ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน (+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +5.17, NASDAQ -12.74 (04/05/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +5.17, NASDAQ -12.74, S&P -5.94, FTSE -40.51, CAC -27.56 และ DAX -112.10
ภายใต้การซื้อขายที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยอยู่ระหว่างติดตามการเจรจาด้านการค้าของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ และจีน ซึ่งการประชุมใช้เวลา 2 วัน และจะเสร็จสิ้นในวันนี้ (4/5/61) คาดการเจรจาจะครอบคลุมประเด็นกว้างๆ เกี่ยวกับความไม่พอใจที่สหรัฐฯ มีต่อการดำเนินนโยบายการค้าของจีน ตั้งแต่ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการถ่ายโอนเทคโนโลยี จนถึงการที่รัฐบาลจีนยื่นมือเข้ามาอุดหนุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี
  ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจแข็งแกร่ง (1) ตัวเลขขาดดุลการค้า – มี.ค. ลดลง 15.2% อยู่ที่ 4.9 หมื่นล้านUSD ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่ก.ย.’60 จากยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้น 2.0% สู่ระดับ 2.085 แสนล้านUSD ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นำเข้า ลดลง 1.8% สู่ระดับ 2.575 แสนล้านUSD (2) คำสั่งซื้อภาคโรงงาน – มี.ค. เพิ่มขึ้น 1.6% ดีกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% และ (3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย – เม.ย. อยู่ที่ 54.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน และอยู่ระหว่างรอเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร - เม.ย. คาดเพิ่มขึ้น 192,000 ตำแหน่ง หลังเพิ่มขึ้นเพียง 103,000 ตำแหน่ง เมื่อมี.ค.
  ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ภายใต้ปัจจัยกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งเฟด ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เข้าใกล้เป้าหมายที่ระดับ 2%
   ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$0.50 อยู่ที่ US$68.43 ต่อบาร์เรล ภายใต้คาดการณ์ว่า สหรัฐฯ อาจใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่ออิหร่าน โดยติดตามท่าทีของ ปธน.โดนัดล์ ทรัมป์ ซึ่งมีเวลาถึงวันที่ 12/5/61นี้ ว่าจะถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ชาติมหาอำนาจทำไว้กับอิหร่านหรือไม่? 
  ซึ่งหากมีการประกาศถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้อิหร่านไม่สามารถส่งออกน้ำมันสู่ตลาด และเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น
  และยังได้รับปัจจัยบวกจากรายงานการผลิตน้ำมัน - เม.ย. ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) อยู่ที่ 32 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของโอเปกที่ 32.5 ล้านบาร์เรล/วัน จากการผลิตในเวเนซุเอลาลดลง
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. +US$7.1 อยู่ที่ US$1,312.7 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร และยังได้รับปัจจัยบวกจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่า ทำให้สัญญาทองคำ ซึ่งกำหนดราคาในรูปเงินสหรัฐฯ มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ถือเงินสกุลอื่น
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -3,043 ล้านบาท ยอดสะสม   -83,952 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 4 - 9 พ.ค. 61
4/5/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.
9/5/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.
  (2) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค.
  (3) สต็อกน้ำมัน

ทิศทางตลาด
Sideway? โดยคาดยังคงมีความผันผวนอยู่ ภายใต้ประเด็นต่างประเทศ
  ที่คาด Sentiment ยังเป็นลบ ทั้งจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะความกังวลว่าสหรัฐฯ จะใช้มาตรการควบคุมบริษัทของจีนในการขายอุปกรณ์สื่อสารในสหรัฐ เช่น ZTE และหัวเว่น เป็นต้น หลัง 2 บริษัทดังกล่าวส่งมอบสินค้าให้กับอิหร่าน ซึ่งเป็นการละเมิดการคว่ำบาตร และการส่งสัญญาณชัดเจนของเฟดที่คาดจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในการประชุมเดือนมิถุนายน (12 – 13/6/61) หลังอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายที่ 2.0% พร้อมการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อยู่ในความคาดหมาย ทำให้คาดกลับมาเป็นปัจจัยกดดันภาพรวมตลาดหลังจากนี้จนถึงการประชุมเดือนหน้า
  ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ ภาพรวมยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ โดยอยู่ในช่วงประกาศผลการดำเนินงาน ที่คาดมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่องถึงกลางพ.ค. พร้อมคาดกลุ่มพลังงาน มีแรงเก็งกำไรกลับเข้ามา ภายใต้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันมีโอกาสเพิ่มขึ้น หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่าน คาดชัดเจนในวันที่ 12/5/61 นี้ ขณะที่ PTTEP ยังมีความน่าสนใจเฉพาะตัว จากการเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบงกช-เอราวัณ โดยคาดมีเปิดประมูลช่วงก.ย.’61 และทราบผลประมูลในเดือนธ.ค.’61
  นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม TV Digital เช่น WORK, BEC และ MONO ที่คาดมีแรงเก็งกำไรภายใต้ประเด็นคำสั่ง คสช. ที่จะช่วยกลุ่ม TV Digital โดยการพักชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 3 ปี พร้อมลดค่าเช่าโครงข่าย (Mux) ลง 50% เป็นเวลา 2 ปี และสามารถโอนใบอนุญาตได้ รวมถึงผลประกอบการ – 1Q/61 ที่คาดขึ้น qoq และ yoy
  ส่วนทางด้าน Fund Flow ต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่อง YTD ยอดขายสุทธิสูงเกือบ 84,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังได้รับการชดเชยบ้างจากยอดซื้อสุทธิของสถาบันในประเทศ
  ทางด้านการเมือง โดยเฉพาะจากการยื่นร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ อาจส่งผลต่อ Road Map เลือกตั้งในเดือนก.พ.’ 62
  อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากความคืบหน้าโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอประกาศใช้เป็นกฎหมาย คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน รวมถึงล่าสุด รมว.คมนาคม คาดในเดือนพ.ค. - มิ.ย.นี้ เสนอครม. เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ และงานเดินรถ จะรวมเป็นรูปแบบ PPP และเตรียมจะเสนอ ครม.ได้ประมาณ 3Q/61

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
  (3) กลุ่มสื่อ ได้รับประโยชน์จากรายได้ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นโดดเด่น เช่น MONO
  (4) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW และ SPA เป็นต้น
  (5) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
  (6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.95% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.07 อยู่ที่ 15.90
  หุ้นแนะนำ : PSL


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 04 พ.ค. 2561 เวลา : 10:04:24

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 4:17 am