Market Summary 15/05/2018
Close
|
1,766.86
|
Volume
|
Bt60,118M
|
Change
|
-6.24
|
P/E
|
17.93
|
%Change
|
-0.35%
|
P/BV
|
2.02
|
หุ้นแนะนำพิเศษ
CPF Analyst Meeting : กำไรผ่านจุดต่ำสุดแล้ว (ราคาปิด 25 ถือBloomberg Consensus 28.60)
- 1Q61 มียอดขายรวม 1.2 แสนลบ. +1%YoY (เติบโต 7-8% หากไม่รวมผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า) และมีกำไรสุทธิ 3,049 ลบ. -23%YoY โดยมีGPM ลดเหลือ 9.4% จาก 12% ในปี 60 และ EBITDA margin ลดเหลือ 4.6% จาก 6.5% ในปี 60 จากผลกระทบของราคาเนื้อหมูในไทยและกัมพูชาที่ลดลงจากปัญหา supply ล้นตลาด
- โอกาสในการพลิกฟื้นในอนาคตมาจากการที่จีนยอมให้ส่งไก่เข้าจีนได้ ขณะที่ไก่ไทยมีมาตรฐานสูงเป็นที่ยอมรับและมีประวัติส่งออกไปตลาดยุโรป ช่วยจุดประกายให้ธุรกิจไก่ฟื้นเร็วกว่าคาด Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 61 ราว 9.5 พันลบ. -38%YoY
- ความเห็น คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดแล้วและจะทยอยปรับดีขึ้นใน 2Q61 และงวดครึ่งปีหลัง โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตาคือ การฟื้นตัวของราคาหมูในไทย (ราคาหมูในเวียดนามเริ่มดีขึ้นแล้ว) ขณะที่กลยุทธ์การขยายตลาดตปท.และทำธุรกิจแบบครบวงจร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขยายธุรกิจกุ้งในประเทศบราซิล ราคาหุ้นล่าสุดซื้อขายที่ PER 13 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 20 เท่า แนะนำ ถือ
Market View : เก็งกำไรในกรอบ
หุ้นแนะนำพิเศษ : CPF
หุ้นมีข่าว : SSP SPA XO CK SYNTEC TRC PACE
Technical Insight : BANPU TKN
ภาวะตลาดหุ้นวานนี้ อ่อนตัวผันผวนหลังราคาน้ำมันดิบพักตัว ท่ามกลางการประท้วงต่อการเปิดสถานทูตสหรัฐฯในเยรูซาเลม กอปรกับเงินบาทกลับทิศทางอ่อนค่าอย่างรุนแรง สะท้อน Fund Flow กลับมาไหลออกอีกครั้ง โดยรวมกลุ่ม COMM ENERG FIN BANK กดดันหลัก ส่วนหุ้นกลุ่ม HELTH ที่รายงานผลกำไรโดดเด่น (BDMS BCH RAM) เป็นกลุ่มหนุนชดเชยบางส่วน ส่งผลให้ SET Index ปิดที่ 1,766.86 จุด (-6.24 จุด) Volume 6.01 หมื่นลบ. ทั้งนี้เป็น Foreign Net -1,332.62 ลบ. TFEX Net -1,273 สัญญา ตราสารหนี้ +9,409.06ลบ.
