ราคาน้ำมันดิบผันผวน หลัง IEA เตือนอุปทานตึงตัว ขณะสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีนยังคงระอุ
+/- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่ม หลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ชี้ว่าอุปทานน้ำมันโลกอาจจะถึงขีดจำกัด เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันดิบรายอื่นต้องปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นมาทดแทนกำลังการผลิตที่ขาดหายไปจากเวเนซุเอลา ลิเบีย แคนาดาและบริเวณทะเลเหนือ รวมถึงการส่งออกที่ลดลงจากการคว่ำบาตรอิหร่าน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงเล็กน้อย จากความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลก
- ลิเบียประกาศที่จะเปิดดำเนินการท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบอีกครั้ง หลังหยุดดำเนินการจากการโจมตีที่ท่าเรือตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยจะเปิดดำเนินการท่าเรือส่งออก 4 ท่า คือ Ras Lanuf, Es Sider, Zueitin และ Hariga ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียกลับขึ้นมาสู่ระดับ 850,000 บาร์เรลต่อวัน
- แหล่งผลิตน้ำมันดิบ Syncrude ในแคนาดาสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้บางส่วนในเดือน ก.ค. 61 และคาดว่าจะดำเนินการผลิตได้เต็มที่ภายในเดือน ก.ย. 61 หลังเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องตั้งแต่เดือน มิ.ย. 61 เป็นต้นมา
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากอินโดนีเซียและเม็กซิโก อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่ซบเซาในภูมิภาค
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้ปรับตัวลดลงเนื่องจากช่วงฤดูมรสุมในภูมิภาค ประกอบกับได้รับแรงกดดันจากการห้ามทำการประมงในทะเลจีนใต้ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากตะวันออกกลาง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 68-73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 71-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาความเคลื่อนไหวของชาติต่างๆ ที่นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน หลังสหรัฐฯ ประกาศให้ทุกประเทศหยุดนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 61 เป็นต้นไป โดยปัจจุบันอิหร่านผลิตน้ำมันดิบที่ราว 3.7-3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมันดิบราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งหลังการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ ปริมาณน้ำมันดิบในส่งดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบ
ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกเดินหน้าปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อรองรับอุปทานน้ำมันดิบที่หายไปจากเวเนซุเอลา และอิหร่านที่ปริมาณการผลิตและส่งออกคาดจะปรับลดลงหลังถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร ซึ่งล่าสุด ซาอุดิอาระเบียมีแผนที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตไปอยู่ที่ระดับ 11.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับระดับ 10.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมิ.ย. 61
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น