย SET Index ลง (2) กลุ่มโรงกลั่น ที่คาดรอความชัดเจนจากการประชุม กบง. วันที่ 20/4/61 หลังกระทรวงพลังงานให้ทบทวนโครงสร้างการกำหนดราคาหน้าโรงกลั่น ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะลดค่าพรีเมียมลง
รวมถึงปัจจัยลบจาก Fund Flow ภายใต้แรงขายต่างชาติต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมเพิ่มเป็นกว่า 60,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามอาจได้รับการชดเชยเข้ามาบ้างจากแรงซื้อสุทธิของสถาบันในประเทศ
ขณะที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว คาดอาจมีแรงขายออกมาเพื่อลดความเสี่ยง ภายใต้ความแน่นอนจากประเด็นต่างประเทศ โดยเฉพาะการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีการตอบโต้ไปมา จากการทยอยประกาศรายการสินค้าที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าทั้ง 2 ประเทศ
แม้จะยังไม่มีบังคับใช้ในทันที
นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง คาดส่งผลต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน แต่ราคาน้ำมันทั้ง 3 ตลาด (WTI, Brent และ DUBAI) ยังทรงตัวในระดับ เฉลี่ย 63 - 67USD/bbl ซึ่งหุ้นที่น่าสนใจ เช่น PTT และ PTTEP เป็นต้น
ขณะที่เริ่มมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร ประมาณกลางเมย. หลังจากนั้นเป็นกลุ่ม Real Sector ที่ทยอยประกาศถึงกลางเดือนพ.ค.และคาดในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment จากความคืบหน้าโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอประกาศใช้เป็นกฎหมาย คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน รวมถึงล่าสุด รมว.คมนาคม คาดในเดือนพ.ค. - มิ.ย.นี้ เสนอครม. เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ และงานเดินรถ จะรวมเป็นรูปแบบ PPP และเตรียมจะเสนอ ครม.ได้ประมาณ 3Q/61
ยังแนะติดตามประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะจากการยื่นร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ อาจส่งผลต่อ Road Map เลือกตั้งในเดือนก.พ.’ 62
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มธนาคาร ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(2) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น เช่น PTT, PTTEP
(4) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น SPA
(5) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ
(6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.06 อยู่ที่ 2.78% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +2.55 อยู่ที่ 21.49
หุ้นแนะนำ : MONO
ข่าวเด่น