"ซื้อขายเบาบางลงก่อนเข้าวันหยุด"
ทิศทางตลาดหุ้นไทย : ประเมินดัชนีฯก่อนเข้าวันหยุดยาว จะแกว่งกรอบแคบๆ แต่คาดปิดบวกได้เล็กน้อย ... ตัวแปรทางบวกของตลาด ยังเป็นสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่มีโอกาสเกิดน้อยลง ภาวะเศรษฐกิจไทย-เอเซีย ถูกคาดว่าขยายตัวดี ล่าสุด คือ ADB คาด GDP ไทยปีนี้ 4.0% (World Bank 4.1% และ ธปท.คงไว้ที่ 4.1% จากรายงานนโยบายการเงินที่เผยแพร่วานนี้) และราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นหลังมีความตึงเครียดที่ ประเทศซาอุฯ และสถานการณ์ซีเรีย(สหรัฐฯ-รัสเซีย) อาจหนุนราคาหุ้นน้ำมัน-ปิโตรเคมี .... อย่างไรก็ตาม กรอบการเคลื่อนไหวจะถูกจำกัดไว้ จากนักลงทุนรอดูการตัดสินใจของสหรัฐฯต่อซีเรีย ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันข้างหน้า
กลยุทธ์การลงทุน : ภาพตลาดมีแรงหนุนส่งอีกเล็กน้อยจากปัจจัยบวกที่เข้ามา แต่วันนี้ดัชนีฯน่าจะแกว่งกรอบแคบ... กลยุทธ์ลงทุน จะเหมาะกับการถือรอให้ผ่านช่วงวันหยุดไปก่อน หรือเข้าเก็งกำไร ในหุ้นที่มีข่าวบวกหนุน โดยกลุ่มธนาคาร เรายังให้ความสนใจกับ BBL, KBANK กลุ่มส่งออกจะเป็น KCE , HANA ขณะที่กลุ่ม commodity หุ้นได้รับผลบวกจากราคาผลิตภัณฑ์อ้างอิงที่สูงขึ้นทั้งสองตัว คือ PTTEP (น้ำมันดิบ) และ TVO (กากถั่วเหลือง)
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ : BCH
หุ้นแนะนำทางเทคนิค: SAWAD, IHL, TPCH
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) BCH : (ราคาปิด 17.80 บาท)
วันนี้ เราให้ความสนใจต่อหุ้นตัวใหญ่ที่สุดของโรงพยาบาลที่เน้นประกันสังคม ขณะที่ราคาหุ้นเดินหน้าทำ new high อย่างต่อเนื่อง .... จุดเด่นคือ ด้วยสมาชิกประกันสังคมเกือบ 8 แสนคน การปรับขึ้นเงินที่ สนง.ประกันสังคมจ่ายให้โรงพยาบาล BCH มีโอกาสที่จะกินส่วนแบ่งนี้มากที่สุดด้วย อีกทั้ง BCH มีการขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ... เราประมาณการกำไรสุทธิ ปี '18 ที่ 1,039 ล้านบาท (+17% YoY) โดยการเติบโตหลักจะมาจาก WMC เริ่มทำกำไร และคลินิกเกษมราษฎร์แม่สายเปิดรับคนไข้แบบ IPD เต็มปีเป็นปีแรก .... ราคาเหมาะสม โดย KTBST ที่ 18.50 บาท
(+) TVO : (ราคาปิด 33.75 บาท)
เราติดตามต่อสำหรับตัว TVO จากราคากากถั่วเหลืองในตลาดโลก มีราคาสูงขึ้นค่อนข้างมาก ล่าสุด สูงขึ้น 10% จากปลายปีก่อน เป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่ความกังวลของนักลงทุนจะลดลง หากจีนไม่มีการใช้มาตรการภาษีต่อสหรัฐฯ สำหรับ การนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ..... เราประมาณการณ์กำไรสุทธิปี 2018 ที่ 2.2 พันล้านบาท สูงขึ้นกว่าปี 2017 ที่ 1.3 พันล้านบาทแต่ต่ำกว่าปีที่ดีมากอย่างปี 2016. ….. ราคาที่เหมาะสมโดย KTBST ที่ 39.00 บาท
หุ้นมีประเด็น
(+) กลุ่มยานยนต์ : ออสเตรเลียมีแผนลดภาษีนำเข้ารถยนต์
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลออสเตรเลียกำลังพิจารณายกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ใหม่ โดยจะเสนอในแผนปีงบประมาณ 2019-2020 ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาเสนอให้ยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ 5% และรถยนต์หรู 33% รวมถึงอยู่ระหว่างพิจารณาปรับลดอายุการใช้งานของรถยนต์ทั่วประเทศลง เพื่อความปลอดภัย ลดการบาดเจ็บ เสียชีวิตของผู้ขับขี่ และลดระดับมลพิษในอากาศ ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกรถยนต์ไปออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้น เพราะราคารถยนต์ใหม่จะถูกลง และกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อรถยนต์คันใหม่ โดยในปัจจุบันไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, ทันหุ้น)
ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นบวกต่อกลุ่มยานยนต์ โดยการส่งออกรถยนต์ของไทยนั้น ประเทศออสเตรเลียนับเป็นประเทศที่ไทยมีการส่งออกรถยนต์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกเกือบ 30% ของรถยนต์ที่ไทยส่งออกทั้งหมด และการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นรถกระบะ ทั้งนี้ กลุ่มยานยนต์ หุ้น Top Pick ได้แก่ AH (ราคาเป้าหมาย 42 บาท) และ SAT (ราคาเป้าหมาย 22 บาท) โดยทั้ง AH และ SAT ยังมีการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นรถกระบะด้วย ส่วนหุ้นคาดว่าจะได้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ EPG (ราคาเป้าหมาย 7.50 บาท) มีการผลิตอุปกรณ์ตกแต่งรถ 4WD และ SUV ในออสเตรเลียผ่าน TJM และ NYT (ราคาเป้าหมายจาก Bloomberg Consensus ที่ 7.06 บาท) เป็นท่าเรือส่งออกรถยนต์รายใหญ่สุดของประเทศ
