ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน พักฐานต่อเนื่องหลัง Bond Yield (24/04/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings and Laggard Play

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งอ่อนตัวลงนำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานโดย PTT PTTEP PTTGC ซึ่งกระทบ SET เกือบ 7 จุด ขณะที่กลุ่มธนาคารปรับตัวลงต่อหลังจากที่ผ่านการประกาศกำไร 1Q18 และไร้ปัจจัยบวกใหม่ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นต่อเนื่องอีก 1.8 พันลบ. ขณะที่สถาบันในประเทศพลิกมาขายสุทธิเช่นกัน 1.2 พันลบ. 
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะแกว่งตัว Sideways Down พักฐานต่อเนื่องหลัง Bond Yield สหรัฐฯยังคงขยับขึ้นใกล้ระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 3% สูงสุดในรอบกว่า 4 ปี ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงและกดดัน Fund Flow ให้มีโอกาสไหลออกต่อ นอกจากนี้น่าจะเห็นแรงขายออกมาในหุ้น PTT ที่จะเริ่มเทรดด้วยพาร์ใหม่ เราจึงยังมองว่าหุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 1Q18 แข็งแกร่งและยัง Laggard น่าจะมีแรงเก็งกำไรและสามารถเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในระยะนี้ 
  กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีกำไร 1Q18 แข็งแกร่งและยัง Laggard ตลาด
  หุ้นเด่นเดือน เม.ย. : BDMS, CPN, ERW, KBANK, SYNEX  
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$996ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวัน US$466ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลออก US$59ล้าน ไม่มีประเทศใดที่มีเงินทุนไหลเข้า แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นสะท้อนความกังวลต่อการแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะถัดไป

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> CPALL <<

  • แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 98 บาท
  • แนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q18 ยังทำได้ดีต่อเนื่อง คาด 5,688 ลบ. +3% Q-Q, +19.4% Y-Y แม้คาดผลงาน MAKRO อาจไม่ตื่นเต้น แต่ธุรกิจ 7-11 น่าจะทำได้ดี จาก SSSG ที่คาดเป็นบวก +3.5% Y-Y และเปิดสาขาใหม่ต่อเนื่อง
  • CPALL น่าจะเป็นเพียงไม่กี่บริษัทในกลุ่มค้าปลีก ที่คาดกำไร 1Q18 โตทั้ง Q-Q และ Y-Y ส่วนทั้งปีคาด +23% Y-Y และยังมี Upside ต่อสภาพคล่อง หากลดสัดส่วนถือหุ้น MAKRO ลงอีก ภายหลังปลดล็อกช่วงเวลาห้ามขายหุ้นสิ้นเดือน มิ.ย. นี้


