ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -54.95, NASDAQ -15.82, S&P -2.33, FTSE +53.77, CAC +54.38 และ DAX +118.28 ภายใต้ปัจจัยกดดัน (1) ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินเพิ่มขึ้นตาม โดยล่าสุดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการจำนองของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี (2) การปรับลดลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และ (3) ความกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังล่าสุดการเจรจายังไม่มีสัญญาณบวก
ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (-) ผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานล่าสุด เพิ่มขึ้น 11,000 ราย อยู่ที่ 222,000 ราย สูงกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 215,000 ราย (+) แดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) – เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.4% อยู่ที่ 109.4 โดยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับที่คาด หลังเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อมี.ค.
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้ปัจจัยบวกจากหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ เพิ่มขึ้นแตะระดับ 80USD เป็นครั้งแรกนับแต่พ.ย.’ 57 และอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์การเมืองในอิตาลี หลังพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ของอิตาลี เตรียมยื่นแผนการต่างๆ ของรัฐบาลผสม ต่อประธานาธิบดีอิตาลีในวันนี้
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. ทรงตัวที่ US$71.49 ต่อบาร์เรล ยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะประกาศคว่ำบาตรอุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่าน หลังสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งอิหร่านได้ลงนามร่วมกับกลุ่มประเทศ P5+1 ได้แก่ จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐ และเยอรมนี เมื่อปี’58
พร้อมคาดว่า สหรัฐจะประกาศคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันของอิหร่านจำนวน 200,000 - 1,000,000 บาร์เรล/วัน
ขณะที่กลุ่มโอเปก ประชุม 22/6/61 เพื่อทบทวนนโยบายการผลิตน้ำมัน หลังขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน จนถึงสิ้นปี’61 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน มิ.ย. -US$2.1 อยู่ที่ US$1,289.4 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งจากเงินสหรัฐฯ แข็งค่า ทำให้ความน่าสนใจของสัญญาทองคำลดลง โดยมีราคาสูงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,272 ล้านบาท ยอดสะสม -93,471 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 18 - 24 พ.ค. 61
18/5/61 ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
21/5/61 ไทย : คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลง GDP - Q1/61 คาดขยายตัว 4.2%
สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนเม.ย.
22/5/61 ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
23/5/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้น - พ.ค.
(2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้น - พ.ค.
(3) ยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย.
(4) สต็อกน้ำมัน
(5) เฟดเปิดเผยรายงานการประชุม เมื่อวันที่ 1 – 2/5/61
24/5/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ดัชนีราคาบ้านเดือนมี.ค.
(3) ยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย.
ทิศทางตลาด
คาดยังคงมีความผันผวน? มีโอกาสเคลื่อนไหวทั้งบวก/ลบ ตามตลาดต่างประเทศที่ไร้ทิศทาง ภายใต้ปัจจัยเดิมจากต่างประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอนและคาดกดดันภาพรวมตลาด (1) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอยู่ในระดับสูงสุดรอบ 7 ปี ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนเงินกู้ยืมเพิ่มขึ้นตาม และคาดกดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น นอกจากนี้คาดการณ์ว่าเฟดอาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากคาดหมายก่อนหน้า 3 ครั้ง เป็น 4 ครั้ง ซึ่งเฟดประชุมครั้งต่อไป 12 – 13/6/61 คาดสร้างความผันผวนจนถึงวันประชุม อย่างไรก็ตามคาดในครั้งนี้มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% และ (2) สถานการณ์ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี รวมถึงกรณีข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ยังไม่มีความคืบหน้า
ขณะที่ราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูง คาดยังส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยคาดในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับปัจจัยหนุนจากความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน จะมีการขยายระยะเวลาปรับลดการผลิตจากเดิมครบกำหนดปลายปีนี้ โดยกลุ่มโอเปกจะมีการประชุม 22/6/61
ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ แนะติดตาม (1) Fund Flow หลังมีความผันผวน แรงซื้อขายสุทธิสลับกันไป อย่างไรก็ตาม YTD ยังเป็นยอดขายสุทธิสะสมสูงกว่า 93,000 ล้านบาท พร้อมจับตาเงินบาท หากมีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่า คาดเป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงว่า Fund Flow ไหลออกและ (2) ประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะจากการยื่นร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งนัดชี้ขาด ในวันที่ 23/5/61 นี้ หากผลการลงมติฯ ออกมาว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ คาดการเลือกตั้งเกิดขึ้นในเดือนก.พ.’ 62 ตาม Road Map ซึ่งส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนจากความชัดเจนในการเลือกตั้ง แนะจับตาหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายของต่างชาติ
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันประกาศใช้เป็นกฎหมาย (พรบ.เขตพัฒนาพิเศษเศรษฐกิจ พ.ศ.2561) คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน รวมถึงล่าสุด รมว.คมนาคม คาดในเดือนพ.ค. - มิ.ย.นี้ เสนอครม. เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ และงานเดินรถ จะรวมเป็นรูปแบบ PPP และเตรียมจะเสนอ ครม.ได้ประมาณ 3Q/61
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
(3) กลุ่มสื่อ ได้รับประโยชน์จากรายได้ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นโดดเด่น เช่น MONO
(4) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW และ SPA เป็นต้น
(5) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
(6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.01 อยู่ที่ 3.11% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.01 อยู่ที่ 13.43
หุ้นแนะนำ : AOT
ข่าวเด่น