คำแนะนำ
เน้นเก็งกำไรในกรอบ 1,237-1,261 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยเปิดสถานะซื้อในโซน 1,241-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาหลุด 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,237 1,222 1,213
แนวต้าน 1,252 1,261 1,272
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อเก็งกำไรและนักลงทุนส่วนหนึ่งซื้อคืนเพื่อปิดสถานะขาย (short covering) หลังจากในระหว่างวันราคาร่วงลงแตะระดับต่ำสุดบริเวณ 1,241 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นของทองคำยังคงอยู่ในกรอบจำกัดโดยมีอุปสรรคสำคัญที่กดดันราคาได้ คือ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดอลลาร์ได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ถึงแม้จะปรับตัวขึ้นต่ำกว่าคาดที่ 0.1% ในเดือนมิ.ย. แต่เมื่อเทียบรายปีดัชนี CPI พุ่งขึ้น 2.9% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2012 ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ลดลงเกินคาดเช่นกัน ตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสโดยเฉพาะเงินเฟ้อที่ขยายตัวแกร่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) นอกจากนี้การพุ่งขึ้นกว่า 220 จุดของดัชนีดาวโจนส์นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสกัดช่วงบวกของราคาทองคำที่อยู่ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่ม ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง -3.83 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยราคานำเข้าและคาดการณ์ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากม.มิชิแกน
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำทดสอบแนวต้านที่ 1,252-1,261 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยังไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งนักลงทุนยังคงต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรเนื่องจากครั้งที่ผ่านมาเมื่อราคาทองคำมีการปรับตัวขึ้นยังคงมีแรงขายออกมาเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากการอ่อนลงของราคาไม่หลุดโซนแนวรับระยะสั้นอยู่ที่ 1,241-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเมินว่าเป็นการอ่อนตัวลงเพื่อสร้างฐานราคา
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
รอจังหวะการเปิดสถานะซื้อ โดยอาจใช้บริเวณ 1,241-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และตัดขาดทุนหากหลุด 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ลงมา และสำหรับนักลงทุนที่ถือสถานะซื้ออยู่ แนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,252-1,261 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไป
ข่าวเด่น