ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน คาดมีทั้ง +/- แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ (28/06/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -165.52, NASDAQ -116.54, S&P -23.43, FTSE +83.77, CAC +45.91 และ DAX +114.27
ภายใต้ความกังวล เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่จะนำมาบังคับใช้กับจีน หลังเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ออกมาส่งสัญญาณที่สร้างความสับสนให้กับตลาด ขณะที่ตลาดคาดการตัดสินใจในการบังคับใช้ อาจไม่เข้มงวดเหมือนกับที่เคยประกาศก่อนหน้านี้
ว่าสหรัฐฯ จะใช้มาตรการสกัดกั้นบริษัทที่มีชาวจีนถือหุ้นมากกว่า 25% เข้าซื้อบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามปธน.โดนัลด์ ทรัมป์เปิดเผยว่า ยังไม่มีแผนการจำกัดการลงทุนจากจีน และประเทศอื่นๆ ในขณะนี้
  ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน ยังปรับขึ้นสวนทางทิศทางตลาด ภายใต้ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่เพิ่มขึ้นกว่า 3% หลังสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าคาด
  ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจ (1) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน - พ.ค. ลดลง 0.6% ดีขึ้นจากเม.ย. ที่ลดลง 1.0% (2) ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) - พ.ค. ลดลง 0.5%MoM และ (3) ยอดขาดดุลการค้า - พ.ค. ลดลง 3.7% สู่ระดับ 6.48 หมื่นล้านUSD
  ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ปรับเพิ่มขึ้นภายใต้ความคาดหวังว่าปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ จะผ่อนคลายข้อจำกัดในการลงทุนจากจีน
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$2.23 อยู่ที่ US$72.76 ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่ 26/11/57 หลัง EIA เปิดเผย สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ล่าสุด ลดลงสูงถึง 9.9 ล้านบาร์เรลมากกว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียง 2.6 ล้านบาร์เรล
และยังได้รับปัจจัยหนุน (1) รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามบริษัทน้ำมันซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านภายในวันที่ 4/11/61 มิฉะนั้นจะถูกสหรัฐฯ ทำการคว่ำบาตร ซึ่งครบกำหนด 180 วันนับจากวันที่ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเมื่อเดือนพ.ค. ซึ่งจะทำให้ปธน.ทรัมป์สามารถออกคำสั่งคว่ำบาตรอิหร่านครั้งใหม่ โดยปัจจุบันอิหร่านส่งออกน้ำมันมากกว่า 2 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับ 2 ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และ (2) ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการส่งออกน้ำมันของลิเบีย
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. -US$3.8 อยู่ที่ US$1,256.1 ต่อออนซ์ ยังได้รับปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า ทำให้ความน่าสนใจลดลงสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,684 ล้านบาท ยอดสะสม -180,777 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 28 มิ.ย. – 3 ก.ค.’61
28/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ประมาณการครั้งสุดท้าย – 1Q/61
  (2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน

29/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) - พ.ค.
  (2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.

2/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.
  (2) ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย.

3/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.

ทิศทางตลาด
  ผันผวน? คาดการเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะเดียวกับวานนี้ คาดมีทั้ง +/- แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ แต่ภายใต้ปัจจัยเดิม (+) หุ้นกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้ง 3 ตลาด  (WTI, Brent และ Dubai) เฉลี่ย 72 – 78 USD/bbl หลังสหรัฐฯ เตือนประเทศต่างๆ ให้ยุติการซื้อน้ำมันจากอิหร่านภายในวันที่ 4/11/61 ซึ่งครบกำหนด 180 วัน ที่ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกับสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ล่าสุดที่ลดลงมากกว่าที่คาด
  และ (-) ประเด็นสงครามการค้า ที่มีความไม่แน่นอน คาดยังคงสร้างความผันผวนให้กับภาพรวมตลาด โดยเฉพาะล่าสุดต่อนโยบายการจำกัดการลงทุนต่อทุกประเทศทั่วโลก (รวมจีน) ที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต่อสินค้าเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งยังมีความไม่แน่นอน และยังมีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ จากก่อนหน้าที่คาดเป็นการจำกัดการลงทุนเพียงประเทศจีน? อย่างไรก็ตามล่าสุดอาจมีสัญญาณบวกบ้างหลังปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่ายังไม่มีแผนจำกัดการลงทุนจากจีน และประเทศอื่นๆ ในขณะนี้
  พร้อมติดตามสถานการณ์สงครามการค้า หากมีความรุนแรงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโลก หลังข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้ารายใหญ่ เช่น จีน และกลุ่ม EU ซึ่งยังคงมีการตอบโต้กันไปมาและคงยังได้รับปัจจัยกดดันจากประเด็นเดิมต่อนโยบายการเงิน หลังเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ทำให้คาดทั้งปีนี้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้ง คาดสิ้นปี’61 อยู่ที่ 2.25 – 2.50% พร้อมติดตามเงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่า ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงทองคำ ที่ซื้อขายในรูปเงินสหรัฐฯ ปรับลดลง แต่ในทางกลับกันกลุ่มส่งออกคาดได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง ล่าสุดเคลื่อนไหวบริเวณ 33.00 บาท/USD
  ส่วนประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบ จาก Fund Flow ภายใต้แรงขายสุทธิของต่างชาติ ส่งผลให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มูลค่าสูงกว่า 180,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามยังแนะติดตาม Window Dressing – 2Q/61 ในสัปดาห์นี้ (ถึง 29/6/61) พร้อมแรงเก็งกำไรต่อผลประกอบการ – 2Q/61 
  ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ช่วงวันที่ 18/6/61 – 9/7/61 มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost  อายุโครงการ 50 ปี และกำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 คาดลงนามสัญญาต้นปี’62

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
  (2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
  (3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.03 อยู่ที่ 2.85% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.99 อยู่ที่ 17.91
  หุ้นแนะนำ : PTTEP


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 มิ.ย. 2561 เวลา : 09:35:42

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 4:11 am