คำแนะนำ
อาจรอเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,282-1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หรือหากรับความเสี่ยงได้ไม่มากอาจเลือกชะลอการเข้าซื้อเพิ่มหากถือครองทองคำอยู่แล้ว
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,280 1,271 1,263
แนวต้าน 1,300 1,307 1,315
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดในรอบ 6 เดือนถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งดัชนี PMI ภาคบริการจากมาร์กิตและISM รวมไปถึงตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOLTS Job Openings)รายเดือน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าคาดก็ตาม ประกอบกับราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ยังคงเคลื่อนไหวไม่ไกลจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. หลังสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป(ECB)คาดว่าในการประชุมวันที่ 14 มิ.ย.นี้ ECB อาจมีการอภิปรายกันเพื่อหาข้อสรุปและอาจจะประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ ECB จะยุติมาตรการ QE นอกจากนี้สกุลเงินยูโรยังได้ปัจจัยหนุนเพิ่มจากการที่นายจูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลีออกมายืนยันว่า รัฐบาลอิตาลีไม่มีแผนที่จะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป(EU)อีกด้วย ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง -0.29 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วย, ประสิทธิภาพต้นทุนแรงงานต่อหน่วยและดุลการค้าของสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
หากทองคำยังคงพยายามขึ้นไปทดสอบและยืนเหนือโซน 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากสามารถยืนเหนือบริเวณดังกล่าวได้ มีแนวโน้มขึ้นทดสอบแนวต้านถัดไป แต่ถ้าไม่สามารถปรับขึ้นได้ จะเกิดแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยแนวรับระยะสั้นจะอยู่ที่ 1,282-1,280 ขณะที่แนวต้านสำคัญของวันจะอยู่บริเวณ 1,307 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
หากถือสถานะซื้ออยู่อาจแบ่งปิดสถานะทำกำไรในบริเวณ 1,300-1,307 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือถ้าเกิดการอ่อนตัวลงมาอาจเปิดสถานะซื้อหากราคาทองคำไม่หลุด 1,282-1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามสถานะซื้อลดพอร์ตการลงทุนหากราคาหลุด 1,280 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ข่าวเด่น