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
+น้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง
+สหรัฐเปิดเผยตัวเลขศก.แข็งแกร่ง ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.3% ดัชนีภาคการผลิตสาขาเอ็มไพร์มดีดตัวสู่ระดับ 20.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐเพิ่มขึ้น 2 จุด สู่ระดับ 70
+เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัว 0.4% ในไตรมาสแรกสอดคล้องกับตัวเลขที่เปิดเผยเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
-ดาวโจนส์ปิดร่วงลงโดยได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี รวมทั้งกระแสคาดการณ์เฟดอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้
-สหรัฐคว่ำบาตรผู้ว่าการธนาคารกลางอิหร่าน ฐานสนับสนุนการเงินให้กลุ่มก่อการร้าย
+/- Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD ขาย 9.43 หมื่นล้านบาท เงินบาทอยู่ที่ 32.13 บาท/USD
**ประชุม กนง. ในวันนี้ (คาดคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5%)
ภาวะตลาดหุ้นไทยได้ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น โดยมีปัจจัยลบจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับลงจากความกังวลว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ และ fund flow ผันผวน คาด SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1,752-1,774 จุด
กลยุทธ์การลงทุน เก็งกำไรกลุ่มที่มีปัจจัยสนับสนุน
- JUBILE ATP30 AGE XO SSP หุ้น MAI คาดผลประกอบการปี 61 เติบโต
- BANPU ราคาถ่านหินปรับตัวขึ้นสู่ 104.25$/Ton +11.6% ในช่วง 15 วัน
- หุ้นเข้า MSCI Global Standard Index – LH หุ้นที่ถูกถอดออกจาก MSCI Global Standard Index - KCE SCC หุ้นเข้า MSCI Small Cap Index - DDD, KCE, MONO, PRM, THG, TPIPL หุ้นออกจาก MSCI Small Cap Index - BIG, EASTW, FSMART, GL, KTC, LHFG, MALEE, SAMART, TSE
- หุ้น EEC Play ได้แก่ WHA AMATA EASTW ATP30 QH ORI
- หุ้นกำไร 1Q61 (สิ้นสุด มี.ค. 61) โดดเด่น NWR (พลิกกำไร 6 เท่าตัว) STANLY (+67.6%) UP (+1,967%) SPALI (+26.7%) SKY (+8,900%) TNPC (+1,024%) CEN (พลิกกำไร 13 เท่าตัว)
หุ้นมีข่าว
- SSP (ราคาปิด 7.95 ซื้อ ราคาเหมาะสม 10.5 บาท) รายงานกำไรสุทธิ 1Q61 ที่ 106.6 ลบ. เพิ่มขึ้น 4.2 %YoY เนื่องจากบริษัทรับรู้รายได้โครงการฮิดากะ และโครงการโซลาร์รูปท๊อป 2 โครงการ (SNNP1 และ SNNP2) ในช่วงเดือนมี.ค. 61 และบริษัทมีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของบริษัทประมาณ 715 ลบ. ทำให้ค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือ 26.5 ลบ. -30.6 %YoY โดยบริษัทมีแผนปรับโครงสร้างเงินกู้เพื่อให้การบันทึกผลกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จะไม่บันทึกผ่านงบกำไรขาดทุนของบริษัท โดยเริ่มตั้งแต่ 1Q61 เป็นต้นไป
- ความเห็น : การปรับโครงสร้างทางการเงินจะช่วยให้งบกำไร/ขาดทุนของบริษัทสะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงออกมาได้ โดยกำไรสุทธิ 1Q61 คิดเป็น 23% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 61 ที่ราว 464 ลบ.
