คำแนะนำ
หากยังไม่สามารถผ่าน 1,317-1,326 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ อาจใช้วิธีการลดพอร์ตการลงทุนฝั่งซื้อลง และสำหรับนักลงทุนที่เก็งกำไรฝั่งซื้อระยะสั้น ยังคงต้องตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจน
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,302 1,294 1,286
แนวต้าน 1,317 1,326 1,337
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนแปลง ในระหว่างวันราคาทองคำปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,305.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนหลังจากการเปิดเผย JOLTS Job Openings ที่เป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานอยู่ที่ระดับ 6.6 ล้านตำแหน่งในเดือนมี.ค.สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 6.1 ล้านตำแหน่ง ก่อนที่ดอลลาร์จะลดช่วงบวกลงและเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้น หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศว่าสหรัฐจะถอนออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านและจะกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในขั้นสูงสุดกับอิหร่านอีกครั้ง แต่ผลกระทบในเชิงบวกต่อราคาทองคำเกิดขึ้นอย่างจำกัด เนื่องจากนายฮัสซัน รูฮานี ประธานาธิบดีอิหร่าน เคยกล่าวว่าอิหร่านจะยังคงรักษาข้อตกลงนิวเคลียร์ต่อไป ถึงแม้สหรัฐจะประกาศถอนตัวก็ตาม สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI), สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่ง และยังคงต้องติดตามข่าวสารที่เกี่ยวเนื่องกับอิหร่านอย่างใกล้ชิดเพราะประเด็นดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่ความวิตกกังวลต่อประเด็นนี้จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการดำเนินการโต้กลับของอิหร่าน
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำยังไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,317-1,326 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ แสดงว่าแรงขายยังคงแข็งแกร่งอาจทำให้เกิดการอ่อนตัวลง โดยประเมินแนวรับบริเวณที่ 1,302 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากสามารถยืนเหนือโซนแนวรับดังกล่าวได้ก็จะเห็นการดีดตัวขึ้นอีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
การเข้าซื้อขายยังคงเน้นการเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเข้าซื้อเฉพาะเมื่อตลาดปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,302ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ฝั่งซื้อตัดขาดทุน 1,294 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจพิจารณาในโซน 1,317-1,326 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น