คำแนะนำ
ซื้อในบริเวณ 1,292 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ทั้งนี้ควรพิจารณาการแกว่งตัวของค่าเงินบาท และปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง โดยนักลงทุนที่มีสถานะจำนวนมากเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยง
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,292 1,280 1,271
แนวต้าน 1,307 1,315 1,325
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 2.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐส่งสัญญาณเดินหน้าจัดการประชุมสุดยอดระหว่างตัวเขาและนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือในวันที่ 12 มิ.ย.ที่สิงคโปร์ตามกำหนดการเดิมที่วางไว้ ขณะที่ล่าสุดทีมเจ้าหน้าที่ของสหรัฐได้เดินทางถึงเกาหลีเหนือเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมดังกล่าวแล้ว ประเด็นดังกล่าวหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่า พร้อมกับกระตุ้นแรงขายสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ อย่างไรก็ตามราคาทองคำในวันศุกร์ยังคงสามารถพยุงตัวและปิดตลาดเหนือระดับ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากการปรับตัวลดลงของดัชนีดาวโจนส์นำโดยการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมไปถึงการเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐที่ดิ่งลงเกินคาด ก่อนที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำในวันศุกร์ -3.54 ตัน สำหรับวันนี้ปริมาณการซื้อขายอาจเบาบางกว่าปกติเนื่องจากตลาดเงิน ตลาดทุนรวมถึงตลาดทองคำสหรัฐจะปิดทำการเนื่องในวัน Memorial Day
ปัจจัยทางเทคนิค
ราคาทองคำอาจแกว่งตัวในกรอบเนื่องจากปริมาณการซื้ออาจเบาบาง แต่หากการอ่อนตัวลงค่อนข้างจำกัดแสดงถึงแรงเข้าซื้อในระยะสั้นยังคงแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ทำให้ประเมินแนวรับระยะสั้นนั้นอยู่ในบริเวณ 1,292 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาไม่หลุดยังคงมีโอกาสที่ราคาจะทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,307-1,315 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
พิจารณาบริเวณ 1,292 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากยืนได้ เปิดสถานะซื้อ แต่หากหลุดลงมาการเปิดสถานะซื้อจำเป็นต้องชะลอออกไปยังบริเวณแนวรับโซน 1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น