- +36 %YoY เติบโตจากโครงการฮิดากะที่จะเริ่มรับรู้รายได้แบบเต็มไตรมาส และโครงการยามากะที่คาดว่าจะเปิดได้ตามแผนที่วางไว้
- SPA (ราคาปิด 18.1 ถือ ราคาเหมาะสม 19.2 บาท) รายงานกำไรสุทธิ 1Q61 ที่ 56 ลบ. ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ที่ 59 ลบ. จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากสาขาเดิมและสาขาใหม่ จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนถึง 30 %YoY โดยกำไรสุทธิ 1Q61 คิดเป็น 25 % ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 61 ที่ราว 227 ลบ. +30 %YoY อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเรื่องการเปิดแฟรนไชส์ในต่างประเทศที่ต้องจับตา หากประสบความสำเร็จจะสร้างการเติบโตใหม่ให้กับบริษัท
- XO (อยู่ระหว่างปรับเพิ่มประมาณการ) รายงานกำไร 1Q61 ที่ 46 ล้านบาท +218%YoY โดยปัจจัยที่หนุนกำไรมาจากต้นทุนขายที่ปรับตัวลงจากราคาน้ำมันตาลที่ลดลง ต้นทุนค่าพนักงานในการผลิตซ้ำซ้อนระหว่างโรงงานเก่าและโรงงานใหม่ลดลง และมีการกลับรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้า นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารปรับตัวลงจากค่าใช้จ่ายการตลาดที่ลดลงและค่าใช้จ่ายพนักงานโรงงานใหม่ลดลงหลังผลิตได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- CK รายงานกำไร 1Q61 ที่ 301 ล้านบาท -1%YoY โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้ปรับตัวลง 8%YoY สู่ 7.39 พันล้านบาทเนื่องจากโครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีเข้าสู่ช่วงปลายโครงการ แต่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้น 0.2% สู่ 8% และต้นทุนทางการเงินปรับตัวลงหลังมีการชำระคืนเงินกู้และอัตราดกเบี้ยเฉลี่ยปรับตัวลง
- SYNTEC รายงานกำไร 1Q61 ที่ 147 ล้านบาท -44%YoY เนื่องจากรายได้จากการก่อสร้างที่ปรับตัวลง 21% สู่ 1.5 พันล้านบาทเนื่องจากงานในมือเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นก่อสร้างหลายโครงการ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารยังปรับตัวเพิ่มขึ้นกดดันกำไรสุทธิเพิ่มเติม
- TRC อนุมัติให้ 2 บ.ย่อย ลงทุนหุ้นเพิ่มทุนอาเซียนโปแตชชัยภูมิ วงเงินรวม 3.2 พันลบ. และรายงานกำไร 1Q61 ที่ 9 ล้านบาท +122%YoY โดยรายได้ปรับตัวลง 51%YoY สู่ 464 ล้านบาทแต่กำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้นสู่ 25% เนื่องจากปรับประมาณการต้นทุนในช่วงปลายโครงกา ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหาปรับตัวลง 32%YoY เนื่องจากปีก่อนมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์
- ประเด็นบวก TPCH ครม.ไฟเขียวโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ 3 จ.ภาคใต้เปิดทางเอกชน-ท้องถิ่นร่วมทุน 60% และกฟภ. ถือหุ้น 40% (ที่มาInfoQuest)
- + BANPU ผู้บริหารคาดกำลังการผลิตถ่านหิน Q2/2561 ในอินโดนีเซียเริ่มดีขึ้น ขณะที่ความต้องการถ่านหินในจีนยังทรงตัวต่อ ประกอบกับราคาถ่านหินในตลาดโลกยังยืนในระดับสูง หนุนรายได้แกร่ง (ที่มาทันหุ้น)
- - PACE รายงานขาดทุนในช่วง 1Q61 เท่ากับ 4,087 ล้านบาทเพิ่มจากขาดทุน 576 ล้านบาทใน 1Q60 เนื่องจากรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ ลดลง 69% จากการโอนกรรมสิทธิ์ห้องพักในโครงการมหานครเพียง 6 ห้อง (1Q60 โอน 21 ห้อง) และบ้านพักตากอากาศโครงการมหาสมุทร 1 หลัง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มลดลง 10% รวมถึงรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า “ดีน แอนด์ เดลูก้า” จำนวน 58 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 15 ล้านบาท ด้านภาระหนี้สินยังอยู่ในระดับสูงโดยมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 8.2 เท่า ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 8.9 เท่าในปี 60 ทั้งนี้ผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบกำไรขาดทุนในการพิจารณาผลขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนและการเข้าทำรายการขายสินทรัพย์ของเงินลงทุนของบริษัทย่อยทั้งสองแห่ง
- ความเห็น การโอนโครงการอสังหาฯทำได้ต่ำกว่าคาดมาก ทั้งนี้ยังต้องติดตามความคืบหน้าในการโอนในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ และสภาพคล่องในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยมีกำหนดเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์เช้าวันนี้ซึ่งจะรายงานให้ทราบต่อไป
ข่าวเด่น