ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +320.11, NASDAQ +67.82, S&P +24.35, FTSE +70.29, CAC +22.34 และ DAX +47.72
ภายใต้ปัจจัยหนุนจากกลุ่มธนาคาร ที่คาดได้ปัจจัยบวกจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ล่าสุดที่ปรับเพิ่มขึ้น จากการลดถือครองพันธบัตรรัฐบาล หลังคลายความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่รวมถึงเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก และซิตี้กรุ๊ป
จะเปิดเผยผลประกอบการ – 2Q/61 ในสัปดาห์นี้
พร้อมกับมุมมองบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จากตัวเลขที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคการเกษตร - มิ.ย. ที่ขยายตัวดีกว่าคาด
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป อยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์การเมืองในอังกฤษ หลังรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง จากประเด็นการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ที่มีความขัดแย้งกัน
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$0.05 อยู่ที่ US$73.85 ต่อบาร์เรล หลังบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (NOC) เปิดเผยว่า การผลิตน้ำมันภายในประเทศลดลงมาอยู่ที่ระดับ 527,000 บาร์เรล/วัน จากระดับสูงสุดที่ 1.28 ล้านบาร์เรล/วัน และคาดการณ์ว่า ตลาดน้ำมันจะประสบภาวะตึงตัว หากสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน ซึ่งรัฐบาลสหรัฐเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ และบริษัทน้ำมัน ระงับการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านภายในวันที่ 4/11/61 พ.ย. มิฉะนั้นจะถูกสหรัฐฯ ทำการคว่ำบาตร
อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากยังได้รับปัจจัยกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ยังเพิ่มต่อเนื่อง
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$3.8 อยู่ที่ US$1,259.6 ภายใต้ความความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นยังเป็นไปอย่างจำกัด หลัง DJIA เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนหนึ่งเทขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่นหุ้น
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -2,545 ล้านบาท ยอดสะสม -193,149 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 10 - 12 ก.ค.’61
10/7/61 ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
11/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.
(2) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนพ.ค.
(3) สต็อกน้ำมัน
12/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.
(2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
12/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) Consumer sentiment index
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ และคาดยังมีความกังวลต่อประเด็นการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม คาดตลาดสะท้อนประเด็นดังกล่าวไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา และหากสถานการณ์ดังกล่าวไม่รุนแรงไปจากความคาดหมายก่อนหน้า
คาดหลังจากนี้ดัชนีมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น จากมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะของสหรัฐฯ ที่มีความแข็งแกร่ง
ทางด้านราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูงในรอบกว่า 3 ปี เฉลี่ย (WTI, Brent และ Dubai) 74 – 77USD/บาร์เรล คาดยังส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน
ประเด็นในประเทศคาดจะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น จากการที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการ 2Q61 เริ่มโดยกลุ่ม Bank เบื้องต้นคาดภาพ YoY ดีขึ้นหลังจากตั้งสำรองไปมากแล้วในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทยอยประมาณกลางเดือนนี้ หลังจากนั้นเป็นกลุ่ม Real Sector ถึงกลางเดือนส.ค.
อย่างไรก็ตามคาดยังได้รับ Sentiment เป็นลบ จาก Fund Flow ยอดขายสุทธิของต่างชาติ YTD ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเกือบ 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง ทางด้านเงินบาทล่าสุด 32.05 บาท แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเคลื่อนไหวบริเวณ 32.20 บาท
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ช่วงวันที่ 18/6/61 – 9/7/61 มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost อายุโครงการ 50 ปี และกำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 คาดลงนามสัญญาต้นปี’62
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.03 อยู่ที่ 2.86% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.68 อยู่ที่ 12.69
หุ้นแนะนำ : KTB
ข่าวเด่น