กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings and Laggard Play
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET แกว่งตัว Sideways ตลาดทั้งวันและปิดลบเล็กน้อยตามคาดและถือว่าแกร่งกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคที่ลบเฉลี่ยราว 1% (อินโดฯและฟิลิปปินส์ลบ 2.5%) จากผลการประชุม FED ที่อาจเห็นการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นติดต่อกันเป็นวันที่ 8 อีก 3 พันลบ. (และขาย Bond หนักถึง 9.3 พันลบ.) ขณะที่สถาบันในประเทศยังเป็นฝ่ายซื้อต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะยังคงแกว่งตัว Sideways โดยคืนนี้มีปัจจัยสำคัญต้องติดตามคือตัวเลขเศรษฐกิจภาคแรงงานเดือน เม.ย. ของสหรัฐฯ ซึ่งหากสะท้อนว่าตลาดแรงงานตึงตัวกว่าคาด อาจทำให้เกิดความกังวลด้านเงินเฟ้อและโอกาสที่มากขึ้นในการขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในปีนี้ ซึ่งอาจทำให้ตลาดพักฐานระยะสั้น อย่างไรก็ตามเราคาดว่ากรอบการลบของตลาดระยะนี้ยังจำกัดเนื่องกลุ่มพลังงานยังพยุงตลาดได้จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสหรัฐฯคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ในวันที่ 12 พ.ค. นี้
กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดมีกำไร 1Q18 แข็งแกร่งและยัง Laggard ตลาด
หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : BEM, CHG, EA, SC, THANI
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$951ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวัน US$408ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลออก US$96ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคหลังมีความกังวลต่อการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐกลับมาอีกครั้ง
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> SC <<
- แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 4.80 บาท
- คาดกำไรสุทธิ 1Q18 ที่ 240 ลบ. +219% Y-Y แต่ -57% Q-Q ตามฤดูกาล แม้เปิดโครงการใหม่ไม่มาก แต่คาดยอดโอนสูงถึง 2.4 พันลบ. จากสินค้าแนวราบเป็นหลัก
- แนวโน้มกำไรจะเร่งตัวอีกใน 2Q18 จากการโอนคอนโด Super Luxury 2 แห่ง กว่า 9 พันลบ. ใน 2Q-3Q18 และการรุกตลาดแนวราบที่เป็น Mid-to-Low เราคาดกำไรทั้งปีที่ 2 พันลบ. +58% Y-Y
- PE2018 อยู่ที่ 8 เท่า ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตและกลุ่มอสังหาที่ 9-10 เท่า
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) เงินบาทอ่อนค่าเป็นสัปดาห์ที่ 3 จาก Dollar Index ที่ปรับตัวขึ้นตามคาดการณ์เงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นไปพร้อมกัน แต่เมื่อเทียบกับภูมิภาคที่อ่อนค่าเฉลี่ย 2-3% YTD เงินบาทที่ยังแข็งค่า 3% YTD ถือว่า Outperform อยู่มาก ซึ่งเป็นผลจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ทิศทางบาทอ่อนค่าจะเป็นบวกกับกลุ่มส่งออกในระยะถัดไป เช่น เกษตร อาหาร และชิ้นส่วนยานยนต์
(+) กลุ่มการแพทย์ ราคาหุ้นในกลุ่มเริ่มฟื้นกลับหลังจากพักฐานในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเรายังมองเป็นโอกาสซื้อ ทั้งการลงทุนระยะยาว และการเก็งกำไรระยะสั้นในงบ 1Q18 ที่เราคาดว่ากำไรทั้งกลุ่มจะ +12% Q-Q และ 17% Y-Y จากโรคระบาดที่มากและรุนแรงตั้งแต่ต้นปี แนะนำซื้อ BDMS ราคาเป้าหมาย 26 บาท CHG ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท และ EKH ราคาเป้าหมาย 7 บาท
(-) TCAP การประชุมเมื่อวานนี้เราสนใจต่อการปรับขึ้นของ NPL ใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมาติดต่อกัน ผู้บริหารกล่าวว่าบางส่วนเกิดจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกันจึงไม่กังวล อีกส่วนมาจากสินเชื่อที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วไม่สำเร็จ โดยรวมแล้วยังไม่เห็นปัญหาที่มีนัย และควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องสำรองฯเพิ่ม อย่างไรก็ตามเราเห็นว่า TCAP น่าจะผ่านช่วงที่มีกำไรดีที่สุดไปแล้วใน 1Q18 (2Q18 น่าจะชะลอ Q-Q ตามการชะลอตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมและเสียภาษีบางส่วน และ 2H18 จะจ่ายภาษีในอัตราปกติเต็มไตรมาส) เราจึงคงคำแนะนำถือ คงราคาเหมาะสม 55 บาท โดยในกลุ่มนี้ เราชอบ TISCO แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 98 บาท
(-) GLOBAL แนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q18 ไม่สดใส ทั้งที่เป็นช่วง High Season เราคาด 489 ลบ. (+40.1% Q-Q, +1% Y-Y) โดยคาด SSSG จะฟื้นตัวต่อเนื่องราว 6-7% Y-Y ส่วนหนึ่งมาจากฐานต่ำ กอปรกับรายได้ของสาขาใหม่ที่เปิดในปีก่อน แต่ถูกหักล้างด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่แผ่วลงจาก Product Mix และค่าใช้จ่ายน่าจะยังอยู่ในระดับสูง จากการเปิดสาขาใหม่ในไทยและเตรียมเปิดที่กัมพูชา เราเริ่มเห็น Downside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ที่คาด +27% Y-Y และราคาเป้าหมายที่ 19 บาท จึงปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็นถือ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
4 พ.ค.
|
- สหรัฐฯ: ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (เม.ย.)
|
7 พ.ค.
|
- อินโดนีเซีย: 1Q18 GDP
|
8 พ.ค.
|
- จีน: ดุลการค้า (เม.ย.)
|
21 พ.ค.
|
- ไทย: 1Q18 GDP
|
23 พ.ค.
|
- ไทย: ศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติ กม. ลูก เลือกตั้ง ส.ว. และ ส.ส.
|
- (-) ตลาดสหรัฐขยับในกรอบแคบๆ หลังตลาดยังคงกังวลเรื่องสงครามทางการค้าหลังจากจีนยกเลิกการสั่งซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐ แม้ว่าภายหลังการหารือในวันแรก ทางสหรัฐจะออกมาให้ข่าวว่าการเจรจาเป็นไปในเชิงบวกก็ตาม
- (-) ตลาดยุโรปปรับตัวลดลงหลังจากดัชนี PMI ภาคการบริการของอังกฤษออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด
- (-) ตลาดเอเชียเช้านี้ปรับตัวลง โดยประเด็นความกังวลหลักยังคงมาจากทางฝั่งสหรัฐ จากทั้งเรื่องการจะขึ้นดอกเบี้ยของ FED และประเด็นทางการค้า
- () ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.60-31.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
- (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.50 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 68.43 ดอลลาร์/บาเรลล์ เนื่องจากตลาดกลับมากังวลเรื่องการคว่ำบาตรอิหร่านครั้งใหม่ ซึ่งปธ.ทรัมป์จะต้องตัดสินใจก่อนวันที่ 12 พ.ค. นี้
- ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 7.10 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,312.70 ดอลลาร์/ออนซ์
ข่าวเด่น