|
|
|
|
|
|
จิตวิทยาเป็นบวกมากขึ้น กระตุ้นให้ Window dressing เริ่มเร็ว
ประธานาธิปดีทรัมป์ เรียกร้องให้โอเปกปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบขึ้นอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เพื่อลดความร้อนแรงของราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วในช่วงที่ผ่านมา เรามองคำเรียกร้องดังกล่าวมีผลกระทบจำกัดต่อตลาดหลังราคาน้ำมันดิบร่วงลงแรงแต่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว โดยประเมินปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางน้ำมันยังคงอยู่ที่ผลการหารือเรื่องทบทวนกำลังการผลิต ในการประชุมโอเปกวันที่ 22 มิ.ย. ขณะที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯยังคงมีแนวโน้มผันผวนจากความไม่แน่นอนของผลการประชุม G7 เกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าในวันศุกร์นี้ รวมถึงการประชุมนโยบายการเงินเฟดในสัปดาห์หน้า
ตลาดหุ้นไทยเริ่มมีโมเมนตัมที่เป็นบวกมากขึ้น หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำสั่ง คสช.53/60 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มความเชื่อมั่นต่อกำหนดการเลือกตั้งไตรมาส 1/62 ขณะที่ปัจจัยทางเทคนิคเป็นบวกมากขึ้น หลังดัชนีฟื้นตัวขึ้นปิดเหนือ 1730 จุด เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ซึ่งปราประเมินจะยิ่งเป็นปัจจัยหนุนการทำ window dressing กลางปี และการฟื้นตัวของหุ้นที่ปรับลดลงมามาก โดยรวมเรายังแนะนำเลือกซื้อรายตัวในกลุ่มพลังงานและโภคภัณฑ์ PTT, BANPU, IRPC, SCC, EA และธนาคาร BBL, KTB, KBANK (ทั้ง 2 กลุ่มยังคงมี valuation โดยเปรียบเทียบที่ต่ำ) ขณะที่อาจเลือกเก็งกำไรหุ้นที่เกี่ยวกับการลงทุน ทั้ง STEC, CK, AMATA, WHA สำหรับค้าปลีกเราชอบ ROBINS, CPALL โดยมองราคาหุ้นที่ลดลงช่วงก่อนหน้า สะท้อนความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค.61 ที่ลดลงทุกรายการเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ไปแล้ว
Investment Theme เลือกเก็งกำไรรายตัวในหุ้นพลังงาน และที่เป็นป้าหมาย Window dressing // กลุ่มพลังงาน top pick 3 อันดับ 1) PTT 2) IVL 3) BANPU // กลุ่มธนาคาร ชอบได้แก่ BBL, KTB, SCB // หุ้นกลุ่มไฟฟ้า BCPG, BGRIM, GULF*, EA // ผลการดำเนินงานผ่านจุดแย่สุด BANPU, BPP*, SAPPE, GUNKUL*, MONO*
ภาพรวมกลยุทธ์: เก็งกำไรการฟื้นตัวในกรอบ 1700-1750 หากเกิดการถอย (pull back) ไม่ควรหลุด 1725 จุด // หุ้นแนะนำวันนี้ BANPU, IRPC / เก็งกำไร EA* (เป้า 45 ตัดขาดทุน 37.00), AAV* (เป้า 6.00 ตัดขาดทุน 5.50)
แนวรับ 1723-1730 / แนวต้าน : 1745 จุด สัดส่วน : เงินสด 30% : พอร์ตหุ้น 70%
ประเด็นการลงทุน
เวิลด์แบงก์คงระดับคาดการณ์เศรษฐกิจโลก – เวิลด์แบงก์คงระดับคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าที่ระดับ 3.1% และ 3% ตามลำดับ พร้อมเตือนเศณษฐกิจโลกอาจเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบของนโยบายกีดกันทางการค้าที่หลายประเทศกำลังนำมาใช้ในขณะนี้
กกร.คาดเศรษฐกิจไทยปี 61 โตไม่ต่ำกว่า 4% – กกร.คาดเศรษฐกิจไทยปี 61 โตไม่ต่ำกว่า 4% หลังไตรมาสแรก ปี 61 โตที่ 4.8% พร้อมคาดพิจารณาปรับเพิ่มประมาณการจีดีพีปีนี้ขึ้นสู่กรอบบนที่ประมาณ 4.5% อย่างไรก็ตามทาง กกร.แสดงความกังวลต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นช้าและค่าครองชีพที่อยู่ในระดับต่ำจากผลของราคาสินค้าเกษตรที่ชะลอตัวและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคชะลอตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน – ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. อยู่ที่ 80.1 ปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ 80.9 และเป็นการปรับลดลงทุกรายการเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เหตุจากความกังวลเศรษฐกิจฟื้นช้าและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สรท.คาดส่งออกไทยปีนี้โต 8% –สรท.เผยตัวเลขส่งออกไทยเดือน เม.ย. ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ระดับ 12.3%yoy นำเข้าขยายตัว 20.4%yoy โดยการส่งออกไทยโตสูงสุดเป็นลำดับที่ 2 ของอาเซียน พร้อมคาดมูลค่าส่งออกไทยปี 61 โต 8%yoy
ประเด็นติดตาม: 12 มิ.ย. – การหารือทรัมป์-คิม จอง อึน / 13 มิ.ย. – ประชุมเฟด / 22 มิ.ย. – ประชุมโอเปค / 22 มิ.ย. – TH ศาลฯพิจารณารับคำฟ้องการยึดอำนาจของคสช.
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ) |
บันทึกโดย : วันที่ :
06 มิ.ย. 2561 เวลา : 09:40:38
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น