คำแนะนำ
ยังแนะนำให้ขายลดพอร์ตการลงทุนหากขยับไม่ผ่าน 1,257-1,261 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับการเข้าซื้ออาจเสี่ยงเก็งกำไรตามแนวรับโซน 1,247 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (พร้อมตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และควรคำนึงถึงความผันผวนของราคา
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,247 1,237 1,222
แนวต้าน 1,261 1,270 1,278
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 2.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวสู่ระดับ 2.867%เมื่อคืนนี้ ขานรับการเปิดเผยตําแหน่งงานว่างหรือ JOLTS Job Openings ในสหรัฐที่ถึงแม้จะลดลงสู่ระดับ 6.6 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค.แต่ก็เป็นครั้งที่ 2 ในรอบกว่า 20 ปีที่มีตำแหน่งงานว่างมากกว่าคนว่างงาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยหนุนบอนด์ยีลด์และดอลลาร์ให้ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งติดต่อกันเป็นวันทำการที่ 4 จากการคาดการณ์ว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนประจำไตรมาส 2 จะออกมาสดใสจึงเป็นปัจจัยกดดันทองคำเพิ่มเติม ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลงอีก -1.75 ตันสะท้อน Fund Flow ที่ยังไหลออกจากกองทุน ETF ต่อเนื่อง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)และตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจของสหรัฐ รวมถึงติดตามการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ต่างๆจากสถานการณ์ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากล่าสุดเช้านี้นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ผู้แทนการค้าสหรัฐ(USTR)ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า สหรัฐจะเรียกเก็บสินค้าจากจีนเพิ่มอีกวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ในอัตรา 10%
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำยังไม่สามารถยืนเหนือ 1,257-1,261 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ส่งผลให้แรงซื้อยังคงถูกจำกัด สำหรับวันนี้ประเมินแนวต้านระยะสั้นในโซน 1,261ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวต้านถัดไปในโซน 1,270ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับนั้นยังประเมินในโซน 1,247 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวรับถัดไปที่ 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
ชะลอการสะสมทองคำเพิ่มหรือหากต้องการเสี่ยงเก็งกำไรฝั่งซื้ออาจรอการอ่อนตัวลงมาใกล้ 1,247 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ตัดขาดทุนหากหลุด 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์) หรือ เก็งกำไรฝั่งขายหากเกิดการดีดตัวขึ้นไปใกล้บริเวณ 1,261-1,270 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ตัดขาดทุนหากสามารถยืนเหนือ 1,270 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
ข่าวเด่น