ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน มีโอกาสฟื้นตัว ตามตลาดต่างประเทศ(31/05/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +306.33, NASDAQ +65.86, S&P +34.15, FTSE +56.93, CAC -10.71 และ DAX +117.25
หลังสถานการณ์การเมืองในอิตาลีเริ่มส่งสัญญาณบวก 2 พรรคการเมืองใหญ่ (พรรค 5-Star Movement (M5S) และพรรค League) แสดงความตั้งใจจัดตั้งรัฐบาลผสม พร้อมเรียกร้องให้ปลดนายเปาโล ซาโวนา ออกจากรายชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เนื่องจาก
นายซาโวนามีแนวคิดที่จะนำอิตาลีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU)
  รวมถึงความสำเร็จในการออกพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอิตาลี อายุ 5 ปี และ 10 ปี วงเงินรวม 5.57 พันล้านยูโร หรือประมาณ 6.49 พันล้านUSD ซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของรัฐบาลให้กับนักลงทุน
นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 2% จากคาดการณ์ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้
  ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (1) ประมาณการครั้งที่ 2 – 1Q/61 ขยายตัว 2.2% ต่ำกว่าประมาณการครั้งที่ 1 และที่คาดว่าจะขยายตัว 2.3% และ (2) การจ้างงานของภาคเอกชน – พ.ค. เพิ่มขึ้น 178,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 190,000 ตำแหน่ง และ ADP ปรับลดตัวเลขการจ้างงาน - เม.ย. สู่ 163,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่ 204,000 ตำแหน่ง
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. +US$1.48 อยู่ที่ US$68.21 ต่อบาร์เรล หลังมีการเปิดเผยว่า ซาอุดิอาระเบีย กลุ่มโอเปก และประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้ 
  ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันอาจขยายเวลาข้อตกลงดังกล่าวออกไปอีก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำให้ตลาดน้ำมันอยู่ในภาวะสมดุล อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นต้องเพิ่มการผลิต จะปรับเพิ่มอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป
  โดยโอเปกและผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปก จะทบทวนนโยบายการผลิตน้ำมันในการประชุมที่กรุงเวียนนาในวันที่ 22/6/61 จากก่อนหน้านี้ กลุ่มโอเปก และประเทศนอกกลุ่มฯ นำโดยรัสเซีย มีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน ถึงสิ้นปีนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$2.4 อยู่ที่ US$1,306.5 ต่อออนซ์ หลังได้รับปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจของสัญญาทองคำ ทำให้มีราคาลดลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -4,384 ล้านบาท ยอดสะสม -123,562 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
  (+) สนง.เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) - เม.ย. เพิ่มขึ้น 4.0%yoy ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ทำให้ 4M/61 ขยายตัว 4.1% จากอุตฯ น้ำตาลทราย รถยนต์และเครื่องยนต์ เม็ดพลาสติก Hard Disk Drive และน้ำมันปิโตรเลียม

ประเด็นที่ต้องติดตาม 31 พ.ค. – 1 มิ.ย. 61
31/5/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนเม.ย.
  (2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  (3) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) - เม.ย.
  (4) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) - เม.ย.

1/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.
  (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.
  (3) ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค
  (4) ยอดขายรถยนต์เดือนพ.ค.

ทิศทางตลาด
  มีโอกาสฟื้นตัว? ตามตลาดต่างประเทศ หลังปัจจัยที่กดดันก่อนหน้ากลับมาเป็น Sentiment บวก ทั้งสถานการณ์การเมืองในอิตาลีที่ส่งสัญญาณบวกจากความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐบาลผสม รวมถึงความสำเร็จในการออกพันธบัตรระยะยาว ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่นต่อฐานะการเงินของอิตาลี นอกจากนี้คาดกลุ่มพลังงาน กลับมาได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น 
  อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มขึ้นอาจอยู่ในกรอบจำกัด โดยคาดยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยในวันที่ 15/6/61 สหรัฐฯ จะเปิดเผยรายชื่อสินค้าจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% วงเงิน 50,000 ล้านUSD และวันที่ 30/6/61 ประกาศข้อจำกัดการลงทุน และควบคุมการส่งออกต่อผู้นำภาคธุรกิจและองค์กรของจีน ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถือครองเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรม 
  รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ คาดยังถูกกดดันจาก  ประเด็นก่อนหน้าที่สหรัฐฯ จะมีการประกาศเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ในอัตราที่สูงถึง 25%
  ขณะที่ยังแนะติดตามการประชุมเฟด 12 – 13/6/61 คาดเป็นประเด็นที่สร้างความผันผวนจนถึงวันประชุม คาดในครั้งนี้มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%
  ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังถูกกดดันจาก Fund Flow ต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมสูงกว่า 123,000 ล้านบาท พร้อมจับตาเงินบาท หากมีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่า คาดเป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงว่า Fund Flow ไหลออก 
ส่วนประเด็นทางการเมือง คาดเป็นสัญญาณในทางบวกมากขึ้น หลังศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติทั้งร่าง พรบ.ที่มาของ สว. และการเลือกตั้ง สส. ว่าไม่ขัดกับ รธน. คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุน โดยเฉพาะหลังมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน
  ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันประกาศใช้เป็นกฎหมาย (พรบ.เขตพัฒนาพิเศษเศรษฐกิจ พ.ศ.2561) คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของ
  นักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดกำหนดเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost  อายุโครงการ 50 ปี กำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 คาดลงนามสัญญาต้นปี’62

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
  (3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW เป็นต้น
  (4) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
  (5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.07 อยู่ที่ 2.84% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -2.08 อยู่ที่ 14.94
  หุ้นแนะนำ : KTB


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 พ.ค. 2561 เวลา : 09:46:29

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 2:48 am