ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มต่อ หลังกำลังการผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งหยุดชะงัก
+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนหลังกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งขุดเจาะน้ำมัน Knarr ของ บริษัท Royal Dutch Shell ในประเทศนอร์เวย์หยุดชะงัก เนื่องจากคนงานหลายร้อยคนเข้าร่วมการประท้วงตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังสหภาพแรงงานไม่รับรองข้อเรียกร้องการเพิ่มค่าแรงและสิทธิ์ในบำนาญ โดยแหล่งขุดเจาะมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติรวม 23,900 บาร์เรลต่อวัน
+ กำลังการผลิตน้ำมันดิบในลิเบียลดลงเหลือ 527,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโจมตีที่ท่าการส่งออกน้ำมันดิบสองแห่งคือ Ras Lanuf และ Es Sider ตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบทางตะวันออกของประเทศหยุดชะงักจนถึงปัจจุบัน
+ ภายหลังตลาดปิดสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 6 ก.ค. ปรับลดลงแตะระดับ 410 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 4.5 ล้านบาร์เรล และปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮม่าปรับลดลงราว 1.9 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการน้ำเข้าน้ำมันดิบปรับลดลง 121,000 บาร์เรลต่อวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงหนุนของอุปสงค์ที่ดีของอินโดนีเซียย อย่างไรก็ตาม ความต้องการนำเข้าน้ำมันเบนซินของจีนลดลงเนื่องจากโรงกลั่นในประเทศเริ่มกลับจากการปิดซ่อมบำรุง ขณะที่อุปทานในเอเชียยังคงมีอย่างล้นเหลือ
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังโรงกลั่นในอินเดียส่งออกน้ำมันดีเซลเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการนำเข้าน้ำมันดีเซลของจีนลดลงเนื่องจากโรงกลั่นในประเทศเริ่มกลับจากการปิดซ่อมบำรุง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 71-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 76-81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ ยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูงต่อเนื่อง และล่าสุดแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ประกอบกับ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดามีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Syncrude ซึ่งมีกำลังการผลิต 360,000 บาร์เรลต่อวัน ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราวจากเหตุไฟฟ้าขัดข้อง
จับตาความเคลื่อนไหวของชาติต่างๆ ที่นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน หลังสหรัฐฯ ประกาศให้ทุกประเทศหยุดนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 61 เป็นต้นไป โดยปัจจุบันอิหร่านผลิตน้ำมันดิบที่ราว 3.7-3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมันดิบราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งหลังการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ ปริมาณน้ำมันดิบในส่งดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบ
ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกเดินหน้าปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อรองรับอุปทานน้ำมันดิบที่หายไปจากเวเนซุเอลา และอิหร่านที่ปริมาณการผลิตและส่งออกคาดจะปรับลดลงหลังถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร ซึ่งล่าสุด ซาอุดิอาระเบียมีแผนที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตไปอยู่ที่ระดับ 11.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับระดับ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมิ.ย. 61
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น