ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -25.89, NASDAQ +65.34, S&P +6.86, FTSE +62.08, CAC +75.73 และ DAX +216.52
ภายใต้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยล่าสุด ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ อนุมัติมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน วงเงิน 5 หมื่นล้านUSD ซึ่งจะเปิดเผยรายชื่อสินค้าจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในวันนี้ (15/6/61) และในวันที่ 30/6/61 สหรัฐฯ จะประกาศข้อจำกัดในการลงทุน รวมถึงการควบคุมการส่งออกต่อผู้นำภาคธุรกิจของจีน และองค์กรของจีนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถือครองเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามยังได้รับปัจจัยหนุนจาก (1) ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯทั้งยอดค้าปลีก - พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.8% ซึ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่พ.ย.’60 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ล่าสุด ลดลง 4,000 ราย อยู่ที่ 218,000 ราย ดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 224,000 ราย และ (2) ผลการประชุม ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมคงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว อย่างน้อยจนถึงช่วงฤดูร้อนของปี’61 และคงวงเงินซื้อคืนพันธบัตรตามมาตรการ QE ที่ระดับ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน จนถึงก.ย.’61 และปรับลงสู่ระดับ 1.5 หมื่นล้านยูโรในเดือนต.ค. - ธ.ค. และยุติมาตรการ QE ภายในสิ้นเดือนธ.ค.นี้
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. +US$0.25 อยู่ที่ US$66.89 ต่อบาร์เรล ยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ล่าสุด ลดลง 4.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะลดลง 2.7 ล้าน
โดยอยู่ระหว่างติดตามการประชุมกลุ่มโอเปก วันที่ 22/6/61 ซึ่งก่อนหน้าคาดมีการทบทวนนโยบายการผลิตน้ำมัน หลังปีที่ผ่านมา มีมติขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วันถึงสิ้นปีนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
ขณะที่ล่าสุดคาดการณ์ว่า ซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย อาจจะเสนอให้มีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตในวันประชุมข้างต้น
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$7.0 อยู่ที่ US$1,308.3 ต่อออนซ์ ภายใต้สถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นยังอยู่ในกรอบจำกัด จากการส่งสัญญาณของเฟดที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งปีนี้ 4 ครั้ง โดยคาดเหลืออีก 2 ครั้ง ในเดือนก.ย. และ ธ.ค. ตามลำดับ
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -9,643 ล้านบาท ยอดสะสม -155,345 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 15 - 20 มิ.ย. 61
15/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนพ.ค.
(2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมิ.ย.
18/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมิ.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ
19/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนพ.ค.
20/6/61 ไทย : ประชุม กนง. (คาดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%)
สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดุลบัญชีเดินสะพัด – 1Q/61
(2) ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.
(3) สต็อกน้ำมัน
ทิศทางตลาด
ผันผวน? คาดมีโอกาสฟื้นตัวตามตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ แต่คาดอยู่ในกรอบจำกัด โดยคาดยังถูกกดดันจาก Fund Flow ที่ไหลออกต่อเนื่องจาก Emerging Market รวมถึงไทย หลังเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ทำให้คาดทั้งปีนี้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้ง คาดสิ้นปี’61 อยู่ที่ 2.25 – 2.50% และยังแนะจับตา Bond Yield สหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางเดียวกับดอกเบี้ย คาดกลับเป็นประเด็นกดดันต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง นอกจากนี้คาดทำให้เงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่า ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ซื้อขายในรูปเงินสหรัฐฯ ปรับลดลง แต่ในทางกลับกันกลุ่มส่งออกคาดได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง
นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยกดดันจากการทำสงครามการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ โดยเฉพาะข้อพิพาทกับจีน ล่าสุด สหรัฐฯ อนุมัติมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน วงเงิน 5 หมื่นล้านUSD โดยจะเปิดเผยรายชื่อสินค้าในวันนี้ (15/6/61) พร้อมคาดจีนตอบโต้ด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้าสหรัฐฯ คาดรวมถึงถั่วเหลือง เคมีภัณฑ์ รถยนต์ และเครื่องบิน เป็นต้น
จากก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และอลูมิเนียม อัตรา 25% และ 10% จากแคนาดา เม๊กซิโก และ EU (บังคับใช้เมื่อ 1/6/61) พร้อมมีมาตรการตอบโต้ทันที ต่อสินค้าหลายรายการของสหรัฐฯ
ทางด้านราคาน้ำมันกลับมีความผันผวน แนะติดตามการประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (22/6/61) ภายใต้ความไม่แน่นอนว่าจะมีการปรับเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมัน เพื่อชดเชยการส่งออกจากอิหร่านและเวเนซูเอล่า หลังถูกมาตรการคว่ำบาตร
ขณะที่ผลการประชุม ECB เป็นไปตามคาด โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% และปรับลดวงเงิน QE จาก 30,000 ล้านยูโร/เดือนถึงก.ย. เป็น 15,000 ล้านยูโร/เดือน ช่วง ต.ค. – ธ.ค. และยุติโครงการดังกล่าวภายใต้ธ.ค. นี้
ส่วนประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบ จาก Fund Flow ภายใต้แรงขายสุทธิของต่างชาติ ส่งผลให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มูลค่าสูงกว่า 155,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนด
วันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ในวันที่ 18/6/61 มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost อายุโครงการ 50 ปี และกำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 พร้อมคาดลงนามสัญญาต้นปี’62
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
(3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW เป็นต้น
(4) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.03 อยู่ที่ 2.95% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.82 อยู่ที่ 12.12
หุ้นแนะนำ : MTC
ข่าวเด่น