ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากซาอุดิอาระเบีย และรัสเซียเพิ่มขึ้น
(-) ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง หลังได้รับแรงกดดันจากการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ซึ่งใกล้กับระดับ 10.72 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ย. 59 ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 11.06ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน มิ.ย. นอกจากนี้การผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 320,000บาร์เรลต่อวัน
(-) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดี ซัลมาน บิน อับดุลอาซิส อัล ซาอุด แห่งซาอุดิอาระเบีย ยินดีที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบกว่า 2ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์น้ำมันดิบของโลก หลังปริมาณน้ำมันดิบจากอิหร่านและเวเนซุเอลาลดลง
(-) อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับลดลงจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสหภาพยุโรป จีน อินเดีย และแคนาดา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย
(+) ตลาดน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่หายไป หลังเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องในแหล่งผลิตน้ำมันดิบของแคนาดา สถานการณ์ความไม่สงบในลิเบีย และการประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของเวเนซุเอลา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่อยู่ระดับต่ำในภูมิภาคตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่อ่อนตัวลง
ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 23 จากประเทศญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบกับการนำเข้าน้ำมันดีเซลของญี่ปุ่นในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปีก่อนหน้า
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 71-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 76-81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกเดินหน้าปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อรองรับอุปทานน้ำมันดิบที่หายไปจากเวเนซุเอลา และอิหร่านที่ปริมาณการผลิตและส่งออกคาดจะปรับลดลงหลังถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบอยู่เหนือระดับต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยของสหรัฐฯ โดยล่าสุดสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในปี 2562จะขยายตัวราว 0.97 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับเฉลี่ย 11.76 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง หลังส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันดิบเบรนท์ และเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นสูงมากกว่า 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 1 ปี อาจโน้มน้าวให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ มีแรงจูงใจที่จะปรับเพิ่มการส่งออกสู่ตลาดโลกมากขึ้น
ราคาน้ำมันดิบ 2 ก.ค. 61
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 73.94 -0.21
เบรนท์ 77.30 -1.93
ดูไบ 75.49 -0.23
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์ 2 ก.ค. 61
เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 95 84.23 0.43
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 88.58 0.41
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 87.28 -0.06
น้ำมันเตา (3.5% S) 74.01 0.36
ดัชนีและราคาที่สำคัญ 2 ก.ค. 61
เปลี่ยนแปลง
เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.1639 -0.0044
ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 24,307.18 35.77
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 36.36 29.25 28.98 26.74 21.14 28.79
หมายเหตุ : ปตท.-บางจาก ปรับลดราคาน้ำมันทุกชนิดลง 50 สต./ลิตร ยกเว้น E85ปรับลดลง 30 สต./ลิตร
มีผลตั้งแต่วันที่ 29พ.ค. 61 ราคาน้ำมันเป็นราคาขายปลีก กทม. และปริมณฑล ที่ยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องถิ่น
ข่าวเด่น