ประเด็นสำคัญวันนี้
  (0) Dollar Index ฟื้นกลับเร็ว จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่เร่งตัวขึ้น กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้อ่อนตัวลงทั้งน้ำมันและทองคำ อีกทั้ง คาดว่าการอ่อนค่าของเงินบาทจะกดดันให้กระแสเงินไหลออกต่อเนื่อง แต่จะเป็นบวกต่อกลุ่มส่งออกในระยะถัดไป ช่วงนี้ยังเน้นลงทุนในกลุ่มที่ผลประกอบการ 1Q18 แข็งแกร่ง เช่น CPALL CENTEL BEM BDMS BH CHG M MTLS และ IT  
  (+) ส่งออกเดือน มี.ค. สูงเป็นประวัติการณ์ US$2.24 หมื่นล้าน +7.1% Y-Y นำโดยสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเช่น น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก แต่สินค้าเกษตรหดตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน -10% Y-Y เพราะราคายางพาราและน้ำตาลที่ทรุดลง ทำให้ส่งออกใน 1Q18 +11.3% Y-Y เป็น US$6.28 หมื่นล้าน หรือ 25% ของเป้าทั้งปีของก.พาณิชย์ที่ +8% และเป้าของธปท.ที่ +7% ในช่วงที่เหลือของปีต้องส่งออกให้ได้เฉลี่ย US$2.12-2.14 หมื่นล้าน/เดือน ซึ่งไม่น่ายากเกินไป ทำให้ GDP 1Q18 น่าจะดีมากและทั้งปีที่ 4.1% เป็นไปได้มาก    
  (+) DTAC กำไรสุทธิ 1Q18 ออกมาดีกว่าคาด โดยอยู่ที่ 1.3 พันลบ. +142.4% Q-Q, +474% Y-Y แต่หากตัดรายการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับสำรองข้อพิพาทกับ CAT ซึ่งทำให้ภาษีจ่ายพลิกเป็นบวก กำไรปกติจะอยู่ที่ 967 ลบ. +71.2% Q-Q, +354.7% Y-Y แรงหนุนหลักมาจากการควบคุมค่าใช้จ่าย แต่รายได้ยังหดตัว อย่างไรก็ตาม การเซ็นสัญญาใช้คลื่น 2300 MHz กับ TOT จะช่วยลดความเสี่ยงระยะยาวได้ระดับหนึ่ง เราปรับกำไรปีนี้ขึ้นเป็น 2 พันลบ. จาก 1.4 พันลบ. ส่งผลให้ราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 55 บาท ปรับคำแนะนำขึ้นเป็นซื้อ  
  (-) SCB เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2018 ลง 6% เป็น 4.1 หมื่นลบ. -4%Y-Y เป็นกำไรที่ชะลอตัวเป็นปีที่ 2 เนื่องจากแนวโน้มค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยอันเกิดจาก Transformation program สูงกว่าคาดการณ์เดิม โดยปีนี้น่าจะเป็นปีที่มี Cost to income ratio สูงสุดในช่วงของโครงการ (2016-2020) ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไร 2Q18 จะชะลอ 3% Q-Q และ 8% Y-Y ทั้งจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงและค่าใช้จ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูง ปรับลดราคาเหมาะสมปี 2018 ลงเป็น 142 บาท คงคำแนะนำ ถือ /Switch
  (+) BEM เราคาดการณ์กำไรสุทธิ 1Q18 โตเด่น +9% Q-Q, +18% Y-Y เป็น 828 ลบ. หนุนจากรายได้รวมที่คาดเพิ่มขึ้นทั้ง Q-Q, Y-Y จากการเติบโตของผู้โดยสารรถไฟฟ้า และปริมาณรถบนทางด่วน บวกกับมาร์จิ้นที่ปรับตัวขึ้นจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ขณะทีแนวโน้ม 2Q18 คาดทำจุดสูงสุดใหม่จากการบันทึกกำไรการขายหุ้น XPCL ให้ CKP ราว 240 ลบ. คงคำแนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 10 บาท
  (+) PLANB คาดกำไร 1Q18 เพิ่ม 37.9% Q-Q, 20.9% Y-Y โดยอัตราใช้เวลาโฆษณาเพิ่ม และคาดกำไร 2Q18 จะโตขึ้นอีก เราคงคาดกำไรทั้งปีโตดีต่อเนื่อง 28% Y-Y จากกำลังซื้อโดยรวมดี และการขยายพื้นที่สื่อมากขึ้นโดยการซื้อหุ้น 19.48% ใน BMN อีกทั้ง ยังมองหาโอกาสลงทุนเพิ่มในต่างประเทศ ขณะที่ราคาหุ้นยัง Laggard และ PEG ที่ 1.2 เท่า ต่ำกว่าของ VGI ที่ 1.9 เท่า คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายปี 7.10 บาท
  (-) FTE เราปรับลดราคาเป้าหมายปี 2018 ลดลงจาก 5.00 บาท เหลือ 4.20 บาท จากการปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2018-2019 ลง 8% และ 15% เหลือ 138 ลบ. (+6% Y-Y) และ 147 ลบ. (+6% Y-Y) ตามยอดขายที่โตชะลอ เพราะฐานที่สูงในปีก่อน ขณะที่ แนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q18 อาจทำได้เพียงทรงตัว Y-Y แต่ยังแนะนำซื้อในฐานะหุ้นปันผลที่จ่ายสูงสม่ำเสมอ 7-8% ต่อปี  

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

24 เม.ย.

สหรัฐฯ: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เม.ย.)

25 เม.ย.

ไทย: SCC ประกาศงบฯ

26 เม.ย.

ไทย: PTTEP ประกาศงบฯ

สหรัฐฯ: ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (มี.ค.)

ยูโรโซน: ประชุม ECB

27 เม.ย.

สหรัฐฯ: 1Q18 GDP (ครั้งที่ 1)

ญี่ปุ่น: ประชุม BOJ

 

  • (0) ตลาดสหรัฐปิดผสมผสาน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีจะช่วยหนุนตลาดหุ้น แต่ก็ถูกบดบังจาก Bond Yield รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ที่ขึ้นมาแตะเกือบ 3% เมื่อคืนนี้
  • (+) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น หลังจากมีแนวโน้มว่าสหรัฐจะผ่อนคลายมาตราคว่ำบาตรต่อรัสเซียลง รวมไปถึงข่าวดีจากดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการของฝรั่งเสศและเยอรมันที่ปรับตัวดีขึ้น
  • (0) ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวผสมผสาน โดยหุ้นในตลาดเกาหลีใต้ถูกกดดันจากตัวเลขคาดการณ์มือถือที่ลดลงและตัวเลขคนว่างงานที่ปรับตัวขึ้นในเดือน ม๊.ค. ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2010
  • () ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจาก Bond Yield 10 ปี เข้าใกล้ 3 % ล่าสุด ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.50-31.60 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.24 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 68.64 ดอลลาร์/บาเรลล์ หลังความตึงเครียดในประเทศเยเมน
  • ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. ลดลง 14.30 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,324.00 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

บันทึกโดย : วันที่ : 24 เม.ย. 2561 เวลา : 09:30:03

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 3:57 am