ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +5.78, NASDAQ +14.42, S&P +2.97, FTSE +56.36, CAC +23.69 และ DAX +76.36
โดยตลาดฯ ไม่ตอบรับต่อประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการประชุมผู้นำกลุ่ม G7 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งการประชุมครั้งนี้ สหรัฐฯ ถูกชาติสมาชิก วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียม ขณะที่ปธน.ทรัมป์ ตอบโต้ด้วยการไม่รับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุมผู้นำกลุ่ม G7
และยังอยู่ระหว่างติดตาม (1) การประชุมสุดยอดระหว่าง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ และนาย คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ วันนี้ (12/6/61) ว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือได้หรือไม่ (2) การประชุมเฟด 12 – 13/6/61 ซึ่งคาดเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ และ (3) การประชุมธนาคารกลางยุโรป - ECB (14/6/61) คาด ECB อาจส่งสัญญาณปรับลดวงเงิน QE จากก่อนหน้า มีมติซื้อพันธบัตรเดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร ถึงก.ย.’61 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน และคาด ECB จะยุติมาตรการซื้อพันธบัตรสิ้นปีนี้
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. +US$0.36 อยู่ที่ US$66.10 ต่อบาร์เรล ภายใต้คาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกยังไม่พิจารณาปรับเพิ่มเพดานการผลิต ในการประชุมเดือนนี้ ซึ่งจัดประชุมในวันที่ 22/6/61 ซึ่งก่อนหน้าคาดมีการทบทวนนโยบายการผลิตน้ำมัน หลังปีที่ผ่านมา มีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วันถึงสิ้นปีนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
ขณะที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ และรัสเซีย
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$0.5 อยู่ที่ US$1,303.2 ต่อออนซ์ ภายใต้การซื้อขายที่ซบเซา โดยอยู่ระหว่างรอ (1) การประชุมระหว่าง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ และนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ และ (2) การประชุมเฟด และธนาคารกลางยุโรป (ECB)
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,658 ล้านบาท ยอดสะสม -139,909 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 12 - 15 มิ.ย. 61
12/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.
(2) ประชุมเฟด (วันแรก)
13/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค.
(2) สต็อกน้ำมัน
(3) เฟดแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
14/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.
(2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(3) ดัชนีราคานำเข้า-ดัชนีราคาส่งออกเดือนพ.ค.
(4) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนเม.ย.
15/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค.
(2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมิ.ย.
ทิศทางตลาด
Sideway? โดยคาดยังมีความผันผวน คาดอยู่ระหว่างรอผลการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ หากการประชุมเป็นไปด้วยดี คาดดัชนีมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคาดการเคลื่อนไหวยังอยู่ในกรอบจำกัด ภายใต้ประเด็นที่ติดตามต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะการประชุมของธนาคารกลาง ที่คาดมีการส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่มีความเข้มงวดขึ้นตามลำดับหลังจากนี้ จากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่อยู่ในความคาดหมาย ทั้ง (1) การประชุมเฟด 12 – 13/6/61 คาดในครั้งนี้มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% คาดอาจส่งผลให้ Bond Yield กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังเดือนที่ผ่านมา ขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี และกดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และ (2) การประชุม ECB – 14/6/61 คาดส่งสัญญาณปรับลดวงเงิน QE จากปัจจุบัน 30,000 ล้านยูโร/เดือน ถึงก.ย. นี้
นอกจากนี้คาดยังถูกดดันจากประเด็นการทำสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ทั้งข้อพิพาทกับจีน แม้ล่าสุดจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น ยังแนะติดตาม วันที่ 15/6/61 ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐฯ จะเปิดเผยรายชื่อสินค้าจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% วงเงิน 50,000 ล้านUSD รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ที่คาด Sentiment ยังเป็นลบจากประเด็นก่อนหน้าซึ่งสหรัฐฯ ประกาศจะเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ในอัตราที่สูงถึง 25% รวมถึงการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และอลูมิเนียม อัตรา 25% และ 10% จากแคนาดา เม๊กซิโก และ EU (บังใช้ใน 1/6/61) พร้อมกับมาตรการตอบโต้ทันทีจากประเทศดังกล่าว ต่อสินค้าหลายรายการของสหรัฐฯ
ทางด้านราคาน้ำมันกลับมีความผันผวน คาดส่งต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน +/- ตามทิศทางราคาน้ำมัน
ส่วนประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบ จาก Fund Flow ภายใต้แรงขายสุทธิของต่างชาติ ส่งผลให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มูลค่าสูงเกือบ 140,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC ซึ่งปัจจุบันประกาศใช้เป็นกฎหมาย (พรบ.เขตพัฒนาพิเศษเศรษฐกิจ พ.ศ.2561) คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของ
นักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดกำหนดเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost อายุโครงการ 50 ปี กำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 คาดลงนามสัญญาต้นปี’62
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
(3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW เป็นต้น
(4) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC ที่มีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.02 อยู่ที่ 2.96% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.17 อยู่ที่ 12.35
หุ้นแนะนำ : UNIQ
ข่าวเด่น