กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET รีบาวด์ขึ้นได้เหนือความคาดหมายปิดบวกถึง 23.38 จุด โดยกลุ่มพลังงานนำตลาดได้ตามคาด โดยหุ้นในกลุ่มปตท. 3 ตัวกระทบ SET ถึงเกือบ 15 จุดจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง ขณะที่กลุ่มธนาคารซึ่งอยู่ในช่วงประกาศกำไร 1Q18 ส่วนใหญ่ปรับตัวลง นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิ 1.6 พันลบ. (และ Net Long ใน Index Futures สูงกว่า 1 หมื่นสัญญา) ส่วนสถาบันในประเทศยังซื้อเร่งขึ้นเป็น 4.6 พันลบ.
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะแกว่งตัว Sideways พักฐานหลังจากที่ปรับตัวขึ้นแรงวานนี้ ขณะที่ความกังวลเรื่อง Bond Yield เริ่มกลับมาอีกครั้งหลังล่าสุดปรับตัวขึ้นเหนือ 2.9% และเข้าใกล้จุดสูงเดิมในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะที่ผลประกอบการกลุ่มธนาคารส่วนใหญ่ออกมาใกล้เคียงคาดทำให้ขาดปัจจัยหนุนและนักลงทุนต่างรอดูผลกระทบจากการฟรีค่าธรรมเนียมใน 2Q18 มากกว่า ขณะที่วันนี้ต้องติดตามการพิจารณาสูตราคาน้ำมันของกบง. เราจึงมองว่าหุ้นที่ยัง Laggard และคาดมีกำไร 1Q18 น่าจะเป็นเป้าในการถูกเก็งกำไรและจะสามารถ Outperform ตลาดได้ในระยะนี้
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีผลประกอบการ 1Q18 แข็งแกร่งโดยเฉพาะตัวที่ Laggard ตลาด
หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BDMS, CPN, ERW, KBANK, SYNEX
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$387ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$210ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลเข้า US$52ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าหลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสและการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> BEM <<
- แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 10 บาท
- แนวโน้มกำไร 1Q18 เติบโตดีทั้ง Q-Q และ Y-Y จากสถิติผู้โดยสารรถไฟฟ้า +6% Y-Y และรถบนทางด่วนเพิ่มทุกเส้นทาง +2% Y-Y บวกกับมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้นจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน
- คาดกำไรปีนี้ +18% Y-Y เป็น 3.7 พันลบ. จากต้นทุนที่ลดลงตามการขยายสัมปทานรถไฟฟ้า และการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน-บางซื่อเต็มปี
- มีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรขายหุ้น XPCL ให้ CKP ราว 240 ลบ. ใน 2Q18 รวมถึงมี Upside จากการเปิดประมูลทางด่วน 2 สาย และรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ซึ่ง BEM มีความได้เปรียบเพราะเป็นส่วนต่อเนื่องจากของเดิมที่มี
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) ที่ประชุมสนช. คว่ำการคัดเลือกบอร์ดกสทช. เพราะคุณสมบัติผู้เข้ารับการสรรหาเกือบ 10 คน ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการถือหุ้นกิจการสื่อ เรามองเป็น Sentiment เชิงลบ เพราะจะทำให้โครงการต่างๆอาจล่าช้า โดยเฉพาะ DTAC ที่ถูกกระทบมากที่สุดหากต้องเลื่อนประมูลคลื่น ตรงข้ามกับ TRUE และ ADVANC ที่ไม่กระทบจากคลื่นในมือที่มีเพียงพอ
(0) SCB รายงานกำไรสุทธิ 1Q18 ที่ 1.13 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 23.5% Q-Q (จากการตั้งสำรองฯที่ลดลง) แต่ลดลง 4.6%Y-Y เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น 21% Y-Y ทั้งจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและลงทุนระบบไอที เงินให้สินเชื่อ +1.4% Q-Q ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าในกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งส่งผล NIM ลดลงมาที่ 3.18% จาก 3.28% ในไตรมาสก่อน คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น NPL ratio อยู่ที่ 2.77% ลดลงจาก 2.84% ในไตรมาสก่อน และ Coverage ratio สูงขึ้นเป็น 141.9% จาก 137.3% คงประมาณการและราคาเหมาะสม 155 บาท แนะนำถือ