(+) SCB : โล่งขาย PACE รอบันทึกกลับ 5 พันล. เพซพ้นวิกฤติหนี้เสีย เตรียมขายทรัพย์สินล็อต 2
ไทยพาณิชย์โล่งอก รอบันทึกสำรองหนี้ PACE กลับมาเป็นกำไร 5 พันล้านบาทภายในปีนี้ หลังเพซขายมหานครให้กลุ่มคิง เพาเวอร์ 1.4 หมื่นล้านบาท โดย ณ ปัจจุบันหนี้ของ บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น หรือ PACE ธนาคารได้ตั้งสำรองเป็นหนี้จัดชั้นไว้แล้ว 50% หรือคิดเป็นวงเงิน 5 พันล้านบาท จากมูลหนี้ทั้งหมด 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งหนี้ดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นหนี้เสีย และหลังจาก PACE ชำระหนี้คืนมาตามแผนแล้ว ธนาคารก็จะสามารถบันทึกสำรอง 5 พันล้านบาท กลับมาเป็นกำไรพิเศษได้ภายในปีนี้ ส่วนล็อตที่สอง PACE จะขายหุ้นชุดโครงการเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก ในโครงการมหานคร จำนวน 53 ยูนิต ราคาประเมินต่อยูนิตอยู่ที่กว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นที่น่าจับตาว่ากลุ่มคิง เพาเวอร์ จะเข้ามาซื้ออีก โดยเงินก้อนนี้จะนำไปชำระหนี้ให้กับ SCB และหุ้นกู้บางส่วน (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น)
ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ SCB มากขึ้นหลังจากที่ PACE สามารถขายสินทรัพย์ได้ เนื่องจาก SCB เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของ PACE จึงมองว่า การขายครั้งนี้เป็นการปลดล็อกซึ่งจะช่วยให้ SCB ไม่ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มเติม ขณะที่ปัจจุบันทาง IR เคยบอกว่า SCB ไม่ได้มีการตั้งสำรองเพิ่มเติมสำหรับ PACE มาก่อนอยู่แล้ว มีเพียงการตั้งสำรองปกติตามเกณฑ์ปกติอย่างเดียว โดยระยะสั้น เรามองว่า จะเห็นแรงเก็งกำไรจากประเด็นดังกล่าวได้ แต่เบื้องต้นเรายังคงแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมายที่ 148 บาท เพราะเรายังกังวลเรื่องการปล่อยสินเชื่อใหม่ๆของ SCB ที่ดูมีความเสี่ยงมากขึ้น
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) TKN (ซื้อ/20.00 บาท) ราคาสาหร่ายยังคงกดดันกำไรสุทธิ1Q18
เราคาดว่ากำไรสุทธิ 1Q18 อยู่ที่ 137 ล้านบาท ลดลง 20% YoY, 4% QoQ และรายได้อยู่ที่ 1,229 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY แต่ลดลง 19% QoQ ซึ่งเป็นการลดลงตามฤดูกาล กำไรสุทธิที่ลดลงมีผลจากต้นทุนสาหร่ายที่ยังคงเป็นล็อตเก่าที่มีราคาสูงขึ้นถึง 20% YoY โดยต้นทุนสาหร่ายมีสัดส่วนอยู่ที่ 44%ของต้นทุนการผลิต ส่งผลให้ gross profit margin ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 30.0% จาก 34.5%ใน 1Q17 ทั้งนี้เราปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 2018 ลง 9.9% สะท้อนกำไรสุทธิ 1Q18 ที่จะต่ำกว่าประมาณการเดิมของเรา อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไรสุทธิปี 2018 จะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% YoY จาก domestic spending sentiment ที่ฟื้นตัว และ gross profit margin expansion จากต้นทุนสาหร่ายที่ลดลงจาก 1Q18 เรามองว่าราคาที่ปรับตัวลงที่ผ่านมาของ TKN ได้สะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว ทั้งเรื่องต้นทุนสาหร่ายที่อยู่ในระดับสูงและ utilization rate ของโรงงานโรจนะที่ต่ำกว่าคาด เราจึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 20 บาท (เดิม 22 บาท)
(+) CPALL (ซื้อ/93.00 บาท) การบริโภคยังเติบโตต่อเนื่อง
เราประมาณการณ์กำไร 1Q18 ที่ 5.8 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 22.2%YoY และ 5.4%QoQ เนื่องจาก คาดว่า SSSG จะสามารถเติบโตในระดับ 3-4% ได้ เนื่องจากฐานที่ต่ำใน 1Q17 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค มีค.2018 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 79.9 หลังจากผู้บริโภคมีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการปรับค่าแรงขั้นต่ำส่งผลต่อรายได้ของภาคแรงงาน อีกทั้งการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะมีเงินหมุนเวียนมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลประกาศให้มีวันหยุดยาวถึง 5 วัน คาดกำไรยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 2018 ที่ 24% ด้วยกำไรสุทธิที่ 2.39 หมื่นล้านบาท อนึ่ง CPALL ยังมีโอกาสเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆและยังสามารถขยายสาขาได้ต่อเนื่อง ประเมินมูลค่าโดย DCF ราคาเป้าหมาย 93 บาท แนะนำ "ซื้อ"
ข่าวเด่น