ราคาน้ำมันดิบพุ่ง หลังอุปทานยังคงตึงตัว ขณะที่สหรัฐฯ ส่อแววคว่ำบาตรอิหร่าน
(+) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังอุปทานน้ำมันดิบโลกยังคงตึงตัว ประกอบกับนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ที่สหรัฐฯ
อาจทำการคว่ำบาตรอิหร่านครั้งใหม่โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันที่ 12 พ.ค. นี้
(+) Daniel Hynes และSoni Kumari นักวิเคราะห์จาก ANZ กล่าวว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจแตะระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ภายในสิ้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากปัญหาทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงอุปทานน้ำมันดิบโลกที่ตึงตัวต่อเนื่อง
(-) ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังณ จุดส่งมอบคุชชิ่งปรับเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Permian ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า
กำลังการขนส่งน้ำมันดิบทางท่อขนส่ง ประกอบกับโรงกลั่นภายในประเทศบางแห่งเผชิญกับปัญหาทางเทคนิค
(-) Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯสำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณวันที่4 พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นราว 9 แท่น สู่ระดับ 834 แท่น
ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2558
(-) Commodity Futures Trading Commission (CFTC)รายงานสถานการณ์การลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขาย NYMEX ที่นิวยอร์ก
และ ICE ที่ลอนดอน ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 พ.ค. 61 พบว่าผู้จัดการกองทุนมีปริมาณการถือครองสัญญาน้ำมันดิบสุทธิ(Net Long position) ลดลงจากสัปดาห์
ก่อน 11,825สัญญา มาอยู่ที่ 444,060 สัญญา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปทานภายในภูมิภาคยัง
คงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากความต้องการใช้จากประเทศจีนที่อ่อนตัวลงในช่วงฤดูห้ามจับ
ปลาประจำปี อย่างไรก็ดี ตลาดได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ตึงตัวในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 67-72เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 72-77เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- จับตาการพิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านโดยสหรัฐฯ ในวันที่ 12 พ.ค. 61 นี้ หลังสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าจะถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่านและนำไปสู่การคว่ำบาตรอิหร่านอีกครั้ง
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการใช้น้ำมันโลกที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งประกอบกับผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังคงเดินหน้าปรับลดลงกำลังการผลิต
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบทรงตัวเหนือระดับต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตในสหรัฐฯ ส่งผลให้จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดิบ 4 พ.ค. 61
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 69.72 1.29
เบรนท์ 74.87 1.25
ดูไบ 70.28 -0.11
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์ 4 พ.ค. 61
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 95 82.07 -0.25
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 85.76 -0.74
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 85.15 -0.47
น้ำมันเตา (3.5% S) 64.51 -0.47
ดัชนีและราคาที่สำคัญ 4 พ.ค. 61
เปลี่ยนแปลง
เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.1958 -0.0029
ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 24,262.51 332.36
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 36.06 28.95 28.68 26.44 20.84 28.29
ข่าวเด่น