(0) TMB รายงานกำไร 1Q18 ที่ 2,280 ลบ. +1% Q-Q และ +8.7% Y-Y ใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาดไว้ รายได้รวมน้อยกว่าที่เราคาด ซึ่งเกิดจากรายได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคาดเพราะสินเชื่อที่มี Low loan yield (สินเชื่อที่อยู่อาศัย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ NIM ลดลง < 3% เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม การควบคุมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่ดีกว่าคาด โดย Cost to income ratio อยู่ที่ 45% เราคงประมาณการกำไรปีนี้ที่ 1 หมื่นลบ. +15.6% Y-Y คงราคาเหมาะสมที่ 3.30 บาท และยังแนะนำซือ ราคาหุ้นที่ร่วงก่อนหน้านี้มาจากความกังวลเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนที่มากไป เพราะ TMB ไม่ได้เก็บอยู่แล้ว
(0) BAY รายงานกำไร 1Q18 ที่ 6.2 พันลบ. +9.4% Q-Q, +10% Y-Y ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ เราประทับใจที่รายได้หลักที่เติบโต 1.8% Q-Q และ 11% Y-Y ซึ่งมาจากการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการเติบโตของสินเชื่อ แต่สังเกตว่า NIM อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 3.76% จาก 3.84% ใน 4Q17 จาก Portfolio mix ที่เป็น Corporate มากขึ้น ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย +2.2%Q-Q, +15.7%Y-Y และควบคุมค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพกว่าที่คาดไว้ กำไร 1Q18 คิดเป็น 25% ของประมาณการกำไรทั้งปีที่ 2.48 หมื่นลบ. (+6.9% Y-Y) เราจึงคงประมาณการเดิมไว้ก่อน และคงราคาเหมาะสมที่ 42 บาท แนะนำถือ
(+) THANI กำไร 1Q18 อยู่ที่ 364 ลบ. +13.6% Q-Q และ +47.9% Y-Y ดีกว่าที่เราและตลาดคาดจากรายได้ดอกเบี้ยรับที่มากกว่าคาด และดอกเบี้ยจ่ายที่ต่ำกว่าคาด รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการขายที่น้อยกว่าที่คาดไว้ เรามีแนวโน้มปรับประมาณการกำไรทั้งปีขึ้น คงคำแนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 9.40 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
17-27 เม.ย.
|
- ไทย: ผลประกอบการ 1Q18 ของกลุ่มแบงก์
|
20 เม.ย.
|
-?ไทย:??กบง. พิจารณาสูตรราคาน้ำมันใหม่
- ญี่ปุ่น: อัตราเงินเฟ้อ (มี.ค.)
|
23 เม.ย.
|
- ไทย: ดุลการค้า (มี.ค.)
|
- (-) ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีอย่าง แอปเปิ้ล หลังตลาดคาดการณ์ว่าความต้องการสมาร์ทโฟนจะเริ่มชะลอตัวลง
- (+) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเล็กน้อยโดยได้รับอานิสงค์จากหุ้นในกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบได้พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
- (-) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงโดยเฉพาะตลาดหุ้นไต้หวัน หลังบริษัท ไต้หวันเซมิคอนดัคเตอร์ เจอแรงเทขายจากความต้องการสมาร์ทโฟนที่คาดว่าจะลดลง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความกังวลในตลาดฟิลิปปินส์จากเงินเฟ้อที่พุ่งแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในอนาคต
- () ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆของโลก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สดใส ทำให้ล่าสุดค่าเงินปรับขึ้นมาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.25-31.30 บาท/ดอลลาร์
- (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. ลดลง 0.18 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 68.29 ดอลลาร์/บาเรลล์ หลังเกิดแรงขายทำกำไรจากการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนหน้า
- ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 4.70 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,348.80 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าและตลาดคลายกังวลในคาบสมุทรเกาหลี
ข่าวเด่น