คำแนะนำ
รอเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,319-1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หรือหากรับความเสี่ยงได้ไม่มากอาจเลือกชะลอการลงทุนเพื่อรอดูการสร้างฐานของราคา
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,315 1,302 1,294
แนวต้าน 1,337 1,346 1,356
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดบริเวณ 1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐกลับลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 3% อย่างต่อเนื่อง หลังจากตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1 ที่ระดับ 2.3% ซึ่งถึงแม้จะสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.0% แต่ก็ถือว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวลงจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามราคาทองคำปรับตัวขึ้นในกรอบจำกัดเนื่องจากทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยถูกลดความน่าสนใจลงเรื่อยๆ ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีที่คลี่คลายไปในทางที่ดีอย่างชัดเจน หลังจากนายคิมและประธานาธิบดีมูน แจ อิน แห่งเกาหลีใต้เห็นพ้องเรื่องการยุติโครงการนิวเคลียร์อย่างสิ้นเชิงในคาบสมุทรเกาหลี สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมี.ค., การใช้จ่ายและรายได้ส่วนบุคคล รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำสามารถยืนเหนือ 1,319-1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้อย่างแข็งแกร่ง จะทำให้ตลาดมีโมเมนตัมเชิงบวกเพิ่มขึ้น และแสดงให้เห็นว่าแรงขายไม่รุนแรงโดยหากราคาทองคำไม่หลุด 1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยังมีโอกาสที่จะเข้าทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,337-1,346 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ถ้าเกิดการอ่อนตัวลงมาอาจเปิดสถานะซื้อหากราคาทองคำไม่หลุด 1,319-1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามลดพอร์ตการลงทุนหากราคาหลุด 1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยรอปิดสถานะทำกำไรหากไม่สามารถยืนเหนือบริเวณแนวต้าน 1,337ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น